Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51565
Title: การตรวจโปรตีนของไวรัสไข้เลือดออกโดยใช้ควอตซ์คริสทัลไมโครบาแลนซ์
Other Titles: A detection of dengue virus protein using quartz crystal microbalance
Authors: ธณิกานต์ ศิริพูลศฤงฆ์
Advisors: มานะ ศรียุทธศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Mana.S@chula.ac.th
Subjects: ไวรัสเดงกี
แอนติบอดีย์
Dengue viruses
Immunoglobulins
Issue Date: 2549
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการตรวจแอนติเจนของไวรัสไข้เลือดออกโดยใช้ควอตซ์คริสทัลไมโครบา แลนซ์ (Quartz Crystal Microbalance: QCM) โดยได้ประดิษฐ์ระบบวัดแบบ 1 ช่องที่สามารถวัด ความถี่เรโซแนนซ์และวัดอุณหภูมิของ QCM ได้พร้อมกัน แอนติบอดีที่ใช้ในการทดลองเป็นโมโนโคลนอล แอนติบอดีที่จำเพาะต่อแอนติเจนที่เป็นโปรตีนรีคอมบิแนนต์ส่วนเปลือกหุ้ม (E) ของไวรัสไข้เลือดออก ซี โรทัยป์ 2 และใช้โพลีสไตรีนเป็นตัวปรับสภาพผิวของ QCM ก่อนการตรึงแอนติบอดี จากการศึกษาพบว่า ความถี่เรโซแนนซ์ของ QCM จะเปลี่ยนแปลงตามความเข้มข้นของแอนติบอดีและแอนติเจน โดยความถี่เร โซแนนซ์จะลดลงมากขึ้นเมื่อความเข้มข้นของแอนติบอดีและแอนติเจนเพิ่มขึ้น เมื่อใช้แอนติบอดีที่มีความ เข้มข้น 25.9 ไมโครกรัมต่อไมโครลิตรจะสามารถวัดแอนติเจนที่มีความเข้มข้นต่ำสุด คือ 5.38 ไมโครกรัม ต่อไมโครลิตรได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าแอนติเจนสามารถเกิดการจับแบบไม่จำเพาะกับแอนติบอดีได้ แต่ การจับแบบไม่จำเพาะนี้สามารถป้องกันได้โดยใช้ Bovine Serum Albumine (BSA) สุดท้าย ได้ศึกษาการ นำ QCM กลับมาใช้ซ้ำ โดยการล้าง QCM ที่ผ่านการตรึงแอนติบอดีและใช้วัดแอนติเจนแล้วด้วยเบนซีน จากผลการศึกษาพบว่า QCM สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยผลการทดลองที่ได้จะมีค่าใกล้เคียงกับการ ใช้ QCM ใหม่
Other Abstract: This thesis presents a detection of dengue virus antigen using quartz crystal microbalance (QCM). A measuring system for measuring QCM resonant frequency and temperature at the same time was developed. The QCM surface was modified with polystyrene before immobilization with monoclonal antibody specific for recombinant dengue virus envelope protein. It was found that the resonant frequency decreased when the concentration of antibody and antigen increased. The minimum concentration of antigen which the QCM could detect was 5.39 μg/ml when the antibody concentration was 25.9 μg/ml. Moreover, the result showed that bovine serum albumin (BSA) could prevent the non-specific binding between antigen and polystyrene surface. Finally, QCM immobilized with antibody and bound with antigen was reused after washing with benzene. The result showed that QCM could be reused and the data of the reused QCM was close to that of new QCM.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51565
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1053
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1053
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tanikan_si_front.pdf237.38 kBAdobe PDFView/Open
tanikan_si_ch1.pdf188.99 kBAdobe PDFView/Open
tanikan_si_ch2.pdf428.47 kBAdobe PDFView/Open
tanikan_si_ch3.pdf347.94 kBAdobe PDFView/Open
tanikan_si_ch4.pdf464.16 kBAdobe PDFView/Open
tanikan_si_ch5.pdf166.38 kBAdobe PDFView/Open
tanikan_si_back.pdf194.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.