Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54929
Title: ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Stress in the workplace and related factors among Registered Nurses at Outpatient Department of a Hospital in Bangkok
Authors: ธัญยธรณ์ ทองแก้ว
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Siriluck.S@Chula.ac.th,siriluckspp@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุผลของการทำวิจัย : มีการศึกษาพบว่าความเครียดจากการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพและเป็นสาเหตุที่ทำให้พยาบาลลาออกเป็นจำนวนมาก การศึกษาถึงระดับความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานด้านต่างๆ อาจใช้เป็นแนวทางป้องกันหรือแก้ไขเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพมากขึ้น วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงระดับความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ทำการศึกษา : แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในปี 2559 จำนวน 77 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป (General Health questionnaire) 3) แบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดด้านการทำงาน สถิติที่ใช้ได้แก่ Chi- square และ Fisher’s Exact Test เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด และใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายระดับความเครียดจากการทำงาน ผลการศึกษา : พบว่าร้อยละ 51.9 ของกลุ่มตัวอย่างมีระดับความเครียดที่เกิดจากปัจจัยด้านการทำงานระดับน้อยหรือไม่รุนแรง ส่วนกลุ่มที่เกิดความเครียดอยู่ในระดับมากหรือค่อนข้างรุนแรง พบร้อยละ 3.9 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียด ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้และภาวะสุขภาพจิต และพบว่าปัจจัยที่อธิบายระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ คือ ภาวะสุขภาพจิต สรุป : ความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการศึกษาครั้งนี้ใกล้เคียงกับการศึกษาอื่นๆ การทราบปัจจัยดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักและใช้เป็นแนวทาง ป้องกัน แก้ไข หรือให้คำปรึกษาเพื่อช่วยลดปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียดซึ่งอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานต่อไป
Other Abstract: Background : Previous studies found that stress affected the working performance including the reasons for resignation of nurses. The study of work stress among nurses is therefore taken into account for evaluating severity and ways to mitigate stress and job resignation as well as providing good work environment and working conditions. Objective : to examine the level of stress in the workplace of registered nurses and related factors Design : A cross-sectional descriptive study Setting : Outpatient Department of a Hospital in Bangkok Materials and Methods : Data were collected from 77 nurses who worked at Outpatient Department of a hospital in Bangkok. Self-report questionnaires included: 1) General Background; 2) General Health Qeustionaire-30; 3) Factors associated with the stress of work. Result : About half of subjects had mild level of work stress. Severe level was found to be 3.9 percent. The factors related with stress were the adequacy of income and mental health. Predictive factor of the stress level of nurses was mental health. Conclusion : Stress and factors related to stress in this study were similar to other studies. Therefore worksite health promotion and stress reduction for nurses should focus on mental health and stress management.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54929
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1199
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1199
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674254230.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.