Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/537
Title: การดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนที่คัดสรร ในโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน
Other Titles: The implementation of academic tasks in selected schools in the research and development in whole school learning reform project
Authors: เจียมจิตร มะลิรส, 2520-
Advisors: เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Permkiet.K@Chula.ac.th
Subjects: งานวิชาการในโรงเรียน
โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนที่คัดสรรในโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนที่คัดสรรในโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน จำนวน 5 โรง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารหรือผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอในลักษณะของการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเตรียมความพร้อมโดยจัดประชุมชี้แจง และจัดเตรียมเอกสารให้ครูศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำสาระหลักสูตร และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน ทำแผนการสอนและจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำบันทึกหลังสอนและใช้สื่อการสอน นำชุมชนและท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การวัดผล ประเมินและเทียบโอนผลการเรยน โรงเรียนกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานในการวัดผลและประเมินผลการเรียน จัดบริการแบบฟอร์มต่างๆ เกี่ยวกับการเก็บคะแนน/การวัดผล ส่งเสริมให้ครูวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการวัดผลและประเมินผลการเรียน เทียบโอนผลการเรียนโดยศึกษาระเบียบและดำเนินการเทียบโอนตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนกำหนดนโยบายให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ส่งบุคลากรไปอบรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครูเผยแพร่ผลงานวิจัยโดยนำผลงานวิจัยเข้าร่วมจัดนิทรรศการในโอกาสต่างๆ เขียนรายงานการวิจัยเผยแพร่ทางวารสาร สร้างเครือข่ายเพื่อนครูนักวิจัย 5) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โรงเรียนจัดงบประมาณเพื่อจัดซื้อโดยสำรวจความต้องการของครูและบริการวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสื่อ ตลอดจนประเมินสื่อโดยการสอบถามจากครูและตรวจบันทึกการใช้สื่อของครูจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ 6) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ โรงเรียนสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นและชุมชน อำนวยความสะดวกในการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน จัดทำเอกสารรวบรวมข้อมูลแหล่งเรียนรู้ 7) การนิเทศการศึกษาโรงเรียนกำหนดนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร จัดโครงการนิเทศภายใน แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการโดยการสังเกตการสอนในห้องเรียนติดตามผลโดยการสอบถามจากครูและศึกษาจาก แบบสังเกตการสอนที่บันทึกไว้ 8) การแนะแนวการศึกษา โรงเรียนจัดโครงการแนะแนว จัดให้มีครูแนะแนวรับผิดชอบด้านแนะแนว จัดให้ครูประจำชั้นเป็นครูแนะแนว จัดห้องแนะแนวไว้บริการนักเรียน 9) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีการเตรียมความพร้อมโดยแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในและจัดอบรมให้ความรู้ ดำเนินการประกันคุณภาพโดยมีการวางแผน ปฏิบัติตามแผน ตรวจสอบประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน เขียนรายงานผลการประเมินตนเองและเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด 10) การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน โดยจัดทำเอกสารเผยแพร่ข่าวสารทางวิชาการ เป็นวิทยากรให้หน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชน เชิญชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสนับสนุนด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ 11) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น โดยการสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนรู้ด้านวิชาการ 12) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา โรงเรียนประสานงานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏที่อยู่ใกล้เคียงในการเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปัญหาการดำเนินงานวิชาการ พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ตลอดจนระเบียบวิธีวิจัย ผู้นิเทศไม่มีเวลาในการนิเทศ และโรงเรียนไม่ได้เผยแพร่ผลการประเมินตนเองให้ผู้ปกครองและชุมชนได้รับรู้เท่าที่ควร
Other Abstract: The purpose of this research was to study the implementation of academic tasks in selected schools in the research and development in whole school learning reform project. The population consisted of 5 schools, and the respondents were school administrators or administrator assistants, and head of the subject area. The tools used were a structured-interview form and document form. All collected data were analyzed with content analysis and were presented in descriptive form. The research resulted in the following findings: 1) In school curriculum development, teachers were provided with relevant documents and informed in meetings on school curriculum development. Vision, mission, goals and student desired characteristics were formulated. The structure of school curriculum was aligned with that of the curriculum structure of the national basic education. Curriculum content and student development supplementary activities were existed. 2) In learning process development, teachers were supported to do classroom research. Student-centered learning was emplasized in lesson plans and learning activities. Instructional materials were used and post teaching evaluation was recorded. The communities were invited to participate in learning activities. 3) In testing, evaluation and grade transfer, calendar or work schedule for evaluation was dated. Forms for student data collecting and measurement were served to teachers. Authentic assessment and measurement were enhanced in schools. Advanced technology was brought into student learning assessment and measurement. Student grades and test results were transferred in accordance with the standards formulated by the Ministry of Education. 4) In educational quality development research, schools policies promoted teachers to do classroom research. Teachers were provided with knowledge from special lecturers, and trained by external authorities. Teachers presented their research in academic exhibition and wrote their research findings in some academic journals. Research teachers were networked. 5) In development on educational aids and technological innovation, schools allocated some budget for procuring teaching instruments in accordance with teachers' needs. Teachers' utilization of instructional instruments was examined and recorded. 6) Development on learning resources, teachers were encouraged to use learning resources both in schools and in nearby local area. Utilization of learning resources both in and outside schools were facilitated, and information on learning resources was recorded and documented. 7) In educational supervision, internal supervision was clearly stated in the school policies. The committee for observing classroom instruction and classroom record and teacher interviews was nominated. 8) In educational counseling, specialized counseling teachers, classroom teachers as counseling teachers, and counseling room was provided for students in schools. 9) In development of educational quality assurance in schools, internal educational quality assurance committee was nominated and trained. Planning in educational quality assurance system, plan implementation, monitoring, and evaluation were proceeded. Evaluation results were taken into consideration for improvement, and self-evaluation was written and reported to the commanding authority. 10) In community academic enhancement, schools communicated and spread academic news to the community. Some teachers were invited to be guest speakers or lecturers in some organizations in the community. People in the community also were invited to participate in organizing learning activities and to support schools in terms of budget, and teaching instruments. 11) In academic cooperation with other schools, schools were networked to exchange academic information. 12) In development and enhancement education administration to people, families, organizations, institutions, or any other educational institutes in the nearby area, schools coordinated and cooperated with nearby Rajabhat University for promoting teacher professionalism. The problems in academic tasks were as follows: 1) Teachers lacked of knowledge and understanding in school curriculum development, instructional provision focusing on student-centered learning, authentic test and assessment, and research methodology. 2) Internal supervisors didn't have enough time to perform classroom instructional observation. 3) Schools lacked of communication in their school self-evaluation to parents and the community.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/537
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.303
ISBN: 9745321338
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.303
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiemjit.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.