Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51996
Title: ยุทธศาสตร์การสร้างพลังผ่านพื้นที่สื่อของขบวนการทางสังคมในประเทศไทย
Other Titles: Empowerment of Social Movement Through Mediascape in Thailand
Authors: วารุณี ณ นคร
Advisors: ประภาส ปิ่นตบแต่ง
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Prapart.P@Chula.ac.th
madpitch@yahoo.com
Subjects: การสื่อสาร -- แง่สังคม
ขบวนการสังคม
Communication -- Social aspects
Social movements
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ต้องการตอบคำถามว่าขบวนการทางสังคมในประเทศไทยมียุทธศาสตร์ในการใช้พื้นที่สื่อเพื่อนำไปสู่การสร้างพลังให้แก่ขบวนการอย่างไร โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาการสร้างพลังอำนาจของขบวนการทางสังคมผ่านการใช้พื้นที่สื่อโดยพิจารณากระบวนการทำให้พื้นที่สื่อเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวทางสังคมของขบวนการ 2. เพื่อศึกษาผลลัพธ์/พลังอำนาจที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวผ่านพื้นที่สื่อของขบวนการทางสังคมในการสร้างการสนับสนุนจากสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยใช้ระเบียบวิธีศึกษาเชิงคุณภาพ ผ่านกรณีศึกษา 3 กรณี คือ สมาชิกสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินตำบลคลองโยง จังหวัดนครปฐม สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนราษีไศลและ เครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพฯและสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่าผลการศึกษา พบว่า ขบวนการทางสังคมไทยสร้างพลังผ่านพื้นที่สื่อ โดยใช้ยุทธวิธีหลักในการจัดกระทำสื่อด้วยตนเอง เพื่อทำให้ประเด็นปัญหาและข้อเรียกร้องของตนมีความโดดเด่นและเข้าสู่ความสนใจของสังคมในวงกว้าง คือ การสร้างกรอบโครงประเด็นปัญหา ประกอบด้วย การสร้างกรอบโครงการวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น การสร้างกรอบโครงแนวทางการแก้ไขปัญหา และการสร้างกรอบโครงการจูงใจ โดยขบวนการฯมี วัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารให้ผู้กำหนดนโยบายได้รับรู้ผ่านพื้นที่สาธารณะ โดยอาศัยการระดมความรู้สึกร่วมหรือความเห็นอกเห็นใจจากสาธารณชน และให้ร่วมเป็นสักขียพยานในการเคลื่อนไหวผ่านลักษณะร้องเรียน การทวงถามการแก้ไขปัญหา ตรวจสอบ และเรียกร้องให้ภาครัฐมีการดำเนินนโยบายสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
Other Abstract: The purpose of this study is to examine the power construction of social movement using mediascape of 3 case study were : the Assembly of the Poor of Rasi Salai Dam, Conversation Network of Bangkuntien, Bangkok and Klong Yong Cooperratives. The finding show the social movement used public mediascape to broaden public support and to make an impact on policy makers by framing tactics. Mutual understanding and sympathy from the public were created in order to be the witnesses in the social movement.The condition for success of these marginal people in using the right to communicate were : 1) advanced technology and the ability to access technology, 2) the use of social networking, 3) media reform in Thailand, which has generated varied communication channels especially broadcasting and online media.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51996
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2147
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2147
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
warunee_na.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.