Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51596
Title: ผลกระทบของการดำเนินงานเขื่อนเจ้าพระยาต่อสภาพชลศาสตร์น้ำหลากในบริเวณที่เหนือน้ำ
Other Titles: Effects of the operation of chao phraya dam upon theupstream flood hydraulics
Authors: สุธรรม วิสุทธิเมธีกร
Advisors: ครรชิต ลิขิตเดชาโรจน์
สุภัทท์ วงศ์วิเศษสมใจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kanchit.L@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เขื่อนเจ้าพระยา
ไฮดรอลิกส์
การป้องกันน้ำท่วม
การจัดการน้ำ
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Hydraulics
Flood control
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินงานเชื่อนเจ้าพระยามีความสำคัญต่องานบริหารจัดการน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยประกอบด้วยการควบคุมปริมาณน้ำระบายลงสู่ด้านท้ายน้ำ และการผันน้ำเข้าคลองส่งน้ำต่างๆ ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลการดำเนินงานเขื่อนเจ้าพระยาในช่วงฤดูน้ำหลากในอดีตที่ผ่านมา พบว่า การควบคุมปริมาณน้ำที่ปล่อยออกไปยังพื้นที่ส่วนต่างๆ มีปัจจัยที่ตอ้งพิจารณามากทั้งด้านปริมาณน้ำฝน-น้ำท่าในบริเวณต่างๆ ของลุ่มน้ำ ความจุของลำน้ำ สภาพของน้ำในพื้นที่ชลประทานโดยต้องคำนึงถึงสถานการณ์ในแต่ละปีที่แตกต่างกัน ผู้บริหารเขื่อนเจ้าพระยาจึงต้องนำข้อมูลต่างๆ มาประมวลประกอบการตัดสินใจด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาเป็นแนวทางในการทำงาน ในส่วนทางด้านชลศาสตร์นั้น เขื่อนเจ้าพระยาก่อให้เกิดสภาพน้ำเอ่อทางด้านเหนือน้ำ โดยเฉพาะในปีที่มีปริมาณน้ำเหนือไหลหลากลงมามาก สภาพน้ำเอ่อก็จะเป็นปัญหามากขึ้น แต่การดำเนินงานเขื่อนที่เหมาะสมก็จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำเอ่อ และน้ำท่วมลงได้ ในการศึกษาวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาผลกระทบเนื่องจากการดำเนินงานเขื่อนเจ้าพระยาที่มีต่อสภาพชลศาสตร์ในบริเวณเหนือน้ำและท้ายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก และศึกษาหาแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานเขื่อนเจ้าพระยาให้มีแบบแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยในการศึกษานี้ทำการปรับเทียบ และสอบทานแบบจำลองแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงระหว่างสถานีวัดน้ำ C.2 ลงมาถึง C.13 ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานเขื่อนเจ้าพระยาจะต้องมีการดำเนินการทั้งการควบคุมการระบายน้ำด้วยบานประตูเขื่อนเจ้าพระยา และการผันน้ำเข้าคลองส่งน้ำควบคู่กันอย่างประสานสอดคล้องกัน จึงจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ทั้งทางด้านเหนือน้ำ และท้ายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยาในช่วงฤดูน้ำหลากได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการปรับปรุงวิธีการดำเนินการเปิดบานประตูเขื่อนเจ้าพระยาด้วยความเร็วอย่างต่อเนื่อง และการผันน้ำในรูปแบบการผันน้ำแบบผันเต็มความจุ 5 วัน และผันครึ่งความจุ 5 วันแบบสลับฝั่งซ้ายขวา ก็จะสามารถลดระดับน้ำเอ่อทางด้านเหนือน้ำ และลดปริมาณน้ำท่วมตลิ่งได้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract: The operation of Chao Phraya Dam is important for the flood management in the Chao Phraya River Basin. It composes of gate operation (to control the downstream released discharge) and water diversion into the main canals. From study of the operation of Chao Phraya Dam in the past, it showed that water diversion to any area depended on many factors, i.e. rainfall-run off in the areas, river capacity, hydraulic condition in the irrigation areas that was different in each year. The administrators of Chao Phraya Dam had to use many informations and their experiences for planning decision. About hydraulic condition, Chao Phraya Dam effects to the backwater, especially in the high flood period, but the the operation of Chao Phraya Dam will be suitably mitigated the backwater and flood inundation problems. This research studies about the effects of the operation of Chao Phraya Dam upon the upstream and downstream flood hydraulidcs; find out new operation of Chao Phraya Dam that is efficient to the flood management in the Chao Phraya River Basin. This study calibrates and verifies the model of the Chao Phraya River between Sta. C.2 and C.13. The study results show that the operation of Chao Phraya Dam must operate both the gates and water diversion simultaneously which will mitigate the ustream and downstream flood inundation. In addition, the modified patterns of continuous gate opening during the rising stage of peak flood period together with 5-day alternated water diversion between left and right banks will mitigate the upstream back water more efficiently.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51596
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.508
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.508
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sutham_vi_front.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
sutham_vi_ch1.pdf629.88 kBAdobe PDFView/Open
sutham_vi_ch2.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
sutham_vi_ch3.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open
sutham_vi_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
sutham_vi_ch5.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
sutham_vi_ch6.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open
sutham_vi_ch7.pdf691.83 kBAdobe PDFView/Open
sutham_vi_back.pdf28.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.