Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53333
Title: | ศิลาวรรณนาและสภาพแวดล้อมการสะสมตัวของหินตะกอน มหายุตพาลีโอโซอิกตอนบน บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองลำกง อำเเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | Petrography and depositional environment of upper Paleozoic sedimentary rocks along Klong Lumkong reservoir in Amphoe Nong Phai Changwat Phetchabun |
Authors: | ฉัตรเฉลิม เกษเวชสุริยา |
Advisors: | ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | thasineec@gmail.com |
Subjects: | ศิลาวิทยา -- ไทย -- เพชรบูรณ์ ตะกอนวิทยา -- ไทย -- เพชรบูรณ์ Petrology -- Thailand -- Phetchabun Sedimentology -- Thailand -- Phetchabun |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลำดับชั้นหินทางกายภาพ ศิลาวรรณนา ซากดึกดำบรรพ์ และสภาพแวดล้อมการสะสมตัวในอดีต บริเวณอ่างเก็บน้าคลองลำกง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการศึกษาได้ดำเนินการเก็บข้อมูลและตัวอย่างหินโผล่ในพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 25 จุดศึกษา รวมทั้งการศึกษาในห้องปฏิบัติการภายใต้กล้องจุลทรรศน์โพลาไรซิ่ง จากการลำดับชั้นหินทางกายภาพ พบว่าสามารถเห็นชั้นหินมีการเรียงตัวเป็นชั้นบางถึงหนา ประกอบไปด้วยหินตะกอนภูเขาไฟสีเทาเขียวขนาดละเอียดถึงหยาบมาก หินทรายแป้ง หินดินดานและ หินเชิร์ต โดยมีทิศทางการวางตัวของชั้นหินหลายแนว บางจุดศึกษาพบโครงสร้างของชั้นหินคดโค้งแบบ ประทุนหงายและประทุนคว่า พบโครงสร้างหินตะกอนหลายชนิด ได้แก่ ชั้นหินบางขนาน ชั้นหินบางเฉียง ระดับ การคัดขนาดแบบปกติ flameและload structures และ rip up clasts พบซากดึกดาบรรพ์ของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้แก่ หอยแอมโมนอยด์และไบรโอซัว จากการศึกษาศิลาวรรณนำสามารถ จัดจำแนกหินตะกอนตามการจัดจำแนกของ Dott (1964) ประกอบด้วย Lithic wacke, Feldspathic wacke และ Mudstone เม็ดตะกอนประกอบด้วยแร่ควอตซ์ร้อยละ 20-50 แร่เฟลด์สปาร์ร้อยละ 5-45 และเศษหินร้อยละ 5-50 มีขนาดของเม็ดตะกอนละเอียดถึงหยาบ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.01-0.5 มิลลิเมตร พบการคัดขนาดตะกอนดีถึงปานกลางในหินตะกอนเนื้อละเอียด และพบการคัดขนาดตะกอน ไม่ดีในหินตะกอนเนื้อหยาบ ความกลมมนน้อยถึงมาก ความเป็นทรงกลมปานกลางถึงไม่ดี ข้อมูลจากการศึกษาลักษณะเนื้อหิน ขนาดของเม็ดตะกอน ความเป็นทรงกลม การคัดขนาด ซากดึกดาบรรพ์และโครงสร้างหินตะกอน พบว่าในบริเวณพื้นที่ศึกษามีสภาพแวดล้อมการสะสมตัวที่เป็น ทะเลในบริเวณที่มีความชัน (slope environment) ไปยังบริเวณที่มีพลังงานต่ำโดยกระแสปั่นป่วน |
Other Abstract: | The aim of this work is to study on lithostratigraphy together with its petrography, fossils and paleoenvironment of the sedimentary strata exposed along Klong Lumkong Reservoir in Amphoe Nong Phai, Changwat Phetchabun. Five sections of exposures have been measured and 25 samples were collected for petrographic study. The section contains thin to thick bedded. The sedimentary rock consists of fine - very coarse-grained volcaniclastic rock, siltstone, mudstone and chert with parallel lamination, cross lamination, normal graded bedding, flame & load structures and rips up clasts. Ammonoid and bryozoa were found. The attitude of bedding varies widely within outcrops. Anticline and syncline were found in some area. Petrographic studies, sandstone investigated generally contain about 20-50 percent quartz, 5-45 percent feldspar, 5-50 percent rock fragments and minor amount s of other components, which is typically matrix supported. The rocks consist dominantly of very fine to very coarsegrained with moderately to well sorting, composed of angular to rounded, high and low sphericity. Rock names would be called Lithic wacke, Feldspathic wacke and Mudstone (Dott, 1964) According to the sedimentary evidences and fossils, the sedimentary rocks were deposited on slope environment by turbidity current. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53333 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5332705823 ฉัตรเฉลิม เกษเวชสุริยา.pdf | 6.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.