Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52356
Title: | การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชายในไพรัชนิยายไทยระหว่าง พ.ศ. 2484-2489 |
Other Titles: | THE CONSTRUCTION OF MASCULINE IDENTITY IN THAI EXOTIC NOVELS BETWEEN 1941 AND 1946 |
Authors: | จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร |
Advisors: | ชุติมา ประกาศวุฒิสาร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chutima.Pr@Chula.ac.th,chutima67@hotmail.com |
Subjects: | ความเป็นชาย -- ไทย นวนิยายไทย -- ตัวละครและลักษณะนิสัย อัตลักษณ์ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชายในไพรัชนิยายไทยระหว่าง พ.ศ. 2484-2489 ได้แก่ นวนิยายชุดปักกิ่งนครแห่งความหลัง (2484, 2485, 2489) ของสด กูรมะโรหิต ตระเวนมะนิลา (2486) ของวิตต์ สุทธเสถียร ชัยชนะของคนแพ้ (2486) และ ไม่มีข่าวจากโตเกียว (2488) ของเสนีย์ เสาวพงศ์ โดยศึกษาบริบททางสังคมและการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาย จากการศึกษาพบว่าตัวละครชายในตัวบทคัดสรรนำเรื่องเล่าการเดินทางไปต่างประเทศมาใช้สร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาย เนื่องจากประเทศไทยมีข้อจำกัดหรือข้อห้ามที่ทำให้ตัวละครชายไม่อาจแสดงความเป็นชายได้ การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชายผ่านสถานที่ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร รสนิยมการใช้ชีวิต และการบริโภควัฒนธรรมในต่างแดน เพื่อนำเสนอคุณสมบัติของความเป็นชาย อาทิ ความรู้ความสามารถ ความเข้มแข็งอดทน และบทบาททางเพศ นอกจากนี้ การเติบโตของชนชั้นกลางช่วงเวลาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และบริบทของสงครามโลกครั้งที่สองส่งผลให้การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชายผูกโยงกับอุดมการณ์ทางสังคมและการเมือง อาทิ แนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน ความสามารถส่วนบุคคล ตลอดจนอุดมการณ์ชาตินิยม ทั้งนี้ แม้ว่าอัตลักษณ์ความเป็นชายที่ประกอบสร้างขึ้นในไพรัชนิยายไทยที่ศึกษาจะมีความเปลี่ยนแปลงในมิติทางชนชั้นจากในอดีต แต่ในท้ายที่สุดความเป็นชายยังคงสืบเนื่องลักษณะของอำนาจ การครอบงำ ตลอดจนความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศ อย่างไรก็ดี จากการวิเคราะห์ศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชายมิได้เกิดขึ้นโดยเสร็จสมบูรณ์ตายตัว แต่เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและผลิตซ้ำเพื่อรักษาสถานะความเป็นชายเอาไว้ โดยนัยหนึ่งการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชายจึงเผยให้เห็นในด้านความวิตกกังวลและภาวะไม่มั่นคงในความเป็นชายของตัวละครชายด้วย |
Other Abstract: | This thesis aims to study the construction of Thai masculine identity in exotic novels written by Thai authors during 1941-1946. These novels include Sod Kuramarohita’s Pakking Nakorn Haeng Kwam Lang (1941, 1942, 1946), Witt Suddhasthira’s Trawain Manila (1943) and Seni Saowaphong’s Chaichana Kong Kon Phae (1943) and Mai Mee Khaw Jak Tokyo (1947). The study focuses on social and political background of the novels in order to see how the meaning of Thai masculinity is historically constructed. The study found that the male traveler-protagonists in the selected novels use travel writing as a narrative framework for constructing their gender identity. Confined by the traditions of their home land, the male protagonists travel elsewhere in search of their self-definition. The study thus examines key elements relevant to the construction of masculine identity: foreign setting, relationship between characters, taste, and style of living. These elements reveal certain aspects of the protagonist’s masculine identity: intellectual power, physical strength, and sex appeal. With the emergence of the middle class at the Siamese revolution in 1932 and World War II, the meaning of masculinity is informed by the middle class ideology including freedom, self-reliance, and nationalism. Although the notion of Thai masculinity found in the novels reflects the shift in meaning away from the one defined by the aristocratic, there exist the recurrent meanings of masculinity; namely, domination, superiority, and male privilege. The analysis of this study has shown that the construction of masculine identity is not a complete project; rather, it is a continuous process in which the meaning of masculine identity has been repeatedly deconstructed and reconstructed. Therefore, inherent in these male characters is a sense of insecurity and anxiety concerning their subject position as male. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วรรณคดีเปรียบเทียบ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52356 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.752 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.752 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5780112822.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.