Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53236
Title: การเกิดแหล่งแร่และการแปรเปลี่ยนของหินท้องที่ของแหล่งแร่ทองคำเขาพนมพา อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
Other Titles: Mineralization and alteration of Khao Phanom Pha gold deposit, Amphoe Wang Sai Phun, Changwat Phichit
Authors: จักรกฤษณ์ วิเชียรเทียบ
Advisors: อภิสิทธิ์ ซาลำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Abhisit.A@chula.ac.th
Subjects: เหมืองและการทำเหมืองทองคำ -- ไทย -- พิจิตร
Gold mines and mining -- Thailand -- Phichit
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่ศึกษาตั้งอยู่ที่เขาเจ็ดลูก อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร แหล่งแร่เขาพนมพาเป็นแหล่งแร่ทองคำที่มีการทำเหมือง โดยชาวบ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และ เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรได้เข้ามาดำเนินการทำเหมือง ปัจจุบันยังคงมีการทำเหมืองแร่ทองคำโดยชาวบ้านในท้องที่โดยใช้เครื่องเจาะและเครื่องจักรการเกษตร ลักษณะธรณีวิทยาของเขาพนมประกอบด้วย หินภูเขาไฟ (Lava) หินเถ้าภูเขาไฟ เช่น หินแอนดิซิติกลาพิลลีทัฟ หินไรโอไลติกลาพิลลีทัฟ หินไมโครไดออไรต์ และแอนดิซิติกไดค์ แร่ทองคำเขาพนมพาเกิดในลักษณะสายแร่ควอตซ์-คลอไรต์-ซัลไฟด์-ทองคำ แทรกตัดเข้ามาในหินภูเขาไฟและหินเถ้าภูเขาไฟ สายแร่มีความกว้างประมาณ 1-2 เมตรวางตัวอยู่ในแนวเหนือใต้ มีแนวการเอียงเทประมาณ 70 องศา ซึ่งส่วนใหญ่กระจายทั่วไปอยู่บริเวณตอนกลางและฝั่งตะวันออกของเขาพนมพา จากการลำดับอายุของการเกิดแหล่งแร่ พบว่ามีอย่างน้อย 3 ช่วง ในช่วงแรกเป็นช่วงก่อนการเกิดแร่ทองคำ เกิดกระบวนการแปรสัมผัส ทำให้การแปรเปลี่ยนแบบแคลก์-ซิลิเกตและ อันเนื่องจากการแทรกดันของหินไมโครไดออไรต์ พบอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเขาพนมพา ในช่วงที่สองเป็นช่วงของการเกิดแร่ทองคำ เกิดกระบวนการแทนที่ (แปรเปลี่ยน) ของแร่ทาให้เกิดสการ์น และมีสายแร่ควอตซ์-คลอไรต์-ซัลไฟด์-ทองคำ โดยแร่ซัลไฟด์ที่พบในสายแร่นี้ประกอบแร่ไพไรต์ พิโรไทต์เป็นส่วนใหญ่ และแร่คาลโคไพไรต์บ้างเล็กน้อย การแปรเปลี่ยนของหินภูเขาไฟและหินเถ้าภูเขาไฟที่สัมพันธ์กับสายแร่นี้คือโพแทสสิก (ไบโอไทต์-ไพไรต์) พบอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ และตอนกลางของเขาพนมพา สายแร่ควอตซ์-อิพิโดด-คลอไรต์ พบตัดสายแร่ควอตซ์-คลอไรต์-ซัลไฟด์-ทองคำ และหินภูเขาไฟตลอดจนหินไมโครไดออไรต์ทั่วไปโดยเฉพาะทางด้านใต้ของพื้นที่ แร่ซัลไฟด์ที่พบ ได้แก่ แร่ไพไรต์ และคาลโคไพไรต์ การแปรเปลี่ยนที่พบเป็นแบบโพรไพริติก (คลอไรต์-อิพิโดด-แคลไซต์-ไพไรต์) ในหินภูเขาไฟและหินเถ้าภูเขาไฟ ในช่วงที่สาม เป็นช่วงหลังเกิดแร่ทองคำ พบสายแร่ควอตซ์ ทั่วไปโดยเฉพาะทางตอนเหนือของพื้นที่ (กระจายตัวบริเวณเขาหนองแขม) ทำให้เกิดการแปรเปลี่ยนแบบซิลิซิฟิเคชั่นแต่ ไม่พบแร่ทองคำ จากการศึกษาศิลาวรรณนาและแร่วิทยา สามารถสรุปได้ว่าแหล่งแร่เขาพนมพาเป็นแหล่งแร่ทองคำแบบสการ์น ซึ่งมีสายแร่ควอตซ์-คลอไรต์-ซัลไฟด์-ทองคำ เป็นสายแร่ที่ให้ทองซึ่งตัดเข้ามาในหินภูเขาไฟ และหินเถ้าภูเขาไฟ และแร่ซัลไฟด์ที่พบ ได้แก่ แร่พิโรไทต์มากที่สุด รองลงมาเป็นแร่ไพไรต์และแร่คาลโคไพไรต์พบน้อยที่สุด การแปรเปลี่ยนที่พบในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ การแปรเปลี่ยนแบบแคลก์-ซิลิเกต แบบโพแทสสิก แบบโพรไพริติก และการแปรเปลี่ยนแบบซิลิซิฟิเคชั่น
