Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53280
Title: ศิลาเคมีของหินไนส์ที่สัมพันธ์กับแหล่งอัญมณี บริเวณแนวหินโมกก เมียนมาร์
Other Titles: Petrochemistry of gniess related to gemdeposit in Mogok stone tract, Myanmar
Authors: สุภัทชา ดำรงมณี
Advisors: จักรพันธ์ สุทธิรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: c.sutthirat@gmail.com
Subjects: อัญมณี -- ไทย -- พม่า
ศิลาวิทยา -- ไทย -- พม่า
Jewelry -- Thailand -- Myanmar
Petrology -- Thailand -- Myanmar
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แนวการแปรสภาพโมกกอยู่ในบริเวณตะวันออกตอนเหนือของประเทศเมียนมาร์ ปรากฎเป็นแนวหินแปร ขนาดใหญ่ที่อยู่ทางตะวันออกของรอยเลื่อนสะเกียง มีความซับซ้อนทางธรณีวิทยาสูง นอกจากนี้ แหล่งพลอยโมกก ยังมีชื่อเสียงในด้านการผลิตอัญมณีคุณภาพสูง พื้นที่ในบริเวณนี้จึงมีการทำเหมืองอัญมณีเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หิน เหย้าของอัญมณีที่พบเป็นส่วนใหญ่คือ หินแปร โดยเฉพาะ หินไนส์ และ หินอ่อน หินไนส์ในแนวหินโมกก จำแนกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ หินไบโอไทต์-การ์เนต ไนส์ หินไบโอไทต์ ไนส์ และหินการ์ เนต ไนส์ โดยหินไบโอไทต์-การ์เนต ไนส์ ประกอบด้วยแร่หลักคือควอตซ์ และเฟลด์สปาร์โดยพบ ไบโอไทต์ และ การ์เนตเป็นแร่ที่สำคัญในกลุ่มนี้มักแสดงลักษณะเนื้อหินริ้วลาย และมีผลึกดอกแปรสาหรับหินไบโอไทต์ ไนส์ ประกอบด้วยแร่ที่สำคัญคือ ไบโอไทต์ และแพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ พบผลึกดอกแปรของแร่คอรันดัม และพบ ลักษณะริ้วผลึกแยกตัวของแร่อัลคาไลน์เฟลด์สปาร์อีกด้วย และหินการ์เนตไนส์นอกจากจะพบควอตซ์และ เฟลด์สปาร์เช่นเดียวกับสองกลุ่มแรกแล้วยังพบแร่ที่สำคัญคือ การ์เนต หินในกลุ่มนี้แสดงลักษณะผลึกดอกแปรของ แร่การ์เนต ผลวิเคราะห์เคมีของหินทั้งก้อนของหินทั้งสามกลุ่ม พบว่ามีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน และมี การศึกษาอุณหภูมิและความดันของสภาพการเกิดหินไนส์ บริเวณแนวหินโมกก จาก Psudosection โดยหินไบโอ ไทต์การ์เนตไนส์ มีความดันอยู่ในช่วง 2.4 – 9.0 กิโลบาร์ และมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 300 – 490 องศาเซลเซียส หินไบโอไทต์ไนส์มีความดันอยู่ในช่วง 5.0 – 7.0 กิโลบาร์ และมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 300 – 390 องศาเซลเซียส หิน การ์เนตไนส์มีความดันอยู่ในช่วง 5.0 – 9.0 กิโลบาร์ และมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 500 – 750 องศาเซลเซียส
Other Abstract: Mogok Stone Tract. is located in the north eastern Myanmar, which is in the east of Sagiang Fault. Therefore, geology of the area is complex. Mogok is also famous for high quality gemstone production. There are plenty of mines around the area. The host rock of gemstone is metamorphic rocks, particularity gniess and marble. Gniess samples collected from Mogok stone tract can be divided into 3 groups including biotite – garnet gniess, biotite gniess and garnet gniess. Quartz and feldspar are the main assemblage of these gneiss rocks; however, there are some different crucial minerals contains biotite and garnet as crucial component with garnet usally forms as porphyroblastic texture. This rock group also show shows foliated texture. Biotite gneiss contains biotite and Plagioclase as crucial component. Garnet gniess contains garnet as crucial component. Whole-rock chemical analyses, shows similarity of these gneiss groups. Thermobarometry based on psudosection indicates that biotite-garnet gneiss equilibrated at 2.4 – 9.0 Kbar and 300 – 490 ºC, biotite gneiss equilibrated at 5.0 – 7.0 Kbar and 300 – 390 ºC and garnet gneiss equilibrated at 5.0 – 9.0 Kbar and 500 – 750 ºC
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53280
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532744423.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.