Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55070
Title: | การศึกษาความยาวเทโลเมียร์ จำนวนไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอ และภาวะเครียดออกซิเดชัน ในโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ |
Other Titles: | Relative telomere length, mitochondrial DNA copy number, and oxidative stress in lumbar spinal stenosis |
Authors: | สินสุดา เดชสุภา |
Advisors: | สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sittisak.H@Chula.ac.th,Sittisak.H@chula.ac.th Wicharn.Y@Chula.ac.th Worawat.Li@chula.ac.th,Worawat.L@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบเป็นโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลังในผู้สูงอายุ ส่วนมากพบในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากอายุและความเสื่อม ส่งผลให้อัตราส่วนของอีลาสตินและคอลลาเจนในชิ้นเอ็น ligamentum flavum (LF) ลดลง ชิ้นเอ็น LF เกิดการแข็งตัวและหนาตัว นอกจากนี้ความชราของเซลล์อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพของโรค ซึ่งการหดสั้นของเทโลเมียร์ การทำงานที่ผิดปกติของไมโทคอนเดรีย และภาวะเครียดออกซิเดชัน ถือเป็นวิถีระดับโมเลกุลที่มีความเกี่ยวข้องกับความชราของเซลล์ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างเทโลเมียร์ จำนวน mitochondrial DNA (mtDNA) copy nummber และภาวะเครียดออกซิเดชันต่อชิ้นเอ็น LF ที่หนาตัวยังไม่ทราบแน่ชัด ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ relative telomere length จำนวน mtDNA copy number และภาวะเครียดออกซิเดชัน ในชิ้นเอ็นและเซลล์ของ LF ระดับที่หนาตัวและไม่หนาตัว ในผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ จำนวน 48 ราย ด้วยเทคนิค real-time polymerase chain reation (real-time PCR) และเทคนิค enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) และศึกษา cell senescence ของเซลล์จากชิ้นเอ็น LF ด้วยเทคนิค senescence-associated beta-galactosidase staining (SA- beta-gal) จำนวน 30 ราย จากผลการศึกษาค่า relative telomere length ใน LF ระดับที่หนาตัวมีค่าสั้นกว่าใน LF ระดับที่ไม่หนาตัว (P = 0.04) และระดับของ 8-OHdG ใน LF ระดับที่หนาตัวมีค่าสูงกว่าใน LF ระดับที่ไม่หนาตัว (P = 0.04) อย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความแตกต่างของจำนวน mtDNA copy number ระหว่าง LF ระดับที่หนาตัวและไม่หนาตัว เมื่อแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ตามอายุและเพศ ค่า relative telomere length ใน LF ระดับที่หนาตัวของเพศชายต่ำกว่าในเพศหญิง (P = 0.04) และใน LF ระดับที่หนาตัวของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 63 ปี มีค่า 8-OHdG สูงกว่า LF ระดับที่ไม่หนาตัว (P = 0.04) อีกทั้งไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง relative telomere length จำนวน mtDNA copy number และระดับ 8-OHdG กับอายุของผู้ป่วย ทั้งนี้ผลการศึกษา relative telomere length และจำนวน mtDNA copy number ของเซลล์ชิ้นเอ็น LF ระดับที่หนาตัว มีค่า relative telomere length และจำนวน mtDNA copy number ต่ำกว่า LF ระดับที่ไม่หนาตัวในช่วงต้นของการเลี้ยงเซลล์ และลดลงตามจำนวนรอบในแต่ละช่วงของการเลี้ยงเซลล์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยร้อยละของเซลล์ที่ย้อมติดสี SA- beta-gal ของชิ้นเอ็น LF ระดับที่หนาตัว มีการย้อมติดสี SA- beta-gal มากกว่าเซลล์จากชิ้นเอ็น LF ระดับที่ไม่หนาตัวในรายเดียวกัน สรุปได้ว่า relative telomere length กับจำนวน mtDNA copy number ลดลง ทั้งระดับ 8-OHdG และจำนวน cell senescence เพิ่มขึ้น อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับชิ้นเอ็นและเซลล์ของ LF ระดับที่หนาตัวในโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อพยาธิสภาพกำเนิดของโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ |
Other Abstract: | Lumbar spinal stenosis (LSS) is the common cause of low back pain in the older adult spine. This condition is the most frequent indication for spinal in patients older than 60 years of age. With age and degeneration, the ratio of elastic and collagen was decreased and stiffness and fibrosis was increased in LF. In addition, the combination and cellular aging pathway sometimes results in LSS. Telomere shortening, mitochondrial abnormalities, and oxidative stress are the molecular pathways indicated in cellular aging. However, the association between the telomere length, mitochondria DNA (mtDNA) copy number, and oxidative stress in LF is unknown. The aim of this cross-sectional study were to compare the relative telomere length and mtDNA copy number between non-pathologic and pathologic LF from lumbar spinal stenosis patients by real-time polymerase chain (real-time PCR) and enzyme-linked immunosorbent assay and investigate cell senescence by senescence-associated beta-galactosidase staining (SA- beta-gal). The pathologic LF tissue had significantly shorter relative telomere length than non-pathologic LF tissue (P = 0.04). Relative telomere length in pathologic LF tissue of male subjects had significantly shorter than female subjects (P = 0.04). The 8-OHdG concentration in tissue was significantly higher in pathologic LF tissue compared to non-pathologic tissue (P = 0.04). A significantly increased 8-OHdG concentration could be found in pathologic LF tissue within less than 63 years as compared to non-pathologic LF tissue (P = 0.04). There was no significant difference in mtDNA copy number between two groups. However, no association between relative telomere length, mtDNA copy number, 8-OHdG, and age was observed in non-pathologic and pathologic LF tissue. With advancing culture passages, there was a steady decline in the relative telomere length and mtDNA copy number of non-pathologic and pathologic LF cells. Moreover, all the senescent LF cells were occurred at the earlier passages in pathologic LF compared with non-pathologic LF cells in LSS patients. In conclusion, shorter relative telomere length, lower mtDNA copy number, and higher 8-OHdG concentration and senescent cell may associate with hypertrophic LF. These finding may provide a better understanding of pathogenesis of LSS. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55070 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.764 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.764 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774099430.pdf | 3.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.