Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54854
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชน
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF COMMUNITY-BASED AGROTOURISM MANAGEMENT MODEL
Authors: ศรัญญา ศรีทอง
Advisors: สมบัติ กาญจนกิจ
นพรัตน์ ศุทธิถกล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Sombat.K@Chula.ac.th,sombatkarn@hotmail.com,sombatkarn@hotmail.com
fedunpr@ku.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บริบทการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชน และพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชน โดยวิเคราะห์บริบทการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชน กับกลุ่มชุมชนพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรต้นแบบ 4 แห่ง พบว่า ชุมชนทุกแห่งมีการจัดการการท่องเที่ยวที่เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน และส่งเสริมด้านการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในการทำกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ แต่สิ่งที่ทำให้การท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนมีความโดดเด่นและแตกต่างกัน คือ ด้านทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความเป็นอัตลักษณ์ทางการเกษตรของแต่ละพื้นที่ จึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวแตกต่างกันซึ่งเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว ผลการวิเคราะห์ดังกล่าวได้นำไปใช้กับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของกลุ่มชุมชนพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยการสัมภาษณ์ความคิดเห็นและความต้องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชน และการเปิดเวทีชาวบ้าน การประชุมการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชน ทำให้เกิด 1) โครงการอบรมมัคคุเทศก์ 2) โครงการพัฒนาฐานการเรียนรู้เชิงเกษตรโดยชุมชน 3) โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว 4) โครงการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และ 5) โครงการพัฒนาที่พักของชุมชน ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนได้รูปแบบ FARM STAY ซึ่งมี 8 องค์ประกอบ คือ 1) ทุนทางสังคม (Fundamentals of Social Capital: F) 2) พื้นที่ (AREA: A) 3) ทรัพยากร (Resources: R) 4) การจัดการ การตลาด และการติดตามผล (Managing, Marketing, and Monitoring: M) 5) ความยั่งยืน (Sustainability: S) 6) การท่องเที่ยว (Tourism: T) 7) กิจกรรมท่องเที่ยว (Activities: A) 8) การมีส่วนร่วม (Your participation and experience: Y) ซึ่งได้มีการตรวจสอบและประเมินผลโดยการจัดท่องเที่ยวนำร่องและการถอดบทเรียน ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า ผลสำเร็จของรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนมาจากการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การใช้ทรัพยากรของชุมชนอย่างมีคุณค่า ตามบริบทของชุมชนและอัตลักษณ์ทางการเกษตรของชุมชน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน จนสามารถจัดการท่องเที่ยวด้วยตนเองได้
Other Abstract: This research was participatory action research (PAR) and aimed at analyzing the contexts of agrotourism by community and developing a community-based agrotourism management model. The author analyzed the contexts of community-based agrotourism management with 4 places of agrotourism attraction and found that all the communities achieved the agrotourism emphasized on participative operation in the communities to ably manage tourist attractions. Also, it has encouraged tourist participation with their learning during the course of visiting. The remarkable features were witnessed from the differences of tourism resources by each of the communities: tourism resources and environment including the uniqueness in each area which make different tourism activities and selling points. The results from the research were used to develop community-based agrotourism management of Bangplakod sub-district, Ongkharak district, Nakhonnayok province. This was done by questionnaires and interviews of participants to develop the community-based agrotourism management model. The community fora, network-building and workshops enhanced the community participation towards achieving the community-based agrotourism management model. The process of development was managed through (1) guide training program, (2) community learning of agricultural fundamentals, (3) tourist route-mapping, (4) tourism promotion program and (5) homestay program. The result has been a FARM STAY MODEL which signifies the following: (1) Fundamentals of Social Capital: F, (2) AREA: A, (3) Resources: R, (4) Managing, Marketing, and Monitoring: M, (5) Sustainability: S, (6) Tourism: T, (7) Activities: A, and (8) Your participation and experience: Y. All of these have been checked and analyzed with pilot trips and lessons learned. The results showed that the achievement of community-based agrotourism management was materialized through the community participation which consumed the resources reasonably in accordance with the communities and uniqueness contexts influencing the community learning towards the community-based agrotourism management.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54854
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.786
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.786
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478612839.pdf24.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.