Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5314
Title: รูปแบบการเปิดรับสื่อของผู้บริโภคชายในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Media exposure patterns of male consumers in Bangkok
Authors: สุทธิลักษณ์ วงศ์วรเศรษฐ์
Advisors: สราวุธ อนันตชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Saravudh.a@chula.ac.th
Subjects: การเปิดรับสื่อมวลชน
ส่วนแบ่งทางการตลาด
สื่อโฆษณา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษารูปแบบการเปิดรับสื่อของผู้บริโภคชายในกรุงเทพมหานคร ทางด้านประเภทของสื่อที่เปิดรับและปริมาณของสื่อที่เปิดรับ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร กับรูปแบบการเปิดรับสื่อ ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ชายอายุระหว่าง 12-49 ปี ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 612 คน กำหนดโควต้าตามอายุเป็น 3 ช่วง แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 12-19 ปี 20-29 ปี และ 30-49 ปี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า (1) สื่อที่ผู้บริโภคชายในกรุงเทพมหานครเปิดรับมากที่สุด เรียงตามลำดับคือ โทรทัศน์ประเภทรับชมฟรี หนังสือพิมพ์ วิทยุ โรงภาพยนตร์ โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกและนิตยสาร (2) รายการโทรทัศน์ประเภทข่าวมีผู้ชมมากที่สุด ตามด้วยวาไรตี้โชว์ ส่วนหนังสือพิมพ์ นิยมอ่านข่าวกีฬาและข่าวบันเทิง ประเภทรายการวิทยุที่ฟังมากที่สุดคือ เพลงไทยสากล ตามด้วยเพลงสากลและข่าว ส่วนภาพยนตร์ประเภทที่ชมบ่อยที่สุดคือแนวแอ็คชั่น ตามด้วยแนวตลก โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกช่องที่ชมบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก คือ HBO, Supersport และ Discovery Channel ส่วนประเภทของนิตยสารที่อ่านบ่อยที่สุดคือ นิตยสารบันเทิง กีฬาและคอมพิวเตอร์ (3) กลุ่มที่มีอายุน้อย มีการศึกษาต่ำ มีรายได้ต่ำ มักจะเปิดรับสื่อประเภทที่เน้นความบันเทิงมากกว่า ในขณะที่กลุ่มซึ่งมีอายุมาก มีการศึกษาสูง และรายได้สูง มักจะเปิดรับสื่อประเภทที่เน้นให้สาระความรู้ (4) ผู้บริโภคชายในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ชมโทรทัศน์และฟังวิทยุทุกวัน วันละ 1-2 ชั่วโมง อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน วันละน้อยกว่า 1 ชั่วโมง อ่านนิตยสารสัปดาห์ละ 1-2 วัน วันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง และไปชมภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์ 1-2 ครั้งต่อเดือน (5) กลุ่มที่มีอายุน้อยเป็นนักเรียนนักศึกษา และเป็นโสด เปิดรับสื่อโทรทัศน์และโรงภาพยนตร์ในปริมาณมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ส่วนระดับรายได้ที่ต่างกันไม่มีความแตกต่าง ในด้านปริมาณการเปิดรับสื่อ
Other Abstract: To study media exposure patterns of male consumers in Bangkok in terms of media vehicles and quantity of media exposed, and to study the relationship of demographic characteristics to media exposure patterns. Questionnaires were used to collect data from 612 males in Bangkok which was divided into 3 age ranges; 12-19, 20-29 and 30-49 years. Results of the research are shown that free TV was the most exposed medium, followed by newspaper, radio and cinema while TV news programs had most audiences, followed by variety shows. Most of the sample read sports and entertainment sections in newspaper. Thai pop music was the radio program listened most. Type of cinema viewed most often were action and comedy. Channels of cable TV mostly watched were HBO, Supersport and Discovery channel. Entertainment, sports and computer magazines had most readers. In addition, the younger, lower-educated and lower-income groups tended to expose to the entertainment-oriented vehicles while the older, higher-educated and higher-income groups prefer knowledge-based and information-oriented vehicles. The majority of Bangkok males were exposed to TV and radio everyday, spent less than an hour per day, read magazines 1-2 days per week and spent no more than 2 hours a day, and attended cinema theatre 1-2 times a month. Lastly, the younger, students and single groups spent more time on viewing TV and attending cinema theatre. Income was not related to the quantity of media exposure
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5314
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.331
ISBN: 9743466282
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.331
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suttilak.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.