Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55118
Title: บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของความยืดหยุ่นทางจิตใจ ในความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในการเข้าสังคมกับสุขภาวะทางจิตในนิสิตนักศึกษา
Other Titles: THE MEDIATING ROLE OF PSYCHOLOGICAL FLEXIBILITY IN THE RELATIONSHIPBETWEEN SOCIAL ANXIETY AND PSYCHOLOGICAL WELL-BEING IN UNDERGRADUATES
Authors: กุลปริยา ศิริพานิช
Advisors: กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Kullaya.D@Chula.ac.th,kullaya@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของความยืดหยุ่นทางจิตใจในความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในการเข้าสังคมกับสุขภาวะทางจิตในนิสิตนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาจำนวนทั้งหมด 273 คน ซึ่งแบ่งเป็นเพศชาย 133 คน และเพศหญิง 140 คน โดยกลุ่มตัวอย่างตอบมาตรวัดความกลัวการประเมินในทางลบ มาตรวัดการยอมรับและการกระทำในบริบทของความวิตกกังวลในการเข้าสังคม และมาตรวัดสุขภาวะทางจิตตามแนวคิดของความสุขจากภายในตน ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ความวิตกกังวลในการเข้าสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับทั้งสุขภาวะทางจิต (r = -.11, p < .05) และความยืดหยุ่นทางจิตใจ (r = -.41, p < .01) โดยความยืดหยุ่นทางจิตใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางจิต (r = .30, p < .01) ผลการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านพบว่า ความยืดหยุ่นทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในการเข้าสังคมกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบผลการส่งผ่านทั้งทางตรงซึ่งส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในการเข้าสังคมและสุขภาวะทางจิตไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อมีความยืดหยุ่นทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน (p = 0.85)
Other Abstract: This study aims to investigate the mediating role of psychological flexibility in the relationship between social anxiety and psychological well-being in undergraduate students. Participants were 273 students (133 males and 143 females). All participants completed questionnaires that included the Brief Fear of Negative Evaluation (BFNE), the Social Anxiety - Acceptance and Action Questionnaire (SA-AAQ) and Questionnaire for Eudaimonic Well-Being (QEWB). Preliminary analyses indicated that social anxiety was negatively correlated with both psychological well-being (r = -.11, p < .05) and psychological flexibility (r = -.41, p < .01). In contrast, psychological flexibility was positively correlated with psychological well-being (r = .30, p < .01). Mediational analyses for the hypothesis testing revealed that social anxiety was no longer associated with psychological well-being when being mediated by psychological flexibility (p = 0.85).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55118
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.290
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.290
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777629638.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.