Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51995
Title: ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา และการทำสมาธิแบบ อานาปานสติที่มีต่อความเครียดของ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Effects of Buddhism pray and Anapanasati meditation on stress in Chulalongkorn University students
Authors: กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Thanomwong.K@Chula.ac.th
Subjects: การสวดมนต์
อานาปานสติ
ความเครียดในวัยรุ่น
Prayer
Stress in adolescence
Anapanasmrti
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนาและการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-21 ปี ทั้งหมดจำนวน 60 คนทำแบบวัดความเครียดสวนปรุงเพื่อคัดเลือกนิสิตที่มีคะแนนระดับความเครียดตั้งแต่ 24 ถึง 61 คะแนน ซึ่งมีความเครียดในระดับปานกลางถึงเครียดสูง เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ และทำการคัดเลือกแบบจับคู่ (Matched group) ในการจัดเข้ากลุ่มสวดมนต์และกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ กลุ่มละ 30 คน ทำการวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง NeXus-10 โดยจะทำการวัดเป็นรายบุคคล ก่อนทำการสวดมนต์ และทำสมาธิแบบอานาปานสติ ให้ผู้ทำการทดลองนั่งพัก 5 นาทีแล้ววัดคลื่นสมองขณะพัก จากนั้นเริ่มทำการสวดมนต์ในกลุ่มสวดมนต์ และทำสมาธิในกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ วัดคลื่นสมองทุก 5 นาทีเป็นเวลา 30 นาที จากนั้นทำการทดสอบความเครียดหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่ม ด้วยค่าทีรายคู่(Paired t-test) และ การทดสอบแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ เมื่อพบความแตกต่างนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีของแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองของกลุ่มสวดมนต์ และกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของคลื่นสมองอัลฟ่า และเบต้า ภายในทั้งสองกลุ่มก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองในนาทีที่ 5, 10, 15, 20, 25, 30 และหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคลื่นสมองอัลฟ่าในกลุ่มสวดมนต์เริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 5-10 เป็นต้นไป และคลื่นอัลฟ่าในกลุ่มทำสมาธิเริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 0-5 เป็นต้นไป สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการสวดมนต์ และการทำสมาธิแบบอานาปานสติมีผลทำให้ลดระดับความเครียดลงได้ โดยการสวดมนต์สามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาทีที่ 5 เป็นต้นไป ส่วนการทำสมาธิแบบอานาปานสติสามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาทีแรกจนถึงนาทีที่ 5 คำสำคัญ : การสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา/การทำสมาธิแบบอานาปานสติ/ความเครียด
Other Abstract: Objective :The objective of this study was to investigate the effects of Buddhism praying and meditation by using Anapanasati method for reducing stress in Chulalongkorn University students. Method :The samples used under this study were Chulalongkorn University undergraduate students both male and female, aged between 18-21 years old. There were 60 students participated in testing Suanprung stress test. To participate in this research they had stress levels ranging from 24 to 61 score, which were considered medium stress level to high level of stress. Then the experiment group was further categorized by using matching method. In this case, the researcher divided subjects into 2 groups; The first was the group using praying method prayer and the second was the group using Anapanasati meditation method and each group consisted of 30 people. The researcher used NeXus-10 machine to measure brain wave activity individually before begin chanting and Anapanasati meditation method. The researcher conducted experiments by measuring brainwave while at rest for 5 minutes and measured brainwave while chanting and meditating by using Anapanasati method in each group for 30 minutes . The obtained data were analyzed to find the means, standard deviation , compared the difference within group by using paired t-test. One way analysis of variance with repeated measures used to find difference and compare all of the possible pairs by using LSD. The findings revealed as follows: 1. The experimental group of Buddhism prayer and Anapanasati meditation had difference mean score of stress measurement in the pretest and posttest with statistically significant level at the 0.05 level . 2. Mean of alpha and beta brainwave before the trial and between the experiment in 5 minutes , 10 , 15, 20 , 25, 30, and after the experiment were statistically significant difference at the .05 level. Alpha brainwave in Buddhism pray group began difference higher at the fifth to tenth minute and the alpha brainwave in Anapanasati meditation group began difference higher at the first to fifth minute. Conclusions The study concluded that the chanting and Anapanasati meditation resulted in lower levels of stress. The chanting can relieve stress from 5 minutes on ward. The Anapanasati meditation can relieve stress from the first minute to 5 minutes on ward.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51995
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1716
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1716
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kijsarun_ch.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.