Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53360
Title: ลักษณะเฉพาะของแชปไฟร์จากประเทศรวันดา ทวีปแอฟริกา
Other Titles: Characteristics of sapphires from Rwanda, Africa
Authors: นิสา สุขขี
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: จักรพันธ์ สุทธิรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: c.sutthirat@gmail.com
Subjects: ไพลิน
ไพลิน -- รวันดา
ไพลิน -- รวันดา -- การวิเคราะห์
Sapphires
Sapphires -- Rwanda
Sapphires -- Rwanda -- Analysis
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยครั้งนี้ได้นำตัวอย่างแซปไฟร์แหล่งจางกูกู ประเทศรวันดา มาศึกษาเพื่อเก็บ ข้อมูลพื้นฐานทางอัญมณีและเอกลักษณ์ของแหล่ง โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานและ ขั้นสูงของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ถือเป็นการ พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบพลอยที่ไม่ทราบแหล่งกำเนิดแน่ชัด และใช้เป็นแนวทาง ในการปรับปรุงคุณภาพพลอยในอนาคต พลอยแซปไฟร์แหล่งจางกูกู ประเทศรวันดา มีต้นกำเนิด มาจากหินแอลคาไลน์บะซอลต์ มหายุคซีโนโซอิก โดยแหล่งจางกูกู ถูกควบคุมโดยระบบร่องแยก แอฟริกันตะวันออก (East African Rift) และตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่มีการประทุของหินภูเขาไฟบะ- ซอลต์ตัวอย่างแซปไฟร์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีทั้งสิ้น 31 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะสี และคุณภาพอัญมณี ได้แก่ กลุ่มคุณภาพดี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มสี น้ำเงินเข้ม 11 จำนวนตัวอย่าง และกลุ่มสีน้ำเงินอ่อน 7 ตัวอย่าง และกลุ่มคุณภาพต่ำแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มสีน้ำเงินเข้มทึบแสง จำนวน 7 ตัวอย่าง และกลุ่มสีน้ำเงินอมเขียว 6 ตัวอย่าง โดยตัวอย่างทั้งหมดไม่แสดงการเรืองแสงภายใต้แสงเหนือม่วงทั้งช่วงคลื่นยาวและช่วงคลื่นสั้นพบ มลทินผลึกแร่ ได้แก่ เฟลสปาร์ เนฟิลีน สปิเนล เซอร์คอน และเฟอร์โรโคลัมไบต์ ซึ่งพบได้ใน แหล่งกำเนิดหินบะซอลต์ทั่วไป จากผลวิเคราะห์การดูดกลืนคลื่นแสงในช่วงอินฟาเรด พบว่า รูปแบบการดูดกลืนของตัวอย่างแซปไฟร์ที่พบ สามารถบ่งชี้ได้ว่าแซปไฟร์จากแหล่งนี้มีต้นกำเนิด มาจากหินบะซอลต์ จากผลวิเคราะห์การดูดกลืนคลื่นแสงช่วงแสงอัลตราไวโอลตถึงอินฟราเรด ระยะใกล้ พบว่ามีการดูดกลืนของ Fe2+/Ti4+และ Fe3+ ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดสีน้ำเงินของแซปไฟร์ จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุร่องรอยพบว่ามีปริมาณเหล็กสูงเมื่อเปรียบเทียบกับธาตุ ร่องรอยตัวอื่นๆ ในช่วง 0.14-0.53 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก โดยแซปไฟร์แหล่งจางกูกู ประเทศรวันดา มีธาตุองค์ประกอบ ได้แก่ ธาตุเหล็ก โครเมียมและไทเทเนียมต่ำกว่าแหล่งกำเนิดหินบะซอลต์อื่นๆ ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของแหล่งนี้
Other Abstract: Sapphire samples from Cyangugu district, SW Rwanda, were collected for basic analyses and characterization. The study was carried out using basic and advanced gem-testing instruments at The Gem and Jewelry Institute of Thailand. The main aim of this study is to develop database for further investigation of sapphires’ origin and their treatments. Sapphires in Cyangugu district in SW Rwanda are related to Cenozoic alkali basalt which is associated with East African Rift volcanism. The sapphire samples are divided into two main groups according to the colors and gem qualities. The first group, high quality samples are divided into two subgroups including eleven dark blue samples and seven light blue samples. The second group, low quality samples, are also divided into two subgroups including seven opaque dark blue samples and six greenish blue samples. Their luminescences are inert under both long wave and short wave UV lamps. Mineral inclusions are similar to those found in other from basaltic sapphires. They are characterized by feldspar, nepheline, spinel, zircon, and ferrocolumbite. According to infrared spectra, all samples show absorption patterns that indicated basaltic sapphire origin. Moreover, UV-Vis-NIR absorption spectra show absorptions of Fe2+/Ti4+ and Fe3+ which cause blue color of sapphire. Trace element analyses contain relatively high iron with low contents of other trace elements (0.14-0.53 percent by weight). However, Cyangugu sapphires still have lower iron content, compared to basaltic sapphires from elsewhere.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53360
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1401
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1401
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432719723_Nisa Sukkee.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.