Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53143
Title: ผลของการให้ข้อมูลร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายโดยการหายใจต่อความเครียดในขณะอยู่โรงพยาบาลของมารดาที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด
Other Titles: Effect of information and breathing -relaxation technique on maternal stress in preterm labor during hospitalization
Authors: จุฑามาส ขุมทอง
Advisors: ชมพูนุช โสภาจารีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: chompunut.s@chula.ac.th
Subjects: มารดา
การคลอดก่อนกำหนด
ความเครียด (จิตวิทยา)
การผ่อนคลาย -- เทคนิค
การฝึกหายใจ
Mothers
Labor, Premature
Stress (Psychology)
Relaxation -- Technique
Breathing exercises
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในขณะอยู่โรงพยาบาลของมารดาที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด ก่อนและหลังได้รับการให้ข้อมูลร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายโดยการหายใจ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในขณะอยู่โรงพยาบาลของมารดาที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนดระหว่างกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายโดยการหายใจกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในขณะ อยู่โรงพยาบาลของมารดาที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด กลุ่มทดลองได้รับการให้ข้อมูลร่วมกับ การใช้เทคนิคผ่อนคลายโดยการหายใจ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นหญิงตั้งครรภ์ระหว่าง 28-37 สัปดาห์ จำนวน 60 ราย ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุม (Random Assignment) กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรม การให้ข้อมูลร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายโดยการหายใจ แบบบันทึกการปฏิบัติเทคนิคผ่อนคลายโดยการหายใจ และแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดในขณะอยู่โรงพยาบาลของมารดาที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด หลังการให้ข้อมูลร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายโดยการหายใจต่ำกว่าก่อนการให้ข้อมูลร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายโดยการหายใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( X = 7.30, SD = 3.08 and X = 23.13, SD = 3.95, t = 18.01, p < .01 ตามลำดับ) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดในขณะอยู่โรงพยาบาลของมารดาที่เจ็บครรภ์ก่อนหนด ในกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( X = 7.30, SD = 3.08 and X = 25.13, SD = 5.32, t = 15.89, p < .01 ตามลำดับ) 3. มารดาที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนดในโรงพยาบาลให้ความสำคัญกับปัญหาและความต้องการด้านอารมณ์ เป็นอันดับแรก
Other Abstract: The purposes of this quasi-experimental research were 3-fold: (i) to compare maternal stress in preterm labor during hospitalization before and after received information and breath relaxation technique, (ii) to compare maternal stress in preterm labor during hospitalization between the group receiving information and breath relaxation technique and the group receiving conventional nursing care, and (iii) to examine maternal problems and needs in preterm pregnant women during hospitalization. The experimental group received information and breath relaxation technique while the control group received conventional nursing care. The research sample was 60 women who were pregnant between 28 and 37 weeks gestation. Thirty subjects each were randomly assigned to either the experiment or the control group. The research instruments consisted of the information and breath relaxation technique program, a record of breath relaxation practice, and self-scoring stress questionnaire. Frequency, percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test were used to analyze the data. Major findings were as follows: 1. Mean of maternal stress score after receiving information and breath relaxation technique was statistically significantly lower than the score before receiving information and breath relaxation technique ( X = 7.30, SD = 3.08 and X = 23.13, SD = 3.95, t = 18.01, p < .01) 2. Mean of maternal stress score in the experimental group was statistically significantly lower than that in the control group ( X = 7.30, SD = 3.08 and X = 25.13, SD = 5.32, t = 15.89, p < .01) 3. Emotional problem and need was ranked by the pregnant women in preterm labor during hospitalization as the major concern.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53143
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.482
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.482
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chutamad_kh_front.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
chutamad_kh_ch1.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
chutamad_kh_ch2.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open
chutamad_kh_ch3.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
chutamad_kh_ch4.pdf803.27 kBAdobe PDFView/Open
chutamad_kh_ch5.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
chutamad_kh_back.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.