Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52121
Title: พัฒนาการของคำศัพท์ที่มีความถี่ในการปรากฏสูงในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย : การศึกษาตามแนวทางภาษาศาสตร์คลังข้อมูล
Other Titles: Development of high frequency words in Thai language textbooks : a corpus linguistics study
Authors: ธารทอง แจ่มไพบูลย์
Advisors: วิโรจน์ อรุณมานะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Wirote.A@Chula.ac.th,awirote@gmail.com
Subjects: ภาษาไทย -- คำศัพท์
ภาษาไทย -- แบบเรียน
ภาษาศาสตร์
Thai language -- Glossaries, vocabularies, etc.
Thai language -- Textbooks
Linguistics
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของคำศัพท์ที่มีความถี่ในการปรากฏสูงในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย โดยมีการเปรียบเทียบการขยายวงศัพท์ รวมถึงการขยายขอบเขตทางความหมายและหน้าที่ในสองมิติ คือเปรียบเทียบระหว่างช่วงชั้น และเปรียบเทียบระหว่างหลักสูตร โดยมีสมมติฐานว่าช่วงชั้นที่สูงขึ้นจะมีวงศัพท์มากกว่าและครอบคลุมช่วงชั้นที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังมีความหมายและหน้าที่ของคำศัพท์เพิ่มมากขึ้นตามช่วงชั้นด้วย ส่วนในเชิงหลักสูตรมีสมมติฐานว่า แต่ละหลักสูตรมีวงศัพท์ร่วมกันร้อยละ 90 ขึ้นไป รวมทั้งมีความหมายและหน้าที่เหมือนกันทุกหลักสูตร งานวิจัยชิ้นนี้จะศึกษาตามแนวทางภาษาศาสตร์คลังข้อมูล จากคลังข้อมูลหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย (TTC) ขนาด 3,037,772 คำที่สร้างขึ้น ซึ่งมีจำนวนศัพท์รวมทั้งสิ้น 19,494 รูปศัพท์ ผลการศึกษาพบว่า คลังข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้นตามช่วงชั้นที่สูงขึ้นทั้งในเชิงรูปศัพท์และจำนวนคำในการปรากฏ อย่างไรก็ตาม รูปศัพท์ในช่วงชั้นที่สูงกว่าไม่ได้ครอบคลุมทุกรูปศัพท์ในช่วงชั้นที่ต่ำกว่า นอกจากนี้วงศัพท์ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดในทุก ๆ ช่วงชั้น แต่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในระหว่างชั้นประถมต้นส่งต่อไปยังชั้นประถมปลาย และจำนวนวงศัพท์ค่อนข้างคงที่ในช่วงชั้นต่อจากนั้น แสดงให้เห็นว่าช่วงชั้นประถมปลายเป็นช่วงชั้นที่มีการเติบโตในเชิงวงศัพท์สูงที่สุด วงศัพท์ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นคำเนื้อหา ซึ่งในส่วนนี้เป็นผลมาจากเนื้อหาในบทเรียนที่นำเสนอเรื่องราวและบทอ่านที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถตัดสินความยากง่ายที่เกิดขึ้นได้โดยตรง แต่เมื่อพิจารณาความยากง่ายของคำศัพท์และของตัวบทในเชิงจำนวนพยางค์ การสร้างคำ รูปเขียนกับความเป็นไปได้ในการออกเสียง และความทึบใสทางความหมายของคำ พบว่าทั้งวงศัพท์และตัวบทมีความยากง่ายที่แตกต่างกันจริงในระหว่างช่วงชั้น ส่วนการขยายขอบเขตความหมายและหน้าที่พบว่าคำศัพท์ที่มีความถี่ในการปรากฏสูงนั้นมีความหมายและหน้าที่คล้ายคลึงกันทุกช่วงชั้น แสดงว่าความหมายรวมถึงหน้าที่แบบต่าง ๆ ของคำศัพท์เหล่านี้ถูกสอนไว้ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นต้นแล้ว ผลการศึกษาการเปรียบเทียบในมิติหลักสูตรพบว่า แต่ละหลักสูตรมีจำนวนคำและจำนวนรูปศัพท์ใกล้เคียงกัน รูปศัพท์ที่เกิดร่วมกันในแต่ละหลักสูตรเกินกว่าร้อยละ 90 จริง และไม่พบว่ามีการขยายขอบเขตทางความหมายและหน้าที่ นั่นคือแม้เวลาจะเปลี่ยนไป แต่รูปแบบและวิธีการใช้คำต่าง ๆ ยังเหมือนเดิม
Other Abstract: This research studies development of high frequency words in Thai language textbooks. The purposes of this study are to compare the increasing number of words and meanings in two aspects namely levels of education and curricular. The hypothesis for the levels of education is that in the higher levels, the number of words from textbooks is greater and more diverse than those in lower levels. In addition, the meanings of words are increased in higher education levels as well. On the other hand, the hypothesis for the curricular is that there is more than 90% shared words of textbooks from each curriculum, and the same variety of meanings and functions of high frequency words is found in textbooks from all curricular. This research is followed a corpus linguistics study. Thai Textbook Corpus (TTC) was thus created including 3,037,772 tokens or 19,494 types of words. The study reveals that types and tokens of word are increased by the levels of education. However, the vocabulary in the higher levels does not cover all the words in the lower levels. Furthermore, the findings indicate that the vocabulary in level 2 (4th-6th grade) has the widest range of vocabulary contributing to an increase in the vocabulary number more than other levels. Most of the increasing words found are content words. Since the contents of each book are different, the judgment of difficulty levels cannot be measured directly from this point. However, by analyzing the number of syllable, word formation, grapheme and pronunciation, and semantic transparency, the results show that the difficulty of vocabulary and textbook is different between levels. The study also shows that there is no increment of meanings according to the education levels since all of the meanings of words are already found at the first level. The result from the comparison from the curricular dimension indicates that the number of types and tokens of word is resembled between different curricular. There is more than 90% shared words in the textbooks from each curriculum. Additionally, the varieties of meanings and functions of high frequency words found in the textbooks from all curricular are also the same.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52121
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.723
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.723
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5180140822.pdf32.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.