Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53262
Title: | การจำลองสภาพแวดล้อมในอดีตโดยใช้ตะกอนทะเลสาบ บริเวณทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง |
Other Titles: | Paleoenvironmental reconstruction based on lake sediments from Thale Noi, Changwat Pattalung |
Authors: | นภดล อยู่แจ่ม |
Advisors: | อัคนีวุธ ชะบางบอน กฤษณ์ วันอินทร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | akkaneewut@gmail.com fscikrit@ku.ac.th |
Subjects: | ทะเลน้อย (พัทลุง) ธรณีวิทยา -- ไทย -- พัทลุง ธรณีวิทยาประวัติศาสตร์ -- ไทย -- พัทลุง ตะกอน (ธรณีวิทยา) -- ไทย -- พัทลุง แบบจำลองทางธรณีวิทยา Thale Noi (Pattalung) Geology -- Thailand -- Pattalung Historical geology -- Thailand -- Pattalung Sediments (Geology) -- Thailand -- Pattalung Geological modeling |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในอดีตจากหลักฐานทางธรณีวิทยาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต งานวิจัยนี้ได้ทำการ ศึกษาตะกอนจากทะเลน้อยซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อยู่ในจังหวัดพัทลุง เพื่อทำความเข้าใจถึงการกระจายตัวของตะกอนและจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในอดีตจากลักษณะตะกอนที่พบในบริเวณพื้นที่ศึกษา โดยทำการเก็บแท่งตะกอนในแนวทิศเหนือ-ใต้และในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร หลังจากนั้นทำการลำดับชั้นตะกอนในแต่ละจุดศึกษานำผลที่ได้มาทำการเทียบสัมพันธ์ แท่งตะกอนที่ชั้นตะกอนที่ครอบคลุมทุกหน่วยตะกอน นำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยวิธีการเปรียบเทียบมวลของตะกอนที่หายไปหลังจากการเผาที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียสหรือ Loss on ignition (LOI) เพื่อสอบเทียบการจำแนกลักษณะตะกอน หลังจากนั้นนำข้อมูลการลำดับชั้นตะกอนมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อจำลองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในอดีต ผลจากการลำดับชั้นตะกอนพบว่าตะกอนชั้นล่างสุดมีลักษณะเป็นตะกอนโคลนสีเทาอ่อน (ชั้นตะกอนหมวด E และ D) มวลที่หายไปเนื่องจากการเผามีค่าประมาณ 10-20% แสดงถึงตะกอนที่มีอินทรียวัตถุปะปนอยู่น้อยและอาจจะมีการรุกล้ำเข้ามาของน้ำทะเล ชั้นตะกอนถัดมามีอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายไม่หมดปะปนอยู่มาก (ชั้นตะกอนหมวด C) มวลที่หายไปเนื่องจากการเผาที่มีค่าประมาณ 80-90% แสดงการพัฒนาตัวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอันเนื่องมาจากการที่ระดับน้ำทะเลลดลง ถัดมาลักษณะตะกอนเปลี่ยนเป็นตะกอนโคลนสีเทาถึงเทาเข้ม (ชั้นตะกอนหมวด B) มวลที่หายไปเนื่องจากการเผามีค่าประมาณ 20-30% ซึ่งมากกว่าตะกอนโคลนชั้นล่างสุด (ชั้นตะกอนหมวด E และ D) เล็กน้อย สะท้อนการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำอีกครั้ง ร่วมกับการที่ปริมาณน้ำจืดที่ไหลเข้ามาในทะเลน้อยมากขึ้นทำให้มีสภาพแวดล้อมการสะสมตัวแบบที่ราบน้ำขึ้นถึง (tidal flat) และตะกอนชั้นบนสุดเป็นตะกอนทะเลสาบมีสีเทาเข้มถึงน้ำตาลเข้ม (ชั้นตะกอนหมวด A) มวลที่หายไปเนื่องจากการเผามีค่าประมาณ 30-40% แสดงการพัฒนาตัวเป็นทะเลสาบน้ำจืดเหมือนในปัจจุบัน |
Other Abstract: | The sedimentary cores obtained from Thale Noi, Phatthalung here analyzed in order to insight into sedimentary distribution and paleoenvironment. The cores were collected every 1 km in two directions; north-south and east-west. The lithostratigraphic column for each site was constructed and subsequently correlated. The sedimentary sequences contained all sedimentary units were further analyed by loss on ignition (LOI) technique at 550 oC every 1 cm. The LOI results contributed to the sedimentary identification. The lithostratigraphy derived from Thale Noi generally compose of light grey stiff clay (unit E), light grey clay (unit D), peat (unit C), dark gray clay (unit B) and gyttja (unit A) in the eastern part of the lake. In the west of Thale Noi, unit E and D cannot be observed. The well compact peat layer of unit C*, however has been found at the bottom which is overlaied by sedimentary unit B and unit A. LOI are about 10-20%, 80-90%, 20-30% and 30-40% in sedimentary unit E and D, C and C*, B and A, respectively. The clay layers in unit E and D were possibly deposited in marine environment reflected a sea level rise and transgression to the study area. The distinctively decreasing sea level allows developement of vegetations and accumulation of peat layer (unit B). The clay layer contained high organic content in unit B suggests that Thale Noi is potentially affected by higher runoff and/or sea level rise of the tidal flat environment. Finally, the sea level lowering caused the tidal flat transfer into freshwater lake. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53262 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5532722623.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.