Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55119
Title: | ผลของการฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวตามการใช้งานร่วมกับยางยืดที่มีต่อความมั่นคงของแกนกลางลำตัวและเวลาในการว่ายน้ำท่าครอว์ล ระยะ 25 เมตรของนักว่ายน้ำเยาวชนชาย |
Other Titles: | THE EFFECTS OF STABILITY FUNCTIONAL TRAINING COMBINED WITH ELASTIC BAND ON CORE STABILITY AND TIME OF 25-M CRAWL SWIMMING IN YOUNG MALE SWIMMERS |
Authors: | ชรัณดา แก้วเข้ม |
Advisors: | ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Chaninchai.I@Chula.ac.th,c.intiraporn@yahoo.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวตามการใช้งานร่วมกับยางยืดที่มีต่อระดับความมั่นคงของแกนกลางลำตัวและเวลาในการว่ายน้ำท่าครอว์ล ระยะ 25 เมตรของนักว่ายน้ำเยาวชนชาย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเพศชายที่มีอายุระหว่าง 12 - 15 ปี จำนวน 18 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวตามการใช้งานร่วมกับยางยืด และกลุ่มควบคุมฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวตามการใช้งาน สัปดาห์ละ 3 วัน ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งก่อนและหลังการทดลองทั้งสองกลุ่มเข้ารับการทดสอบระดับความมั่นคงของแกนกลางลำตัว โดยใช้แบบประเมินความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกรานร่วมกับเครื่องป้อนกลับแรงดัน และเวลาในการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะ 25 เมตร ซึ่งนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หาความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองของเวลาในการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะ 25 เมตรโดยใช้สถิติ paired t-test และความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้การสถิติ independent t-test และหาความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองของระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกรานโดยใช้สถิติ The Wilcoxon Matched Pairs Signed ranks test และความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test ผลการวิจัย หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ ระดับความมั่นคงของแกนกลางลำตัว และเวลาในการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะ 25 เมตร ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การพัฒนาศักยภาพในนักกีฬาว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะ 25 เมตรที่มุ่งเน้นพัฒนาพลังอดทน (Power endurance) ควรฝึกแยกระหว่างความมั่นคงแกนกลางลำตัวกับความแข็งแรงของแขน |
Other Abstract: | Purpose: To study the effects of core stability functional training combined with elastic band on level of core stability and time of 25-M crawl swimming in young male swimmers. Methods: Eighteen swimmers from Bangkok Christian College, aged between 12-15 years old volunteered for this study. They were randomly divided into two groups. The experimental group trained a core stability combined with elastic band while the control group trained a core stability only. Each group was trained 3 days a week for 6 weeks. Data was collected before and after the experiment. The variables included 1) level of core stability as measured by lumbopelvic stability test combined with pressure biofeedback units and 2.) 25-M crawl swimming performance. Demographic data were expresses as means and standard deviation. Analysis and Comparison of mean difference between two groups was performed by independent t-test for time of 25-M crawl swimming and mann-whitney u test for level of core stability at the .05 level of significance. Results: After 6 week of training, these was no difference between two groups in the level of core stability and 25-M crawl swimming performance. Conclusion: The development of the potential for 25-M crawl swimming in young male swimmers focused on power endurance training should include separation training between core stability and arm strength. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55119 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.795 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.795 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5778415839.pdf | 3.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.