Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55121
Title: ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งในฐานะ “ประเพณีสร้างสรรค์” ในสังคมไทยร่วมสมัย
Other Titles: THE PHANOM RUNG MOUNTAIN FESTIVAL AS A “CREATIVE TRADITION” IN CONTEMPORARY THAI SOCIETY
Authors: กรีธากร สังขกูล
Advisors: ปรมินท์ จารุวร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Poramin.J@Chula.ac.th,poramin_jaruworn@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิธีคิดในการสร้างประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ในฐานะที่เป็น “ประเพณีสร้างสรรค์” และวิเคราะห์พลวัตและบทบาทของประเพณีดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วงปี พ.ศ. 2558 – 2559 ผลการศึกษาพบว่าประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 และสืบทอดมาจนปัจจุบัน เพื่อเป็นประเพณีประจำจังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมการท่องเที่ยวประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ พิธีบวงสรวงเทพเจ้าประจำปราสาทพนมรุ้ง ขบวนแห่การจำลองขบวนเสด็จพระนางภูปตินทรลักษมีเทวีและเทพพาหนะทั้งสิบ และการแสดงประกอบแสงเสียงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของปราสาทพนมรุ้ง ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งมีวิธีคิดในการสร้างประเพณีโดยสร้างประเพณีใหม่ซ้อนลงไปในประเพณีเลิงพนมของชาวบ้าน กิจกรรมการท่องเที่ยวทั้ง 3 กิจกรรมสะท้อนให้เห็นวิธีคิดในการสร้างโดยนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี รวมทั้งศิลปะบนตัวปราสาทมาสร้างเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ การนำลวดลายภาพสลักนูนต่ำบัวแปดกลีบมาสร้างเป็นพิธีสักการบูชาบริเวณบันไดนาคราชตรงทางขึ้นปราสาท การจำลองเครื่องประดับตกแต่งขบวนแห่และการแสดงประกอบแสงเสียงจากภาพจำหลักบนตัวปราสาท ปัจจุบันยังมีการประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปกับปรากฏการณ์แสงอาทิตย์ส่องลอดช่องประตูปราสาทพนมรุ้งทั้ง 15 ประตู และมีการใช้ประเพณีนี้ในแง่การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างชาวเขมรถิ่นไทยในจังหวัดบุรีรัมย์กับชาวอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชาอีกด้วย พลวัตของประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 พลวัตจากประเพณีราษฎร์สู่ประเพณีรัฐในปี 2534 และช่วงที่ 2 พลวัตของประเพณีในช่วงที่จัดการโดยจังหวัดบุรีรัมย์ พลวัตของทั้ง 2 ช่วงเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงผู้จัดเป็นสำคัญ ทั้งนี้ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งมีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการจัดงาน และมีบทบาทในด้านสังคม กล่าวคือ ได้สร้างเรื่องเล่าเกี่ยวกับปราสาทพนมรุ้งโดยอ้างว่ามาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และได้นำเสนอ อัตลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งอัตลักษณ์ของกลุ่มเขมรถิ่นไทย นอกจากนี้ยังมีบทบาทในด้านการสร้างความศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย งานวิจัยนี้จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เข้าใจการสร้างสรรค์ประเพณีใหม่ ๆ ในสังคมไทยร่วมสมัย และเป็นแนวทางในการศึกษาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในเชิงคติชนวิทยา และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Other Abstract: This research aims to study the ways of thinking in creating Phanom Rung Mountain Festival in Buriram province as a “creative tradition” and to analyze the dynamics and the role of the tradition. The data is collected from fieldwork during 2015-2016. The result shows that the Phanom Rung Mountain Festival was created in 1991 and transmitted to the present as provincial tradition. This festival consists of 3 main activities: the annual worship to divinity in the Phanom Rung historical site, the procession of Pranang Bhupatintaraluksamee and 10 vehicles of gods (guardians of the directions), and the light and sound performance telling the historical story of Phanom Rung. The ways of creating Phanom Rung tradition are based on the replacement of the preceding Loeng Phanom tradition with this new festival. Through the main 3 activities, this tradition is created by using historical and archaeological evidence. The artistic elements from the Phanom Rung castle are used variously, such as the decoration of lotus flower craving in the Naga bridge worship ceremony, and the accessories, reproduced from the bas relief, in the procession and the light and sound show in the castle. Presently, this tradition is promoted along with another popular touristic activity–i.e., watching sun rise through 15 doorways of the Phamnom Rung castle. It is also used to associate the Northern Khmer in Buriram province and Oddar Meanchey province in Cambodia. The dynamics of this tradition can be separated into 2 stages. The first stage is the transformation from folk-oriented tradition to the official-oriented in 1991. The second stage is the creating of the tradition by the Buriram provincial government. Both stages of dynamics are caused by the changes in provincial management personnel. The Phanom Rung Mountain Festival plays an important function in the local economy due to the objectives of management. It also has a social function by creating the historical story of Phanom Rung through historical and archeological evidence, and representing the identity of Buriram province and the local Khmer people. Besides these roles, it also highlights the sacredness of the place. This research thus shines a new light into the creation of a new tradition in contemporary Thai society. It also provides a new approach to study of cultural phenomenon for the study of folklore and other related disciplines.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55121
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.694
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.694
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5780102522.pdf8.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.