Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52492
Title: การแปลวรรณกรรมเยาวชนของผกาวดี อุตตโมทย์ : การศึกษาประวัติและแนวทางการแปล
Other Titles: Translation of children's literature by Phakavadi Utamote : a study of its history and translation approaches
Authors: รังสิมา นิลรัต
Advisors: ใกล้รุ่ง อามระดิษ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Klairung.A@Chula.ac.th
Subjects: ผกาวดี อุตตโมทย์, 2481- -- งานแปล -- การวิจารณ์และการตีความ
วรรณกรรมสำหรับเด็ก
การแปลและการตีความ
นักแปล
Phakavadi Utamote. 2481- -- Translations -- Criticism and interpretation
Children's literature -- Translations
Translating and interpreting
Translators
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผกาวดี อุตตโมทย์ เป็นนักแปลที่มีชื่อเสียงและได้ผลิตผลงานแปลวรรณกรรมเยาวชนไว้มากมายตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาประวัติและแนวทางการแปลวรรณกรรมเยาวชนของผกาวดี อุตตโมทย์ รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกแนวทางการแปลที่แตกต่างกัน โดยใช้ทฤษฎีด้านการแปลของคาทารินา ไรส์ อองเดร เลอเฟอแวร์ และเยอเตอะ คลิงแบร์ย รวมทั้งทฤษฎีเกี่ยวกับวรรณกรรมเยาวชนของคาร์ล เอ็ม. โทมลินสัน และ แครัล ลีนช์-บราวน์ เป็นกรอบในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ผกาวดี อุตตโมทย์ใช้แนวทางการแปลวรรณกรรมเยาวชน 2 แนวทาง คือ การแปลแนวเรียบเรียงซึ่งปรากฏในงานแปลวรรณกรรมเยาวชนที่แปลก่อน พ.ศ. 2540 และการแปลแนวรักษาต้นฉบับซึ่งปรากฏในงานแปลวรรณกรรมเยาวชนหลัง พ.ศ. 2540 ทั้งนี้ การเลือกแนวทางการแปลที่แตกต่างกันของผกาวดี อุตตโมทย์เป็นผลมาจากปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมหลายประการ ปัจจัยหลักในด้านผู้อุปถัมภ์และขนบทางวรรณศิลป์ คือ นโยบายและแนวทางการแปลของสำนักพิมพ์ผีเสื้อที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจาก พ.ศ. 2540 และขนบทางวรรณศิลป์ของนักแปลอาวุโสและนักแปลร่วมสมัยกับผกาวดี อุตตโมทย์ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานแปลของผกาวดี อุตตโมทย์ในยุคแรก รวมทั้งมีปัจจัยทางคตินิยมเป็นปัจจัยเสริม ในที่นี้ ได้แก่ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและความรู้ภาษาต่างประเทศของผู้อ่านบทแปลอนึ่ง ผลการวิจัยมีบางส่วนไม่เป็นตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ พบว่า ผกาวดี อุตตโมทย์ใช้แนวทางการแปลวรรณกรรมเยาวชน 2 แนวทาง ได้แก่ การแปลแนวรักษาต้นฉบับและการแปลแนวเรียบเรียงตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกแนวทางการแปลของผกาวดี อุตตโมทย์ มีเพียงปัจจัยเดียว คือ ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม อันได้แก่ ผู้อุปถัมภ์ ขนบทางวรรณศิลป์ และคตินิยม โดยที่ประเภทของวรรณกรรมเยาวชน และกลุ่มผู้อ่าน ไม่มีผลต่อการเลือกแนวทางการแปลของผกาวดี อุตตโมทย์แต่อย่างใด
Other Abstract: Pakavadi Utamote is one of the best-known Thai translators and a large number of her translations have been published for more than 40 years. This thesis aims to study the history and translation approaches of Pakavadi Utamote's translation of children's literature as well as to analyze the factors responsible for her use of different approaches. In this thesis, translation theories of Katharina Reiss, Andre Lefevere and Gote Klingberg and the theory on children's literature of Carl M. Tomlinson and Carol Lynch-Brown are applied as the frame of study. It is found that Pakavadi Utamote's translations of children's literature can be divided into two modes: rearrangement for works translated before 1997 and translation for works translated after 1997. Each mode is influenced by two contributing factors: patronage and poetics. These include the change of policy and translation approach of the Butterfly Book House since 1997 and the translation approach use by senior translators and translators who are Pakavadi's contemporaries. Ideology, in the case of Pakavadi's translations, is only the supporting factor. The result of the thesis is partly different from the hypotheses. The finding that Pakavadi Utamote applies two different approaches to translate children's literature confirms the hypothesis. However, factors concerning the genre and the target reader are not instrumental for Pakavadi's selection of translation approach. The research shows that socio-cultural factor is the sole factor responsible for the different modes of translation.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การแปลและการล่าม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52492
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.590
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.590
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rangsima_ni_front.pdf961.77 kBAdobe PDFView/Open
rangsima_ni_ch1.pdf812.82 kBAdobe PDFView/Open
rangsima_ni_ch2.pdf6.9 MBAdobe PDFView/Open
rangsima_ni_ch3.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
rangsima_ni_ch4.pdf30.51 MBAdobe PDFView/Open
rangsima_ni_ch5.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open
rangsima_ni_ch6.pdf528.61 kBAdobe PDFView/Open
rangsima_ni_back.pdf16.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.