Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53475
Title: | ลักษณะเฉพาะของพลอยแซปไฟร์จากแหล่งบ่อมา ประเทศพม่า |
Other Titles: | Characteristics of sapphire from baw mar deposit, Myanmar |
Authors: | หมื่นโชค เห็นวงศ์ประเสริฐ |
Advisors: | จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | c.sutthirat@gmail.com |
Subjects: | ไพลิน ไพลิน -- พม่า ไพลิน -- บ่อมา (พม่า) ไพลิน -- การวิเคราะห์ ไพลิน -- พม่า -- การวิเคราะห์ ไพลิน -- บ่อมา (พม่า) -- การวิเคราะห์ Sapphires Sapphires -- Burma Sapphires -- Baw Mar (Burma) Sapphires -- Analysis Sapphires -- Burma -- Analysis Sapphires -- Baw Mar (Burma) -- Analysis |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการวิจัยครั้งนี้ ได้นำตัวอย่างแซปไฟร์แหล่งบ่อมา ประเทศพม่า มาศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐาน ทางอัญมณีและลักษณะเฉพาะของแหล่ง โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานและเครื่องมือวิเคราะห์ขั้น สูงของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ถือเป็นการพัฒนา ฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบพลอยที่ไม่ทราบแหล่งกำเนิดแน่ชัด และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง คุณภาพพลอยในอนาคต พลอยแซปไฟร์แหล่งบ่อมา ประเทศพม่า ได้พบบริเวณแนวหินโมกก (Mogok Stone Tract) หรือที่เรียกว่าแนวหินแปรโมกก (Mogok Metamorphic Belt) ตัวอย่างแซปไฟร์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ นี้มีทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง เนื้อพลอยมีลักษณะค่อนข้างขุ่นและ มีรอยแตกภายในมาก ซึ่งมีการเรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วงช่วงคลื่นยาวเล็กน้อยและไม่มีการเรืองแสง ในช่วงคลื่นสั้น พบมลทินผลึกของแร่โพแทสเซียม-เฟลด์สปาร์ และแร่รูไทล์ นอกจากนี้ยังพบมลทิน ลักษณะต่างๆเช่น มลทินแตกผสานลายนิ้วมือ มลทินรูปเข็ม มลทินรูปหนอน เป็นต้น จากผลวิเคราะห์เครื่องมือขั้นสูง แสดงลักษณะแถบสเปคตรัมการดูดกลืนช่วงแสง UV-Vis-NIR พบว่ามีการดูดกลืนของ Fe2+/Ti4+และ Fe3+ ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดสีน้า เงินของแซปไฟร์ สำหรับการ ดูดกลืนคลื่นแสงในช่วงอินฟราเรดพบว่าพลอยแซปไฟร์จากแหล่งบ่อมา ประเทศพม่า แสดงการดูดกลืนของ OH group ณ ความยาวคลื่น 3185, 3311, 3623 และ 3698 cm−1 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทาง เคมีพบว่ามีธาตุร่องรอยที่เด่นชัด คือ Fe2O3 การวิเคราะห์อัตราส่วนระหว่าง Cr2O3/Ga2O3และ Fe2O3/TiO2 แสดงถึงแนวโน้มที่บ่งชี้แหล่งกำเนิดจากกระบวนการแปรสภาพ และเทียบอัตราส่วนระหว่าง Fe, Mg และ V พบว่าแสดงให้เห็นถึงปริมาณเหล็กที่สูงกว่าพลอยแซปไฟร์จากแหล่งกำเนิดจากกระบวนการแปรสภาพอื่นๆ ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของแหล่งนี้ |
Other Abstract: | Sapphire samples from Baw Mar deposit, Myanmar, were collected for basic analyses and characterization. The study was carried out using basic and advanced gem-testing instruments at The Gem and Jewelry Institute of Thailand. The objective of this study is to develop database for further investigation of sapphires’ origin and their treatments. Sapphires in Baw Mar deposit in Myanmar is located on the Mogok Stone Tract in association with Mogok Metamorphic Belt Fourteen sapphire samples under this study are opaque with obvious internal crack. Their luminescences are weak under long wave and inert under short wave UV lamps. Mineral inclusions are identified as K-feldspar and rutile. In addition, various types of inclusions such as fracture, worm-shape, and fingerprint are often found. Based on advanced analyses, UV-Vis-NIR absorption spectra show absorptions of Fe2+/Ti4+and Fe3+which cause blue color of sapphire. For absorption under Infrared, Baw Mar sapphire usually show absorption of OH group at 3185, 3311, 3623 and 3908 cm−1. Furthermore, trace element analyses contain relatively high contents of Fe2O3. Proportional plots between Cr2O3/Ga2O3and Fe2O3/TiO2show trend of metamorphic origin; in addition, from other deposits plots of Fe, Mg and V have higher iron content, compared to metamorphic sapphires from elsewhere. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา . คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53475 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Muenchok Henvongprasert.pdf | 3.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.