Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54911
Title: | การพัฒนาต้นแบบระบบเชื่อมโยงข้อมูลและระบบเลือกใช้แหล่งพลังงานภายในบ้าน |
Other Titles: | Development of a prototype for in-home data link And energy source selection systems |
Authors: | อิทธิ เสาวพรรณ |
Advisors: | วาทิต เบญจพลกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Watit.B@Chula.ac.th,Watit.B@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้นำเสนอการพัฒนาต้นแบบระบบเชื่อมโยงข้อมูลและระบบเลือกใช้แหล่งพลังงานภายในบ้าน โดยมีวัตถุประสงค์ในการติดต่อส่งค่ากำลังงานไฟฟ้าเชื่อมโยงไปยังระบบการจัดการพลังงานภายในบ้าน และสามารถจัดสรรพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้ไฟฟ้าในวันถัดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญที่ออกแบบให้ทำงานร่วมกันคือ ส่วนเชื่อมโยงข้อมูล และควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้า ส่วนนี้ทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจากอุปกรณ์ตรวจวัดพลังงานที่นำมาทดสอบไปยังระบบการจัดการพลังงานภายในบ้าน รวมไปถึงเพื่อเพิ่มความสามารถควบคุม เปิด-ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อรองรับการพัฒนาระบบในอนาคตมาเพิ่มความสามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ส่วนถัดมาคือการอ่านค่าชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบประกอบด้วยค่าพลังงานไฟฟ้า รวมถึงค่าสภาพอากาศ เพื่อเป็นข้อมูลให้ส่วนสุดท้ายซึ่งก็คือ ส่วนประมวลผลที่ใช้ในการวิเคราะห์ พยากรณ์ข้อมูลข้างต้นไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบดูว่าในเวลาใดระบบควรใช้พลังงานจากแหล่งใดที่ให้ประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้ไฟฟ้ามากที่สุด นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังได้เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุนของระบบเลือกใช้แหล่งพลังงานภายในบ้านเมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าในประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้าแบบอัตราก้าวหน้า หรืออัตราตามช่วงเวลาของการใช้งาน เพื่อทดสอบอัตราไฟฟ้าแบบใดจะคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด |
Other Abstract: | This thesis presented development of a prototype for in-home data link and energy source selection systems. The system aims to connect power usage data link to home energy management system and energy source selection suitably in next day. The system consists of three major types works, data link and control in this system connect power consumption data from the development prototype measuring device to the home energy management system for analyzing energy source selection systems, along with increasing capabilities to control electric appliances and support the future development automatic control. In addition this system can also read and collect power usage and weather datasets. The last part is for analyzing a previous datasets for comparing the forecast energy consumption demand on day-ahead with the energy production by solar panel on day-ahead for choosing an energy source that provides the highest efficiency and cost savings. This thesis also includes comparing value of investment of energy source selection systems with types of electric, residential service on normal tariff / progressive rate or residential service on time-of-use Tariff (TOU tariff). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54911 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.941 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.941 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670536521.pdf | 5.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.