Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/535
Title: การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา
Other Titles: A meta-ethnography research on community participation in educational management
Authors: บุบผา เมฆศรีทองคำ, 2506-
Advisors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suwatana.S@Chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์เนื้อหา
การศึกษา--การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา 2) เพื่อสังเคราะห์ให้ได้สภาพปัจจุบันของความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา รวมทั้งเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างของผลการวิจัยที่ได้ในการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาและสังเคราะห์สรุปให้ได้ความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะงานวิจัยและผลการวิจัย และ 3) เพื่อวิเคราะห์ถึงแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโดยงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบ "การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน" จำนวน 10 เล่ม ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2545 ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโทโดยศึกษาในประเด็นวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมากที่สุด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ คือ ผู้นำชุมชนโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงมากที่สุด โรงเรียนที่ศึกษาส่วนใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและใช้วิธีการสังเกตเป็นวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลมากที่สุด 2. ผลการสังเคราะห์มี 2 ประเด็นที่ปรากฏในงานวิจัยทั้ง 10 เรื่อง ได้แก่ 1) ประเภทบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คือ ผู้ปกครองนักเรียนกับผู้นำชุมชนและนักการเมืองท้องถิ่น และ 2) ลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา คือ ร่วมสละเงิน แรงงาน วัสดุสิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทางโรงเรียนและเป็นวิทยากรในชั้นเรียน/ให้สัมภาษณ์นักเรียน และจากการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างของผลการวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ซึ่งมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มงานวิจัยที่มีสารสนเทศเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุน/ปัจจัยอุปสรรคที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาอย่างหลากหลายและมีครอบคลุมหลายประเด็นและกลุ่มงานวิจัยที่ไม่ค่อยมีสารสนเทศและข้อค้นพบเกี่ยวกับปัจจัยดังกล่าวพบว่ามีคุณลักษณะงานวิจัยที่แตกต่างกัน 7 ประเด็น คือ ประเภทงานวิจัย ระดับการศึกษาสถาบันที่ผลิตงานวิจัย ปีที่ทำงานวิจัยเสร็จ ประเด็นวิจัยที่ศึกษา บริบทของโรงเรียนที่ศึกษาและพื้นที่ที่ศึกษา 3. ผลการวิเคราะห์มี 4 ปัจจัยในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา คือ 1) ปัจจัยโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนให้โอกาสชุมชน ลักษณะของโรงเรียน โรงเรียนที่มีคุณภาพ ความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียน ความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียน ความร่วมมือร่วมพลังและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียน 2) ปัจจัยผู้บริหาร ได้แก่ ภูมิหลัง ผู้บริหารที่มีคุณภาพ คุณลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะการทำงาน ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความศรัทธาต่อผู้บริหารและการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน 3) ปัจจัยครู ได้แก่ ภูมิหลัง คุณลักษณะส่วนบุคคล การเห็นคุณค่าของชุมชน ลักษณะการทำงาน ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความศรัทธาต่อครู ความรู้สึกผูกพันระหว่างชุมชนกับครูและการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน และ 4)ปัจจัยชุมชน ได้แก่ ลักษณะของชุมชน ภูมิหลังของคนในชุมชน ความรู้สึกผูกพันกันในชุมชน ความศรัทธาต่อบุคลากรในโรงเรียน ความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียน การเห็นคุณค่าของการเข้ามามีส่วนร่วมและความร่วมมือร่วมพลัง
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) analyze the characteristics of research on community participation in educational management 2) synthesize the state of knowledge on community participation in educational management and then compare the similarities and differences of research findings on community participation in educational management and to synthesize the relevance between the characteristics of research and the research findings and 3) analyze ways to develop the knowledge on community participation in educational management. The research reports that were used for this synthesis were ten qualitative research from 1997 to 2002. Meta-ethnography research was used in this study. The results of research synthesis were: 1. The majority of research reports were master degree theses studying on local curriculum development. The majority of key informants were the leaders of the community which were selected by purposive sampling. The majority of sample schools were the schools under the responsibility of the Office of the National Primary Education Commission (ONPEC). The most popular data collection method was observation. 2. The results appeared in the 10 research were two points. First, the participating persons in educational management were parents, the leaders of the community and the local politicians. Second, the characteristics of participation in educational management were donating money, labor, materials to school and being resource persons. The comparing of the similarities and differences of the research findings indicated that there were two groups of the reports; 1) the former had the varities and covering information about the supporting factors/obstacle factors effecting the community participation in educational management 2) the latter didn't have those information. There were 7 characteristics which differentiated the research. They were types of research, educational levels, the produced institute, the year of completion, the study issue, the school context and the study area. 3. There were four factors underlying the developing of the knowledge on community participation in educational management; 1) school factors which consisted of the opportunities given to the community by school, school characters, school qualities, the feeling of school concerns, the feeling of school ownership, collaboration and the participation on school management 2) principal factors, such as background, principal qualities, personal traits, job descriptions, human relationship, the community's faith to the principals and the involvement of community in educational management 3) teacher factors which consisted of background, personal traits, the insight of community values, job descriptions, human relationship, the community's faith to the teachers, the feeling of concerns between community and teachers and the involvement of community in educational management 4) community factors which included characters, background, feeling of concerns of community, the community's faith to the school personal, the feeling of school concerns, the recognition of contribution and collaboration.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/535
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.723
ISBN: 9745319597
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.723
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bubpha.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.