Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53291
Title: Characteristic of Khao Tham feldspar and their volcanic association, Amphoe Srabot, Changwat Lopburi
Other Titles: ลักษณะเฉพาะของแหล่งแร่ "เฟลด์สปาร์เขาถ้ำ" และความสัมพันธ์กับหินภูเขาไฟในบริเวณข้างเคียง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
Authors: Kanaporn Kulananpakdee
Advisors: Chakkaphan Sutthirat
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: c.sutthirat@gmail.com
Subjects: Tridymite
Feldspar -- Thailand -- Lopburi
Geochemistry -- Thailand -- Lopburi
ทริดิไมต์
หินฟันม้า -- ไทย -- ลพบุรี
ธรณีเคมี -- ไทย -- ลพบุรี
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Khao Tham volcanics is a part of Lam Narai volcanic field, located 7 kilometers north of Amphoe Srabot, Changwat Lopburi. This project is aimed to study petrography, geochemistry and mineral chemistry for classification and correlation of volcanic rocks in the study area. Based on petrographic characteristics, Khao Tham volcanic rocks can be classified into 6 types, i.e., rhyolites, vitrophyric rhyolites, rhyolitic tuff, andesites, perlitic pitchstones and devitrified perlites. Rhyolites consist of microcrystalline feldspar and tridymite with vitrophyric groundmass. Smaller amounts of microcrystalline feldspar and tridymite are found in vitrophyric rhyolites. Andesites consist mostly of microcrystalline feldspar and biotite. Rhyolitic tuff is composed mainly of vitrophyric ash groundmass. Perlitic pitchstones show perlitic cracks and vitrophyric texture. Spherulitic texture is found in devitrified perlites. Feldspar found in these rocks are classified based on mineral chemistry as sanidine. Geochemically, Khao Tham volcanic rocks contain similar major and minor oxides ranging within ranges of 68-78 wt% SiO2, 13-15 wt% Al2O3, 3-5 wt% K2O, 0.1-5 wt% Na2O. However, the lesser amounts of Fe2O3 and TiO2 of fine-grained rhyolites indicate that this rock type provides good quality feldspar appropriate for industry. In addition, mineral chemical analyses also indicate that Khao Tham volcanic rocks contain mainly alkali feldspar, particular Sanidine.
Other Abstract: หินภูเขาไฟบริเวณเขาถ้ำเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่หินภูเขาไฟลำนารายณ์ ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ซึ่งโครงงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาศิลาวรรณา ธรณีเคมี และเคมีแร่ของหินเพื่อทำการจำแนกและหาความสัมพันธ์ระหว่างหินบริเวณแหล่งแร่เฟลด์สปาร์เขาถ้ำและหินภูเขาไฟข้างเคียงภายในพื้นที่ศึกษา จากการศึกษาศิลาวรรณาทำให้สามารถแบ่งหินในพื้นที่ศึกษาออกได้เป็น 6 กลุ่ม คือ rhyolites, vitrophyric rhyolites, rhyolitic tuff , andesites , perlitic pitchstones และ devitrified perlites หินกลุ่ม rhyolites พบผลึกขนาดเล็กของแร่เฟลด์สปาร์และทริดิไมท์ในเนื้อพื้นเนื้อแก้ว ในขณะที่กลุ่ม vitrophyric rhyolites มีปริมาณผลึกแร่เล็กน้อยและมีเนื้อแก้วมาก ส่วน rhyolitic tuff จะพบลักษณะของเนื้อแก้วและเถ้าภูเขาไฟ ในกลุ่มของ andesite พบผลึกแร่ขนาดเล็กของเฟลด์สปาร์และไบโอไทต์ นอกจากนี้ในกลุ่มของ perlitic pitchstone พบเนื้อแก้วในปริมาณมากกับผลึกแร่เล็กน้อยทั้งยังแสดงลักษณะของ perlitic crack ส่วน devitrified perlite แสดง spherulitic texture อย่างชัดเจน โดยแร่องค์ประกอบหลักของหินภูเขาไฟเขาถ้ำคือ เฟลด์สปาร์และทริดิไมต์ ซึ่งผลจากการศึกษาเคมีแร่ของหินในพื้นที่ทำให้ทราบว่าส่วนใหญ่เป็นแอลคาไลน์เฟลด์สปาร์พวกซานิดีน และจากการศึกษาธรณีเคมีพบว่าหินภูเขาไฟบริเวณเขาถ้ำในแต่ละกลุ่มมีปริมาณธาตุองค์ประกอบหลักและธาตุองค์ประกอบรองในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ประกอบด้วย 68-78 wt% SiO2, 13-15 wt% Al2O3, 3-5 wt% K2O, 0.1-5 wt% Na2O.แต่ด้วยปริมาณของ Fe2O3 และ TiO2 ซึ่งพบว่ามีปริมาณน้อยมากในกลุ่มของ rhyolites และปริมาณผลึกเฟลด์สปาร์ขนาดเล็กจำนวนมากทำให้หินในกลุ่มนี้มีคุณภาพดีพอจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้ ดังนั้นจะพบว่าหินกลุ่มต่างๆในพื้นที่นั้นมีองค์ประกอบทางเคมีที่ใกล้เคียงกันแต่ด้วยลักษณะการปะทุและเย็นตัวของลาวาที่ต่างกันจากการระเบิดหลายครั้งทำให้เกิดหินที่มีลักษณะต่างกันรวมทั้งแหล่งแร่เฟลด์สปาร์เขาถ้ำด้วย
Description: A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science Department of Geology Faculty of Science Chulalongkorn University Academic Year 2011
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53291
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Kanaporn Kulananpakdee.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.