Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55035
Title: ประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์ไบโอฟล็อกแบบแยกส่วนในการควบคุมคุณภาพน้ำของการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบน้ำหมุนเวียนระบบปิด
Other Titles: Efficiency of Separated Biofloc Reactor in Water Quality Control of Closed Recirculating Aquaculture System
Authors: สุตา คุณวงศ์
Advisors: วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี
สรวิศ เผ่าทองศุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wiboonluk.P@Chula.ac.th,wiboonluk@hotmail.com,wiboonluk@hotmail.com
sorawit@biotec.or.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์ไบโอฟล็อกแบบแยกส่วนในการควบคุมคุณภาพน้ำของการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบน้ำหมุนเวียนระบบปิด โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ช่วง การทดลองช่วงที่ 1 เป็นการศึกษาอัตราการบำบัดแอมโมเนียและอัตราการใช้ออกซิเจนของตะกอนไบโอฟล็อก ผลการทดลองพบว่าอัตราการบำบัดแอมโมเนียตลอด 8 สัปดาห์ ที่ระดับความเข้มข้นแอมโมเนียเริ่มต้นเท่ากับ 1 มก.ไนโตรเจน/ล. มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.14±2.74 มก.ไนโตรเจน/ก.ของแข็งแขวนลอย/วัน และอัตราการใช้ออกซิเจนตลอด 8 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 141.59±18.78 มก.ออกซิเจน/ก.ของแข็งแขวนลอย/วัน การทดลองช่วงที่ 2 เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของหน่วยแยกตะกอนแบบกรวยกรองที่บรรจุในถังปฏิกรณ์ไบโอฟล็อกในการแยกของแข็งแขวนลอยออกจากหน่วยเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลการทดลองพบว่าตะแกรงสแตนเลสขนาดช่องกรอง 43 ไมครอน เกิดการอุดตันของแผ่นกรองทั้งหมดภายในเวลา 1 ชม. ในขณะที่ขนาดช่องกรอง 76, 100, 130 และ 160 ไมครอน มีประสิทธิภาพในการแยกตะกอนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 88.71±2.75, 86.73±2.08, 83.86±1.86 และ 66.01±6.41 ตามลำดับ และพบว่าค่าอัตราการไหล 6,000 ล./วัน ทำให้น้ำในถังปฏิกรณ์ไหลล้นลงสู่ถังพักน้ำโดยไม่ผ่านตะแกรงกรอง ขณะที่ค่าอัตราการไหล 1,500 3,000 และ 4,500 ล./วัน มีประสิทธิภาพในการแยกตะกอนไบโอฟล็อกเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 91.25±1.81, 89.11±2.89 และ 87.66±2.01 ตามลำดับ การทดลองช่วงที่ 3 เป็นการศึกษาประสิทธิภาพในการใช้ตะกอนไบโอฟล็อกในถังปฏิกรณ์แบบแยกส่วนเพื่อบำบัดและควบคุมสารอนินทรีย์ไนโตรเจนในระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเปรียบเทียบกันระหว่างชุดควบคุมที่ไม่มีการแยกตะกอนไบโอฟล็อกออกจากหน่วยเลี้ยงปลานิลแบบน้ำหมุนเวียนระบบปิด กับชุดทดลองที่ติดตั้งถังปฏิกรณ์ไบโอฟล็อกซึ่งภายในบรรจุหน่วยแยกตะกอนแบบกรวยกรองเพื่อแยกตะกอนไบโอฟล็อกออกจากหน่วยเลี้ยงปลานิล ผลการทดลองพบว่าโดยภาพรวมชุดทดลองมีประสิทธิภาพในการควบคุมปริมาณไบโอฟล็อกและสารอนินทรีย์ไนโตรเจนได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม
Other Abstract: This research evaluated the efficiency of separated biofloc reactor on water quality control of the Closed Recirculating Aquaculture System (CRAS). The study consisted of 3 experiments. The first experiment was to evaluate ammonia removal and oxygen consumption rates of the biofloc. The results showed that, during 8 weeks experiment, the average ammonia removal rates at 1 mg.N/l ammonia concentration was 8.14±2.74 mg.N/g.TSS/day and the oxygen consumption rates was 141.59±18.78 mg.O2/g.TSS/day. The second experiment evaluated the efficiency of biofloc separator on suspended solids removal from fish tank. The results showed that 43 micron pore size of stainless screen could not be used as it was clogged within 1 hour of operation. On the other hand, 76, 100, 130 and 160 micron pore size had the average separation efficiency of 88.71±2.75, 86.73±2.08, 83.86±1.86 and 66.01±6.41 percent, respectively. Later, water recirculation flow rates were also estimated. It was found that 6,000 L./day flow rate was too high and caused the water overflow while other flow rates e.g. 1,500 3,000 and 4,500 L./day had the average separation efficiency of 91.25±1.81, 89.11±2.89 and 87.66±2.01 percent, respectively. The Third experiment was the comparison between separated biofloc reactor (Treatment) and non-separated biofloc reactor (Control) for inorganic nitrogen waste control in the CRAS for Tilapia. The results illustrated that the treatment with separated biofloc reactor had acceptable biofloc separation and better inorganic nitrogen waste treatment efficiency than the control.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55035
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1023
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1023
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770475021.pdf8.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.