Other Abstract: Study area is located at Tambon Khao Chet Luk, Amphoe Wang Sai Phun, Changwat Phichit. Phanom Pha Gold mining is managed by villager since the year 2544 and a short time The Ministry of Phichit had mining operations. Currently, there is still gold mining by local residents using drilling rigs and equipment. Geology in Khao Phanom Pha consist of volcanic rock, pyroclastic rock such as andesitic lapilli tuff, rhyolitic lapilli tuff, microdiorite and andesitic dyke. Gold in Khao Phanom Pha took place in quartz-chlorite-sulfide-gold vein that intrude into the volcanic rock and pyroclastic rock. Vein with a width of about 1-2 meters in a north-south orientation and dip angle about 70 degrees Which is mainly distributed in the central and eastern of the Khao Phanom Pha. The Paragenesis of the mineralization found that there are at least three sessions, the first session is Pre-mineralization that contact metamorphism occurs. It causes calc-silicatte alteration and due to intrude of microdiorite found in the area southwest of Khao Phanom Pha. Second session is Major-gold mineralization that metasomatism occurs and makes skarn and has quartz-chlorite-sulfide-gold vein. Sulfide mineral are founded in this vein that consist of pyrite, pyrrhotite and chalcopyrite. Alteration of volcanic rock and pyroclastic rock that relate with this vein is potassic (biotite-pyrite) alteration founds in the area southwest of Khao Phanom Pha and central of Khao Phanom Pha. Quartz-chlorite-epidote vein cross cutting the quartz-chlorite-sulfide-gold vein, volcanic rock and microdiorite that found locally and almost found in the south of Khao Phanom Pha. Sulfide mineral that found in quatz-chlorite-epidote vein is pyrite and chalcopyrite and alteration is Propylitic (chlorite-epidote-calcite-sulfide) alteration in volcanic rock and pyroclastic rock. The third session is Post-mineralization that found quartz vein in the area north of Khao Phanom Pha and Khao Nongkham causes silicification but is not found gold. Petrography and mineralogy study can be conclude that Khao Phanom Pha gold mining is skarn deposit which quartz-chlorite-sulfide-gold vein is the main gold mineral that intrude into the volcanic rock and pyroclastic rock and sulfide mineral is almost pyrrhotite, subordinate pyrite and a bit of chalcopyrite. Alteration in the Khao Phanom Pha is calc-silicate, potassic alteration, propylitic alteration and silicification
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53236
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532704323.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.