Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5511
Title: คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอประเทศไทย ปี 2545
Other Titles: Quality of work life of health personnel under provinical and district public health offices in Thailand, 2002
Authors: สกล ลิจุติภูมิ
Advisors: พรชัย สิทธิศรันย์กุล
วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th
Vitool.L@Chula.ac.th
Subjects: คุณภาพชีวิตการทำงาน
ความพอใจในการทำงาน
บุคลากรสาธารณสุข
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ประเทศไทย ปี 2545 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ศึกษาในช่วง กันยายน - ธันวาคม 2545 โดยใช้แบบสอบถามส่งทางไปรษณีย์ จำนวน 1,600 ฉบับ ไปยังบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติราชการในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย นานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ได้รับแบบสอบถามตอบกลับทั้งหมด 1,249 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 78.1 ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ประเทศไทย ปี 2545 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.1 อายุเฉลี่ย 36.4 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 63.2 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 57.3 ตำแหน่งปัจจุบัน คือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ร้อยละ 42.3 ประสบการณ์การทำงานด้านสาธารณสุข เฉลี่ย 14.5 ปี มีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพึงพอใจในงาน ลักษณะงาน และความเกี่ยวข้องผูกพันกับงาน มีค่าเฉลี่ย 3.63, 3.55 และ 3.80 ตามลำดับ การรับรู้ความสามารถในการทำงาน การรับรู้ต่อระบบบริหาร ค่านิยมต่อการทำงาน ค่านิยมต่อราชการ และค่านิยมต่อการบริการ มีค่าเฉลี่ย 3.69, 3.71, 3.86, 3.98 และ 4.14 ตามลำดับ และพบว่า สถานภาพสมรส ตำแหน่ง ระดับซี ตำแหน่งงาน ความเพียงพอของรายได้ และการมีบ้านพักเป็นของตนเอง ที่แตกต่างกัน สัมพันธ์กับการมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประสบการณ์การทำงานด้านสาธารณสุข เงินเดือน การรับรู้ความสามารถในการทำงาน การรับรู้ต่อระบบบริหาร ค่านิยมต่อการทำงาน ค่านิยมต่อราชการ และค่านิยมต่อการบริการ มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรค่านิยมต่อการทำงาน การรับรู้ต่อระบบบริหาร ค่านิยมต่อราชการ เงินเดือน การรับรู้ความสามารถในการทำงาน และค่านิยมต่อการบริการ สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ได้ ร้อยละ 39.1 (R2 = 0.391) สิ่งที่ควรดำเนินการได้แก่เพิ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย ปรับปรุงเงินเดือนและค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน เพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ กำหนดมาตรฐานการให้บริการระดับสถานีอนามัย มีสภาวิชาชีพและมีใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขและมีการขยายกรอบระดับซีให้สูงขึ้น ผู้วิจัยเห็นว่า ควรดำเนินการ เพิ่มเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และขยายกรอบซีให้แก่บุคลากรสาธารณสุข รวมทั้งมีการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และพัฒนาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
Other Abstract: The purposes of this study were to assess quality of work life and related factors among health personnel under provincial and district health offices in Thailand in 2002. The study was a cross-sectional descriptive study conducted during September and December 2002 by mailing questionnaires to 1,600 health personnel. The response rate was 78.1 percent (1,249 out of 1,600). The study revealed that 59.1 percent of health personnel were female, their average age was 36.4 years, 63.2 percent were married, 57.3 percent had a bachelor degree, 42.3 percent were community health worker, and their average experience was 14.5 years. Their average quality of work life was 3.63. Regarding each component, their average job satisfaction, job characteristic, job involvement were 3.63, 3.55, and 3.80, respectively. Their average work capability perception, management system perception, value toward work, value toward bureaucracy system, and value toward services were 3.69, 3.71, 3.86, 3.98, and 4.14, respectively. Marital status, position, position classification (PC) rank, job position, adequacy of income, and ownership of a house were significantly related to quality of work life. Experience in health services, salaries, work capability perception, management system perception, value toward work, value toward bureaucracy system, and value toward services were significantly correlated with quality of work life. Value toward work, management system perception, salaries, work capability perception, and value toward services altogether could explain 39.1 percent of quality of work life of health personnel (R2=0.391). The results suggest that health personnel at health centers should be increased in number, salary and compensation should be sufficiently supported the cost of living, and working off-official hours should be saved. In addition, service standards should be set for health center, professional council should be set for community health workers and their ceiling of PC rank should be raised. Researcher suggests that salary, compensation, welfare, ceiling of PC rank, and potential development of health personnel should be raised. Teamwork should be supported. Organization should be developed to become a learning organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5511
ISBN: 9741726872
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SkolLiji.pdf935.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.