Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53359
Title: | ธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวชั้นหินคดโค้งเลย-เพชรบูรณ์ ตามเส้นทางหลวงชนบท หมายเลข 4045(สายบ้านไร่ขอนยางขวาง-บ้านวังขอนหลัก กม.24 – 29) อําเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | Structural geology of Loei-Phetchabun fold belt along highway 4045 (Ban Raikhon Yang Kwang-Ban Wang Khon Highway, Km.24-29), Amphoe NongPhai, Changwat Phetchabun |
Authors: | ดุจกมล วงศ์สุวพิชญ์ |
Advisors: | พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | pitsanupong.k@hotmail.com |
Subjects: | ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- เพชรบูรณ์ หินปูน -- ไทย -- เพชรบูรณ์ Geology, Structural -- Thailand -- Phetchabun Limestone -- Thailand -- Phetchabun |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แนวชั้นหินคดโค้งเลย-เพชรบูรณ์ (Loei-Phetchabun fold belt) เป็นแนวของชั้นหินที่มีลักษณะ ธรณีวิทยาโครงสร้างที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดทางธรณีวิทยาที่แตกต่างกันในแต่ละส่วน เป็นผลจาก กระบวนการชนกันระหว่างแผ่นจุลทวีปไซบูมาสุ (Sibumasuterrane) และแผ่นจุลทวีปอินโดจีน (Indochina- terrane) การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาลักษณะและวิวัฒนาการธรณีวิทยาโครงสร้างของ แนวชั้นหินคดโค้งเลย-เพชรบูรณ์ ในพื้นที่ศึกษาบริเวณตอนกลางของจังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะทาง ธรณีวิทยาของพื้นที่ศึกษาประกอบไปด้วย หินตะกอนเนื้อเม็ดขนาดละเอียดและหินปูน มีสภาพแวดล้อม การสะสมตัวแบบทะเลน้ำตื้นยุคเพอร์เมียน จากการสำรวจภาคสนาม ประมวลผลในห้องปฏิบัติการและวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค สรุปได้ว่า ลักษณะธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวชั้นหินคดโค้งเลย เป็นชั้นหินคดโค้งแบบไม่สมมาตร (asymmetric fold) มีระนาบแกน (axial plane) วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ขนานกับชั้นหิน มุมเอียงเทไปทางทิศตะวันตก ลักษณะเป็นประทุนคว่ำ (anticline) และประทุนหงาย (syncline) สลับกัน คล้ายลูกคลื่น มีแนวแตกหลัก 3 แนวและพบรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault) โดยมีลำดับวิวัฒนาการการเกิดธรณีวิทยาโครงสร้างดังนี้ (1) การตกสะสมตัวของตะกอน (2) เกิดชั้นหินคดโค้งในทิศเหนือ-ใต้ ร่วมกับแนวแตกเรียบระนาบแกนใน ทิศเหนือ-ใต้และแนวแตกทิศตะวันออก-ตะวันตก เนื่องจากแรงบีบอัดในทิศตะวันออก-ตะวันตก (3) เกิด แนวแตกทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ร่วมกับรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ- ตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากแรงบีบอัดในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ |
Other Abstract: | Loei-Phetchabun fold belt is the zone of complex structures and is different geologic data in various parts — the result of the collision between Sibumasuterrane and Indochina terrane. The study aims to find out structural style and evolution of Loei-Phetchabun fold belt in the study area which located in the central part of Phetchabun. The study area comprises Permain fine-grained clastic sedimentary rocks and limestones which were deposited in shallow marine environment. The conclusion is based on field observation, laboratory processing and microstructure analysis. This study summarized structural style of Loei-Phetchabun fold belt is N-S trending asymmetric folds which axial plane dipping W. Anticlines and synclines occur adjacent as a wavelike. Three dominant joint sets and thrust fault were recognized. There are three phases of the structural evolution: (1) sedimentary deposits (2) N-S trending folds related axial plane cleavages and E-W joint sets were occur as the results of E-W compression (3) NE-SW joint sets and NW-SE trending thrust fault were due to NE-SW compression. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53359 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5332712123 ดุจกมล วงศ์สุวพิชญ์.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.