Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/549
Title: การพัฒารูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริง จากการเรียนอิเล็กทรอนิส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
Other Titles: Development of authentic assessment model in e-learning by using situated learning for enhancing self-efficacy of students in higher education level students
Authors: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, 2520-
Advisors: ใจทิพย์ ณ สงขลา
ศิริชัย กาญจนวาสี
Subjects: การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริงจากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา (2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริงจากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา และ (3) นำเสนอรูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริงจากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้เชียวชาญ จำนวน 5 คน (2) ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 14 คน ผู้เรียนระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 โครงการขยายโอกาสอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 45 คน ผู้สอนประจำรายวิชา 1 คน ติวเตอร์ จำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการวัดประเมินผลตามสภาพจริงฯ ประกอบด้วยรายละเอียด จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบของการวัดประเมินตามสภาพจริง และขั้นตอนการวัดประเมินตามสภาพจริง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 องค์ประกอบของการวัดประเมินตามสภาพจริงฯ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์การวัดประเมิน ตัวชี้วัดการวัดประเมิน เกณฑ์การวัดประเมิน เครื่องมือการวัดประเมิน และบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวัดประเมิน 1.2 ขั้นตอนการวัดประเมินตามสภาพจริง ประกอบด้วยขั้นตอน จำนวน 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1)ขั้นการเตรียมความพร้อมสำหรับการวัดประเมินตามสภาพจริงและการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ (2) ขั้นการออกแบบกิจกรรมการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งเสริมการวัดประเมินตามสภาพจริง (3) ขั้นการปฏิบัติงาน และแลกเปลี่ยนข้อความรู้จากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ (4) ขั้นการวัดประเมินผลการปฏิบัติงานตามสภาพจริงจากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ และ (5) ขั้นการสรุปความรู้จากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงเพื่อเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกรับทราบ 2. ผลจากการใช้รูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริงฯ ที่พัฒนาขึ้น โดยทดลองใช้รูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริง พบว่า ผู้เรียนมีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research were (1) to develop authentic assessment model in e-learning by using situated learning (2) to study the quality of the model and (3) to propose authentic assessment model in e-learning by using situated learning. The samples of this research were separated into three groups. Group 1 consisted of five experts. Group 2 consisted of fourteen experienced teachers in e-learning in higher education level, 45 students in e-learning program of higher education opportunity enhancement of Chulalongkorn University, one teacher, two tutors, and one expert. Group 3 consisted of three experts. The research findings revealed that: 1. The developed authentic assessment model in e-learning by using situated learning comprised of two components were: (1) authentic assessment components, and steps of authentic assessment model. (1) Authentic assessment components were: objectives, indicators, criteria, instruments, and roles of teacher, tutor, student, and expert. (2) A model comprised of 5 steps were: (1) preparating to used authentic assessment and e-learning by using situated learning (2) creating e-learning activities to promote authentic assessment (3) practicing and exchanging knowledge of e-learning by using situated learning (4) assessing the tasks of students by using authentic assessment method, and (5) concluding the e-learning outcomes from authentic activities and presenting to public. 2. The quality of the developed authentic assessment model which obtained from implementing the model were: The score on self-efficacy were significantly higher at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/549
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.706
ISBN: 9745310832
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.706
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
taweewat.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.