Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52136
Title: | การพัฒนาโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักสำหรับนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย |
Other Titles: | A DEVELOPMENT OF HIGH INTENSITY INTERMITTENT TRAINING PROGRAM FOR VARSITY FOOTBALL PLAYERS |
Authors: | อารมย์ ตรีราช |
Advisors: | ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ ไถ้ออน ชินธเนศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Chaninchai.I@Chula.ac.th,c.intiraporn@yahoo.com thyon.che@mahidol.ac.th |
Subjects: | ฟุตบอล -- การฝึก ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Soccer -- Coaching |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักสำหรับนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 2 การศึกษาย่อยคือการศึกษาที่ 1 การศึกษาหารูปแบบการฝึกแบบหนักสลับช่วงพักในนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งทำการทดลองในนักกีฬาฟุตบอลชาย 12 คน อายุ 18-22 ปีที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าร่วมการวิจัย โดยการใช้ค่า อัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดมากกว่า 51 มล./นาที/กก. ขึ้นไปนักกีฬาที่ผ่านเกณฑ์ต้องฝึกตามโปรแกรมหนักสลับช่วงพักทั้ง 3 โปรแกรม ทำการวัด ความเข้มข้นแลคเตทในเลือดก่อนและขณะพักฟื้นหลังการฝึกทันที ณ นาทีที่ 3, 6, 9 12 และ 15 รวมทั้งค่า เมตาบอลิซึ่มผ่านเครื่องวิเคราะห์แก๊ส จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของตูกี(Tukey’s) ผลการทดลองพบว่า โปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพัก รูปแบบที่ 1 สามารถทำให้เกิดความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดและอัตราการกำจัดแลคเตทได้มากกว่ารูปแบบที่ 2 และ 3 ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่มีความใกล้เคียงกับการแข่งขันจริงมากที่สุด การศึกษาที่ 2 ได้ทำการศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถที่แสดงออกทางอนากาศนิยมและสมรรถภาพที่เจาะจงของนักฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอล ชาย ทีม มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 32 คน อายุ 18-22 ปีที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าร่วมการวิจัย โดยใช้ค่า อัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด มากกว่า 51 มล./นาที/กก. ขึ้นไป แล้วทำการจับสลากเข้ากลุ่มเท่าๆกันโดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มควบคุม 16 คน และกลุ่มทดลอง 16 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกเสริมด้วยการฝึกหนักสลับช่วงพักควบคู่กับการฝึกซ้อมฟุตบอลตามโปรแกรมปกติ สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ รวมเป็นการฝึกทั้งหมด 18 ครั้ง โดยระยะเวลาในการฝึกเสริมในแต่ละครั้งคือ 25 นาที ส่วนในกลุ่มควบคุม ทำการฝึกซ้อมตามโปรแกรมปกติและไม่มีการฝึกอื่นๆเพิ่มเติม การเก็บข้อมูลของค่าพลังแบบอนากาศนิยม ความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม ความเข้มข้นของแลคเตทในเลือด และสมรรถภาพที่เจาะจงของนักฟุตบอล จะทดสอบก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว เพื่อเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ภายในตัวแปร ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยกำหนดการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดลองพบว่า หลังการฝึกครบ 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าพลังแบบอนากาศนิยม คือ 10.07±1.31และ 9.09±0.70 วัตต์/กก.ตามลำดับ ค่าความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม ของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม คือ 8.61±1.51และ7.81±0.66 วัตต์/กก. ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงว่า ค่าพลังแบบอนากาศนิยม ค่าความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม ดัชนีความเมื่อยล้าและค่าความสามารถในการวิ่งเร็วซ้ำระยะทางเดิม ในกลุ่มทดลองมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนค่า ความแข็งแรง ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว อัตราการสร้างแรง ความเข้มข้นของแลคเตทในเลือด และค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การฝึกเสริมด้วยการฝึกหนักสลับช่วงพักที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มขีดความสามารถทางด้านพลังแบบอนากาศนิยม ความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม และความสามารถในการวิ่งเร็วซ้ำระยะทางเดิม ในนักกีฬาฟุตบอลได้ เนื่องจากการฝึกลักษณะนี้เป็นการพัฒนาการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเส้นใยกล้ามเนื้อชนิดหดตัวเร็ว นอกจากนั้นยังใช้เวลาในการฝึกที่ค่อนข้างสั้น ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ จึงเห็นว่าควรนำมาใช้ในการฝึกซ้อมและพัฒนากีฬาฟุตบอลต่อไป |
Other Abstract: | Two experiments were undertaken to develop a high intensity intermittent training (HIIT) program for varsity football players. The aim of study 1 was to establish an optimal HIIT program based on measured physiological responses. Twelve male university soccer players age ranged 18-22 yrs with maximum oxygen consumption (VO2max) greater than 51 ml/min/kg were recruited to participate in the study. Participants completed 3 different HIIT protocols in a randomized crossover order. Heart rate (HR) was continuously measured before and after each HIIT training protocol. Gas exchange and fingertip blood lactate (BLa) were also collected before each HIIT program and at 0, 3, 6, 9, 12 and 15 minutes post exercise. A one-way repeated measures ANOVA was applied to examine significant differences between each measured variable and a Tukey’s post hoc test was employed. The results showed that both BLa concentrations and rate of BLa clearance were significantly greater in program I compared with program II and III, respectively (p<0.05). It was concluded that the HIIT program I induced similar physiological demands to varsity football competition. In study 2, the addition of a HIIT program (established in study 1) to routine training on anaerobic performance and specific fitness in varsity football players was investigated. Thirty-two males from Mahidol University football team aged 18-22 yrs with VO2max greater than 51 ml/min/kg were recruited to participate in the study were recruited to participate in the study. Participants were randomly allocated into 2 groups; HIIT (n=16) and control group (n=16). In the HIIT group, participants performed a routine training program with the addition of 25-min of HIIT, 3 days per week for 6 weeks (total 18 sessions). In the control group, participants performed only their regular training program. Anaerobic power, anaerobic capacity, repeated sprint ability, strength, speed, agility, rate of force development and BLa were measured before and after 6 weeks of training. The data were analyzed using an one-way multivariate analysis of variance to determine the interaction of different intervention groups and time courses at significant level of p<0.05. It was found that anaerobic power, anaerobic capacity and repeated sprint ability were greater in the HIIT group compared with the control group after six weeks of training. However, there were no significant differences in strength, speed, agility, rate of force development and BLa accumulation levels between the two groups. Moreover, there was no significant difference in VO2max between two groups. These results suggest that the addition of a HIIT program to regular training enhances anaerobic performance due to neuromuscular adaptation; especially in fast-twitch muscle fibers (type II). Therefore, the addition of HIIT to a regular training program is able to improve anaerobic performance and optimize performance in varsity football players after 6 weeks of training. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52136 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.812 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.812 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5478613439.pdf | 6.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.