Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53470
Title: การกระจายตัวของละอองลอยบริเวณกรุงเทพมหานครในช่วงเหตุการณ์เกิดพายุฝุ่นในประเทศจีน
Other Titles: Aerosol distribution in Bangkok during dust storm event in China
Authors: วิมลสิริ โปทา
Advisors: บุศราศิริ ธนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: boossara@geo.sc.chula.ac.th
Subjects: ละอองลอยในบรรยากาศ
ละอองลอยในบรรยากาศ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ละอองลอย
ละอองลอย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
พายุฝุ่น
พายุฝุ่น -- จีน
Atmospheric aerosols
Atmospheric aerosols -- Thailand -- Bangkok
Aerosols
Aerosols -- Thailand -- Bangkok
Dust storms
Dust storms -- China
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงงานนี้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการกระจายตัวของละอองลอยบริเวณกรุงเทพมหานคร ในช่วงเหตุการณ์เกิดพายุฝุ่นในประเทศจีน โดยใช้ข้อมูล PM2.5 จากสถานีการเคหะชุมชนดินแดง ในปี พ.ศ.2545 - 2549 และสถานีมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปี พ.ศ.2544-2550 ส่วนข้อมูล PM10 จากสถานีการเคหะชุมชนดินแดง ในปี พ.ศ.2542 - เดือนมิถุนายน พ.ศ.2552 และสถานีมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปี พ.ศ.2551-2552 บริเวณกรุงเทพมหานคร จากกรมควบคุมมลพิษ จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติการกระจายตัวของ PM2.5 ทั้งสองสถานีพบว่ามีการกระจายตัวปริมาณสูงในช่วงฤดูหนาว และต่ำสุดในช่วงฤดูฝน ส่วนการกระจายตัวของ PM10 จะพิจารณาช่วงเดือนมีนาคม–เดือนพฤษภาคม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่าในปี พ.ศ.2551 ค่าความเข้มข้นของละอองลอย PM10 สูงสุดในเดือนมีนาคม และค่าต่ำสุดในเดือนพฤษภาคม ส่วนในปี พ.ศ. 2552 สูงสุดในเดือนพฤษภาคม และค่าต่ำสุดในเดือนเมษายน และจากสถานีการเคหะชุมชนดินแดง ปี พ.ศ.2542 – 2552 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติประกอบกับศึกษาภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่ลม แผนที่อากาศ และ ทำ HYSPLIT backward trajectory modeling ในช่วงที่มีรายงานการเกิดเหตุการณ์พายุฝุ่นในประเทศจีน พบว่าค่าความเข้มข้นของ PM10 สูง ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2549 และ 2551 อีกทั้งมวลอากาศมีการเคลื่อนที่มาจากประเทศจีน และจากการทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของละอองลอยในช่วงเกิดเหตุการณ์พายุฝุ่นมีความแตกต่างจากวันปกติอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าการเพิ่มขึ้นของละอองลอยนี้อาจเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นจากพายุฝุ่น ละอองลอยที่เป็นเกลือจากทะเล หรือมีบางครั้งก็จะพบละอองลอยในพื้นที่ใกล้เคียงประเทศไทย ซึ่งหากต้องการทราบให้แน่ชัดอาจต้องมีการศึกษาทางเคมีของละอองลอยในการศึกษาต่อไป
Other Abstract: This research project about the distribution of aerosol in Bangkok during dust storm events in China by using data of PM2.5 and PM10 from the Pollution Control Department. PM 2.5 data sets were from Dindaeng – National Housing Authority station during 2002 to 2006 and data from Bansomdejchaopraya Rajabhat University station during 2001 to 2007. PM10 data sets were from Dindaeng – National Housing Authority station during 1999 to June 2009 and data set from Bansomdejchaopraya Rajabhat University station during 2008 to June 2009. Statistical analysis of the PM2.5 distribution from both stations showed that the high concentration distribution is in winter and the lowest concentration distribution is in rainy season. The distribution of PM10 determined the dust storm event during March - May. Results of statistical analysis of Bansomdejchaopraya Rajabhat University station showed that in the year 2008, the highest concentration of PM10 is in March and lowest concentration of PM10 is in May. In the year 2009 the highest concentration of PM10 is found in May and lowest concentration is in April. The PM10 data set from Dindaeng – National Housing Authority station were studied in March - May by statistical analysis and combined with satellite image, surface maps, weather maps and HYSPLIT backward trajectory modeling during a dust storm events where reported in China. The study found that the concentration of PM10 is high in March 2006 and 2008 where the direction of the air mass came from China and result of hypothesis test showed that the concentration of PM10 among normal days and dusty days are differences. In addition, we found that increase concentration of PM10 may occur from many sources such as dust storms, sea salt, local. Furthermore study should be planned the chemical analysis of aerosol to classified the type of aerosol from the different sources.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา .... คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53470
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimonsiri_Full report(3).pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.