Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52291
Title: การประเมินสมรรถนะของเครื่องรับสัญญาณ GNSS ที่ติดตั้งนาฬิกาอะตอมความถูกต้องสูงในงานรังวัดจุดเดี่ยวความละเอียดสูง
Other Titles: PERFORMANCE EVALUTIONS OF A GNSS RECEIVER EQUIPPED WITH A HIGH ACCURACY ATOMIC FREQUENCY STANDARD IN PRECISE POINT POSITIONING (PPP) MODE
Authors: พรชนิตว์ มูลอักษร
Advisors: เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chalermchon.S@Chula.ac.th,csatirapod@gmail.com
Subjects: ดาวเทียมในการรังวัด
การรังวัด
Artificial satellites in surveying
Surveying
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานรังวัดจุดเดี่ยวความละเอียดสูงแบบจลน์ เป็นงานที่ให้ความถูกต้องในระดับเซนติเมตร ซึ่งนาฬิกาที่ใช้อยู่ภายในเครื่องรับสัญญาณ GNSS มีค่าความถูกต้องและเสถียรภาพที่เพียงพอต่อการหาค่าพิกัดทางตำแหน่งอยู่แล้ว แต่เนื่องจากงานทางด้านวิทยาศาสตร์ต้องการความถูกต้องในการหาพิกัดทางตำแหน่งที่ดีกว่า จึงได้ทำการศึกษาโดยใช้นาฬิกาอะตอมแบบซีเซี่ยม (Caesium frequency standard) ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้ได้ความถูกต้องทางตำแหน่งที่ดีขึ้น ข้อมูลสัญญาณ GNSS ที่รังวัดจากเครื่องรับสัญญาณแบบยีออเดติกจำนวน 2 เครื่องได้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อศึกษาค่าความแตกต่างของเวลาที่เกิดจากการใช้นาฬิกาที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ ระหว่างอาศัยสัญญาณเวลาจากนาฬิกาภายในเครื่องรับและอาศัยสัญญาณเวลาจากมาตรฐานความถี่ที่อยู่ภายนอก โดยได้มีการทดลองศึกษาเปรียบเทียบทั้งกรณีการใช้ข้อมูลเฉพาะระบบ GPS และการใช้ข้อมูลระบบ GPS ร่วมกับระบบ GLONASS วัตถุประสงค์มี 2 ส่วนคือประเมินสมรรถนะคุณลักษณะของนาฬิกาในด้านความถูกต้องของเวลา, เสถียรภาพเชิงความถี่ และเสถียรภาพเชิงเวลา และทำการประเมินค่าความถูกต้องทางตำแหน่งโดยการรังวัดจุดเดี่ยวความละเอียดสูงแบบจลน์ด้วยซอฟต์แวร์เชิงวิจัยชื่อ PANDA ในการประมวลผลหาผลลัพธ์ทางพิกัดและเวลา ผลการประเมินสมรรถนะของนาฬิกาที่เครื่องรับสัญญาณ พบว่าเครื่องรับสัญญาณที่อาศัยสัญญาณเวลาจากนาฬิกาอะตอมซีเซี่ยมจะให้ค่าที่ดีกว่าเครื่องรับสัญญาณที่อาศัยสัญญาณเวลาจากนาฬิกาภายในเครื่องรับ และเมื่อทำการประมวลผลทางตำแหน่งโดยใช้การรังวัดจุดเดี่ยวความละเอียดสูงแบบจลน์พบว่า ข้อมูลจากเครื่องรับสัญญาณที่ต่อนาฬิกาอะตอมซีเซี่ยมมีค่าความถูกต้องทางตำแหน่งที่ไม่แตกต่างกันกับข้อมูลจากเครื่องรับสัญญาณที่ต่อนาฬิกาภายในเครื่องรับ โดยอยู่ในระดับเซนติเมตร สำหรับค่าคลาดเคลื่อนของการประมาณค่าพิกัดมีความสัมพันธ์กับค่าคลาดเคลื่อนของการประมาณค่าเวลาที่เครื่องรับสัญญาณในระดับที่ต่ำมาก อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่แสดงออกมานั้น ไม่ได้บ่งบอกความแตกต่างอย่างชัดเจน อาจเกิดจากสาเหตุปัจจัยหลายอย่าง จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Other Abstract: Precise point positioning algorithm (PPP) in Kinematic mode provides the centimeter-level of accuracy for a surveyed point. The GNSS receiver internal oscillator does provide enough accuracy and stability to determine the high precision and accuracy for kinematic PPP results. However, because the science needs to be better. This study applies a high performance caesium frequency standard in order to better position accuracy. The collected GNSS observation data from two geodetic receivers are designed to investigate the receiver clock offsets in two modes; based on its internal oscillator and the external frequency standard. The tested scenarios contain only GPS and combined GPS and GLONASS observations. Objectives are in two folds; namely, to evaluate the characteristics of the receiver clocks comprised of accuracy, frequency stability and timing stability; and to data processing for positioning determination in kinematic PPP by applying software named PANDA, in order to determine the positioning and timing solutions. The receiver clock evaluation shows that the receiver equipped with the external caesium frequency standard provides the better results than the receiver operating on its internal clock as a time base. The positioning determination using the kinematic PPP shows the evaluation results obtained from the observation data from the receiver with or without external frequency standard do not show the significant differences in positioning accuracy at a centimeter-level of accuracy. The estimated positioning errors are weakly correlated with the estimated receiver clock error. Even though the results do not show differences significantly, this may be due to several parameters where further investigations are required.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52291
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1015
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1015
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770504521.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.