Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/516
Title: การพัฒนาระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของคณะวิชาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Other Titles: The development of 360 degree feedback system for human resource management of the faculty in Rajabhat Universities
Authors: จุฑาทิพย์ ภารพบ, 2505
Advisors: สุกัญญา โฆวิไลกูล
ปทีป เมธาคุณวุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sukanya.K@Chula.ac.th
Pateep.M@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารงานบุคคล
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศาเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของคณะวิชาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล การให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา และความคิดเห็นของคณบดี ประธานโปรแกรมวิชา อาจารย์ และนักศึกษา ที่มีต่อระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และนำแนวคิดที่ได้มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา ผู้วิจัยได้สร้างระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา นำระบบไปทดลองใช้กลับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์ สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 31 คน ผลการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 นำผลการประเมินการปฏิบัติงานของอาจารย์ใน 2 เดือนแรกมาประมวลเป็นรายบุคคลพร้อมนำเสนอเป็นรูปกราฟให้ข้อมูลย้อนกลับแก่อาจารย์ อภิปรายผลและวางแผนร่วมกับอาจารย์เพื่อพัฒนาตนเองของอาจารย์ ระยะที่ 2 นำผลการประเมินการปฏิบัติงานครั้งที่ 2 ประกอบในการมาประมวลนำเสนอในรูปกราฟเชิงเปรียบเทียบกับผลการประเมินครั้งแรกพร้อมทั้งแสดงแผนพัฒนาตนเองของอาจารย์ ประกอบในการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา ผลการทดลอง พบว่า ระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา ทำให้อาจารย์ ร้อยละ 58.06 สามารถพัฒนาการปฏิบัติงานในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม และมีความกระตือรือล้นในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น อาจารย์เห็นด้วยในการนำระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา ไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลของคณะวิชาอยู่ใน ระดับมาก ([Mean] = 3.71) แต่มีข้อเสนอแนะที่สำคัญในด้านเทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับ คือ ควรมีการสัมภาษณ์ และสอบถามอาจารย์เพิ่มเติมเพื่อทำให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์ขึ้น และควรมีการจัดประเภทของผู้ได้รับข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้ผู้ถูกประเมินเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานและการปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับผลการประเมิน
Other Abstract: The purpose of the study was to develop the 360 degree feedback system for human resource management of the faculty in Rajabhat Universities. Concepts and theories in human resource management, 360 degree feedback, and comments from deans, heads of program, faculties and students were studied. The researcher constructed a framework for analyzing basic data in 360 degree feedback. It was tested in the Faculty of Management Science, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University by 31 lecturers. The first trial, the performance appraisal for first 2 month working period would be individually analyzed and presented by graph to lecturers. Moreover, lecturers' development would be planned among lecturers. The second period, the performance appraisal for the next 2 months would be analyzed and presented by graph. Both analysis plan, were compared by graph and development plan.The comparison would be given feedback to the lecturers. The trial's result found that the 360 degree feedback system would allow lecturers (58.06%) had been able to develop higher operation work. Besides, their operation was higer encouraged. The lecturers highly agree ([Mean] = 3.71) that the 360 degree feedback was suitable for human resource management. However, one important suggestion in term of technical information feedback was that it should have an interview and additional inquiry to the lecturers for more completed information. Furthermore, the feedback receivers should be classified. The classification would urge the feedback receivers changing their behavior and operation work according to the result of evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/516
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.401
ISBN: 9741770138
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.401
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jutathip.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.