Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53278
Title: การประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนของน้ำบาดาลเนื่องจากดินที่ปนเปื้อนแคดเมียม บริเวณตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Other Titles: Pollution risk assessment of groundwater caused from cadmium contaminated soils in Tambon Mae Sot, Amphoe Mae Sot, Changwat Tak
Authors: สลิลทิพย์ วิภาตะวิทย์
Advisors: ศรีเสิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: lertc77@yahoo.com
Subjects: น้ำบาดาล -- แง่อนามัย
น้ำบาดาล -- ไทย -- ตาก
แคดเมียม
Groundwater -- Health aspects
Groundwater -- Thailand -- Tak
Cadmium
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาการปนเปื้อนของแคดเมียม ระดับสูงบริเวณผิวดินโดยมีสาเหตุหลักมาจากการทำเหมืองสังกะสีในบริเวณนั้น เป็นผลทำให้ชั้นน้ำ บาดาลมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีการปนเปื้อนของแคดเมียม จากการสำรวจของสถาบันจัดการทรัพยากรน้ำ นานาชาติ (International Water Management Institute; IWMI) และกรมวิชาการเกษตรในปี พ.ศ. 2541 - 2546 พบว่ามีการปนเปื้อนของแคดเมียมระดับสูงในตะกอนดินท้องน้ำห้วยแม่ตาว และบริเวณ แปลงนาที่มีการผันน้ำจากห้วยแม่ตาว โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำไหลผ่านพื้นที่ที่มีการทำเหมืองแร่ ซึ่งมีค่า อยู่ในช่วง 82-326 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพบการปนเปื้อนของแคดเมียมในดินบริเวณพื้นที่ เกษตรกรรมที่ใช้น้ำจากลำห้วยแม่ตาวในช่วงประมาณ 61-207 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งมีค่าสูงเกิน มาตรฐานการปนเปื้อนของแคดเมียมที่ยอมให้มีได้ในดินของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป 3 มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม การประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนของชั้นน้ำบาดาลต่อการเกิดมลภาวะจึงมีความจำเป็นอย่าง ยิ่ง โดยความเสี่ยงต้องพิจารณาทั้งสภาพความอ่อนไหวตามธรรมชาติของแหล่งน้ำบาดาลร่วมกับ ศักยภาพของแหล่งมลสารที่จะส่งผลต่อชั้นน้ำบาดาล ในการศึกษาครั้งนี้ทำการวิเคราะห์สภาพความ อ่อนไหวตามธรรมชาติของแหล่งนำบาดาลด้วยวิธี DRASTIC (Aller et al.,1987) ผลจากการวิเคราะห์ที่ ได้จะถูกนำมาจัดกลุ่มเพื่อจำแนกศักยภาพการปนเปื้อนของน้ำบาดาลในระดับต่างๆ และถูกจัดทำ ออกมาในรูปแบบของแผนที่ความอ่อนไหวของชั้นน้ำบาดาล ซึ่งพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวของชั้นน้ำบาดาล สูงมาก (ระดับความอ่อนไหว 5) อยู่ในบริเวณพื้นที่ทางตะวันตกของพื้นที่ศึกษา นอกจากนี้ยังมีการ วิเคราะห์การปนเปื้อนของแคดเมียมในดินร่วมด้วย ทาให้สามารถประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนของ ชั้นน้ำบาดาลต่อการเกิดมลภาวะได้ โดยจัดระดับความเสี่ยงออกเป็น 4 ระดับ คือ ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง และสูง ผลจากการประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนของชั้นน้ำบาดาลต่อการเกิดมลภาวะถูกจัดทำออกมา ในรูปแบบของแผนที่ความเสี่ยงของชั้นน้ำบาดาลต่อการเกิดมลภาวะ และพบว่าพื้นที่ที่ความเสี่ยงสูงอยู่ ในบริเวณลุ่มน้ำห้วยแม่ตาวบริเวณที่น้ำไหลผ่านพื้นที่ที่มีการทำเหมืองแร่
Other Abstract: Amphoe Mae Sot, Changwat Tak, an area experiencing high levels of cadmium contaminated soil surface caused from the mining of zinc in the area. As a result, groundwater is likely to have a higher risk of contamination of cadmium. A survey of International Water Management Institute; IWMI and Department of Agriculture in 1998 - 2003 were found that this area has been contaminated with high levels of cadmium in the soil water of Mae Tao creek and a field with the diversion of water from the Mae Tao creek. Especially in areas where the water flows through the mining area which is in the range of 82 - 326 milligrams per kilogram. And contamination of cadmium in the soil around the agricultural area that used water from the Mae Tao creek in the range of about 61 - 207 milligrams per kilogram which is higher than the standard of cadmium contamination in the soil that allow the EU 3 milligrams per kilogram. Pollution risk assessment of cadmium contaminated in groundwater is absolutely necessary. The risk must be considered as a vulnerability of aquifer and potential sources of pollutants that can affect groundwater. In this study, the vulnerability of aquifer will be analyzed by DRASTIC method (Aller et al., 1987). The results of the analysis were grouped to identify the potential contamination of groundwater levels and be prepared to come out in the form of vulnerability index map. This area has a very high vulnerability (level 5) in the west part. There is also analysis cadmium contaminated in soil. The risk level is classified into four levels: very low, low, medium and high. The final results have come out in form of risk map and found that it has high-risk areas in the watershed area of the Mae Tao creek.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53278
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532742123.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.