Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51620
Title: การประยุกต์พุทธวิธีในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองของเด็กใน ต.แม่เมาะ จ.ลำปาง
Other Titles: The application of buddhist communication methods for developing children's self in tambol Mae-Moh, Lampang province
Authors: ศรีญาภา ศรีวรนันท์
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
สุกัญญา สมไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Thiranan.A@chula.ac.th
Sukanya.Som@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร -- ไทย -- ลำปาง
การพัฒนาตนเอง
พุทธจริยธรรม
กิจกรรมของนักเรียน -- ไทย -- ลำปาง
Communication -- Thailand -- Lampang
Self-culture
Buddhist ethics
Student activities -- Thailand -- Lampang
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำพุทธวิธีในการสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับเด็ก และประเมินความรู้ความเข้าใจของเด็กในด้านการพัฒนาตนเองตามหลักอุดมคติ 5 ประการที่พึงปฏิบัติของชาวพุทธ ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดเรื่องเบญจศีลเบญจธรรมในพุทธศาสนา จากการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายสัมพันธ์ โดยใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ และการทำกิจกรรมเวิร์คช็อปโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ในชุมชนท้องถิ่น ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางและกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 2 โรงเรียง ได้แก่ 1) โรงเรียนบ้านหางฮุง จำนวน 66 คน และ 2) โรงเรียนบ้านปงชัย จำนวน 34 คน จากการประยุกต์พุทธวิธีด้านศิลปวิธี 4 ประการ ได้แก่ 1. ให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยใจเหมือนตาเห็น 2. ให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม 3. เร้าใจผู้ฟังให้อยากคิดอยากทำตามที่สอน 4. ให้ผู้ฟังยอมเชื่อ ยอมรับทำรับปฏิบัติด้วยความเต็มใจ และพุทธวิธีด้านกลวิธี อีก 8 ประการได้แก่ 1. รู้จักบุคคลที่จะสื่อสาร 2. เลือกธรรมะให้เหมาะกับบุคคล 3. สื่อสารจากรูปธรรมไปหานามธรรม 4. สื่อสารจากสิ่งที่เห็นได้ง่ายไปสู่สิ่งที่เห็นได้ยาก 5. สื่อสารจากสิ่งที่รู้อยู่แล้วไปยังสิ่งที่มียังไม่รู้ 6. สื่อสารจากการเปรียบเทียบหรือด้วยอุปมาอุปไมย 7. สื่อสารด้วยอุปกรณ์ และ 8. สื่อสารด้วยการทำตัวอย่างให้ดู มาใช้ในการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองของเด็กผ่านรูปแบบของการจัดกิจกรรมค่ายสัมพันธ์ เป็นเวลา 2 วัน 1 คืน โดยใช้หลักอุดมคติ 5 ประการเป็นฐานกิจกรรมทั้ง 5 ฐาน ได้แก่ 1. ฐานความเมตตากรุณา 2. ฐานความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 3. ฐานความรับผิดชอบในเรื่องของความสัมพันธ์ 4. ฐานการพูดและฟังอย่างมีสติ และ 5 ฐานการบริโภคอย่างมีสติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ในฐานกิจกรรมที่ 4 ฐานการพูดและฟังอย่างมีสติ และ ฐานกิจกรรมที่ 5 ฐานการบริโภคอย่างมีสติ ที่ได้นำเอาพุทธวิธีมาใช้ครบทุกประการ เด็กทุกกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นหลังจากทำกิจกรรมในฐานเมื่อเทียบกับก่อนทำกิจกรรมมากที่สุด ส่วนฐานกิจกรรมที่ 1 ฐานความเมตตากรุณา เด็กที่มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นหลังจากทำกิจกรรมในฐานเมื่อเทียบกับก่อนทำกิจกรรมน้อยที่สุด 2. จากการทำกิจกรรมทั้ง 5 ฐานกิจกรรม กลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจหลังจากทำกิจกรรมในทุกฐานกิจกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับก่อนทำกิจกรรม (กลุ่มที่ 5) คิดเป็นร้อยละ 49.5 ส่วนกลุ่มที่สมาชิกในกลุ่มมีความรู้ความข้าใจหลังจากทำกิจกรรมในทุกฐานกิจกรรมเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับก่อนทำกิจกรรม (กลุ่มที่ 2) คิดเป็นร้อยละ 34.6 3. ในการทำกิจกรรมเวิร์คช็อป พบว่า นอกเหนือจากความรู้ความเข้าใจตามหลักอุดมคติ 5 ประการที่ได้รับในแต่ละฐานกิจกรรมแล้ว ทุกกลุ่มยังได้รับความสนุกสนาน ความสามัคคี ในทุกฐานกิจกรรมด้วย ซึ่งในการตั้งชื่อฐานกิจกรรมส่วนใหญ่จะเลือกตั้งชื่อตามลักษณะกิจกรรมที่ได้ทำในฐานนั้น ๆ
Other Abstract: This research has objects to conduct the application of Buddhist communication methods to apply with children and evaluate their understanding of self-development as 5 Buddhist ideal principles which developed from 5 precepts of Buddhism by conveying tem to attend a camp through Participant Observation, Interview and Workshop by selecting samples from local children in Tambol Mae-Moh, Lampang province which is studying in primary school year 1-6 from 2 schools as following ; 1) Ban Han Hung school with 66 children and 2) Ban Pong Chai school with 34 children. From using the application of Buddhist communication Method in Artistical Method by 1. Cause listener to clearly acknowledge by minds as sight 2. Persuade listener to accept 2. Stimulate listener to do and act as teaching and 4. Effectualte listner to believe and accept to do and act with their pleasure and Buddhist communication in Method in Strategical Method by 1. Know type of person to communicate 2. Select the right Dhama for the right person 3. Communicate from visible thing to invisible 4. Communicate from concrete noun to abstract noun 5. Communicate from known thin to unknown 6. Communicate by self acting sample 7. Communicate from tool and 8. Communicate from comparison via activities of 2 days 1 night camp which activities were created from 5 Buddhist idea principles through 5 activity stations as following ; 1) Kindness 2) Generosity 3) Responsibility in relation of roles 4) Consciousness of speaking and listening and 5) Consciousness of food in taking. The research results are ; 1. In forth and fifth station which can use all 8 Buddhist communication methods show that all groups of children can improve their understanding with the highest level after activities attending but in the first station they can improve their understanding with the lowest level. 2. From these 5 stations reveal that understanding of the highest score groups of children (the fifth group) can achieve 49.5 percentage of improvement compared with before activities activities attending while the lowest score group (the second group) can achieve 34.6 percentage of improvement. 3. According to work shop activity found that not only the children can improve their understanding as 5 Buddhist ideal principles but they also enjoy and strengthen their unity from every activity. In addition, to name the activity stations, they mostly name them as characteristic from each activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51620
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.625
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.625
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sriyapha_sr_front.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
sriyapha_sr_ch1.pdf785 kBAdobe PDFView/Open
sriyapha_sr_ch2.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
sriyapha_sr_ch3.pdf708.2 kBAdobe PDFView/Open
sriyapha_sr_ch4.pdf8.5 MBAdobe PDFView/Open
sriyapha_sr_ch5.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
sriyapha_sr_back.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.