Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53299
Title: | การกำหนดอายุเตาเผาโบราณด้วยวิธีการเรืองแสง |
Other Titles: | Geochronology of ancient kilns using luminescence dating |
Authors: | ปาณิสรา นวสมัครการ |
Advisors: | สันติ ภัยหลบลี้ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pailoplee.S@hotmail.com |
Subjects: | เตาเผา การเปล่งแสง การกำหนดอายุจากเศษภาชนะดินเผา การกำหนดอายุทางโบราณคดี Kilns Luminescence Thermoluminescence dating Archaeological dating |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการกำหนดอายุเตาเผาโบราณจากอิฐที่เดิมประกอบเป็นเตาเผา จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยวิธีการเรืองแสง โดยใช้วิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence Dating) และ การกระตุ้นด้วยแสง (Optically Stimulated Luminescence Dating) จากการศึกษางานวิจัยต่างๆ พบว่า สองวิธีนี้เหมาะแก่การนำมากำหนดอายุวัตถุทางโบราณคดี และ ตะกอนต่างๆ เนื่องจากวัตถุทางโบราณคดีมักผลิตจากกระบวนการเผา จึงได้รับปริมาณความร้อนที่มากเพียงพอที่จะลบสัญญาณเรืองแสงที่สะสมอยู่ก่อนออกหมด ดังนั้นเมื่อนำมากำหนดอายุจึงได้อายุที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าอายุเทียบสัมพันธ์ทางโบราณคดี การศึกษานี้ทำการเก็บตัวอย่างอิฐทั้งหมดสี่ตัวอย่าง จากเตาเผาโบราณ 2 ตัวอย่าง และ โบราณสถานปราสาททอง 2 ตัวอย่าง หลังจากทำการเตรียมตัวอย่างแล้วสามารถกำหนดอายุได้เพียง 1 ตัวอย่าง คือ ตัวอย่างเตาเผา ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อนเท่านั้น เนื่องด้วยเหตุขัดข้องทางด้านเครื่องมือวิเคราะห์ที่ชำรุด จึงไม่สามารถได้ผลการศึกษาอย่างที่คาดไว้ โดยอายุเตาเผาโบราณที่ได้ คือ พ.ศ. 585±120 ปี ทั้งนี้มีความคลาดเคลื่อนจากอายุเทียบสัมพันธ์ทางโบราณคดีที่ให้อายุอยู่ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14- 19 มาก ด้วยข้อจำกัดทางเครื่องมือผลอายุที่ได้ขาดการวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อความถูกต้องของข้อมูล จึงเป็นเพียงผลอายุเบื้องต้นเท่านั้น ควรมีการศึกษาวิเคราะห์ให้มากขึ้นในโอกาสต่อไป |
Other Abstract: | In this study, luminescence dating were planned for dating the ancient burnt bricks. The main aim of this study is to test the efficiency between OSL and TL dating including to determine the absolute scientific dates of the archaeological site. Four of bricks collected from the Prasat Thong archaeological site and Nai Jieang ancient burnt kiln in Amphoe Bankruad, Changwat Burirum and duplicate for hypothesis testing. The expected result of this study is the degree of paleodose variation. In geochronological meaningful, the paleodose determine from OSL dating should release the more accurate paleodose than that determine from TL dating method. In individual sample, some portion of brick mass was etched by HCl and immersed in HF acid in order to extract the quartz mineral for equivalent dose determination. Then, the rest portion was treated for water content and annual dose determination. Unfortunately during this research study, the breakings down of the RISO TL/OSL equipment interrupt the research operation lead to the missing result of this study. The absolute age of ancient burnt kiln by the TL reader in Kasetsart University is 585 ± 120 years BE. The absolute age is dislocation from relative age that is 14-19 BE. From the limited to approach equipment and the absolute age was not enough to statistics analysis. The result of this study can give primary age of ancient burnt kiln. It could be more investigation in the future. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53299 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
report_panissara navasamakkarn.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.