Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55122
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรมินท์ จารุวร-
dc.contributor.authorชวพันธุ์ เพชรไกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:26:44Z-
dc.date.available2017-10-30T04:26:44Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55122-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของบทโขนสดเรื่องรามเกียรติ์ของคณะประยุทธ ดาวใต้ และเพื่อวิเคราะห์การสืบทอดและการสร้างสรรค์เรื่องรามเกียรติ์ในการแสดงโขนสดของคณะดังกล่าว โดยใช้แนวคิด Oral Formulaic Composition ของอัลเบิร์ต บี. ลอร์ด (Albert B. Lord) และแนวคิดการแพร่กระจายของนิทานเป็นแนวทางหลักในการศึกษา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้วิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยติดตามคณะโขนสดดังกล่าวไปแสดงยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลางและภาคตะวันออกในช่วงปี 2558 - 2559 ผลการศึกษาพบว่า บทโขนสดเรื่องรามเกียรติ์ของคณะประยุทธ ดาวใต้ มีลักษณะเป็นร้อยกรองมุขปาฐะใช้กลอนหัวเดียวเป็นหลักในการร้อง มีการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็วโดยใช้การพากย์และการเจรจา มีเนื้อหาหลากหลายสามารถปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นได้ภายใต้กรอบโครงเรื่องของเรื่องรามเกียรติ์ และเน้นการนำเสนอมุกตลกโปกฮาเพื่อให้เหมาะแก่รสนิยมของชาวบ้าน ศิลปินคณะประยุทธ ดาวใต้ได้รับการสืบทอดองค์ความรู้เรื่องรามเกียรติ์และศิลปะการแสดงโขนสดจากครูบุญเหลือ แซ่คู ซึ่งเป็นครูอาวุโสและเจ้าของคณะ ผู้มีบทบาทสำคัญในการฝึกสอนรำ สอนเรื่อง ไปพร้อมกับการฝึกให้จำกลอนครู ฝึกให้รู้กลอนตลาด และฝึกให้สามารถแต่งกลอนได้ เมื่อศิลปินมีความชำนาญก็จะด้นกลอนสดหน้าเวทีได้โดยใช้ “สำนวนสูตรสำเร็จ” จาก “กลอนครู” เป็นฐานในการด้นกลอน กระบวนการสั่งสมประสบการณ์ดังกล่าวทำให้ศิลปินมี “คลังข้อมูล” ในการด้นจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ครูบุญเหลือ แซ่คู ได้สร้างสรรค์เรื่องรามเกียรติ์เพิ่มเติมจากสำนวนที่รับรู้ในสังคมไทย จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ 1) ดัดแปลงรายละเอียดบางส่วนจากโครงเรื่องรามเกียรติ์เดิม และ 2) ปรุงบทเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นใหม่ เรียกว่า “รามเกิน” ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้สร้างสรรค์องค์ประกอบต่าง ๆ ในการแสดงให้สมสมัย เช่น สร้างตัวละครใหม่ แทรกมุกตลก ประยุกต์เพลงหน้าพาทย์ร่วมสมัย สร้างฉากและพัฒนาระบบแสงเสียงให้มีลักษณะแฟนตาซี สร้างสรรค์เครื่องแต่งกายให้งดงาม สร้างหัวโขนและอุปกรณ์ประกอบการแสดงให้เสริมรับกับท้องเรื่อง รวมทั้งนำเสนอความสามารถของศิลปินเด็กและกายกรรมคนเล่นไฟ การสร้างสรรค์ดังกล่าวทำให้โขนสดคณะประยุทธ ดาวใต้ ยังคงอยู่ได้ในสังคมไทยร่วมสมัยเพราะมีปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงอยู่หลายปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านทุนบุคคลของคณะที่มีความรู้ความสามารถสูง 2) ปัจจัยการสืบทอดของคนในครอบครัวที่ยึดอาชีพโขนสดเป็นอาชีพหลัก 3) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการอย่างครบวงจรเพื่อสร้างมั่นคงให้แก่คณะ 4) ปัจจัยเรื่องการปรับเรื่องให้ครอบคลุมเรื่องรามเกียรติ์และเหมาะสมกับโอกาสในการแสดง 5) ปัจจัยเรื่องการตลาดและการประชาสัมพันธ์คณะที่ดี 6) ปัจจัยเรื่องการสร้างชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในสังคม งานวิจัยนี้จึงช่วยชี้ให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของบทแสดงโขนสดในฐานะที่เป็น “วรรณกรรมมุขปาฐะ” อันเป็นภูมิปัญญาสำคัญของครูศิลปินอาวุโสที่มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญหายไปพร้อมกับตัวศิลปิน ทั้งยังสะท้อนวิธีคิดในการปรับประยุกต์การแสดงโขนสดให้ “ยังคงเสน่ห์” และ “ยังคงดำรงอยู่” ได้ในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the characteristics of the Ramakien story in the Khon Sot plays of Prayut Daotai troupe and to analyze the transmission and creation of the Ramakien story in performance, by using Albert B. Lord’s oral formulaic composition concept and the dissemination of tales concept. The field data is collected through participatory observation and in-depth interviewing in the course of the troupe’s performances in central and eastern Thailand during 2015-2016. The result shows that the Ramakien story in the Khon Sot plays of Prayut Daotai troupe is composed and sung in the form of oral poetry. Its characteristics are the using of Klorn Hua Diew and the using of sung narrations together with dialogues between characters for fast-paced narrating. The repertoire is wide-ranging and can be flexibly modified within the main plot of the Ramakien story. The troupe also focuses on making comic jokes to suit the taste of their audience. The artists in the Prayut Daotai troupe have inherited the knowledge of the Ramakien story and khon sot art from Khru Bunluea Saekhu, a senior teacher and the impresario of the group. Khru Bunluea has played an important role in teaching stories and dance movements to troupe members as well as training them to memorize time-honored verses (klon khru) and stock verses (klon talat) and compose their own verses. Skilled actors and actresses will be able to improvise onstage using "formulaic verses" from klon khru as their basis. The process of experience accumulation enables them to constitute their own repertoire for their improvisation to the point of developing their own distinct styles. Khru Bunluea Saekhu has created the Ramakien story in two different ways: 1) adapting parts of the original Ramakien story and 2) creating a new version of the Ramayana called Rammakoen (superfluous Ramakien). Furthermore, he also modernizes the performance by adding new characters, inserting comic jokes, applying contemporary songs, creating spectacular settings of sound and lighting system, designing elegant costumes, creating masks and accessories befitting the story, as well as incorporating acrobatics and talent shows of young artists in the performance. The said creation of the khon sot performance by the Prayut Daotai troupe accounts for its endurance in contemporary Thai society as it is contributed by several conditions, including 1) the personal capitals of highly competent troupe members 2) the transmission amongst family members whose main occupation is Khon Sot performer 3) its inclusive management that helps sustaining the troupe 4) the adaptation that covers the main plot of the Ramakien story and suits for several occasions 5) the good marketing and advertising 6) its reputation in the society. This research shows the values and significance of khon sot plays as "oral literature" and a senior artist’s wisdom that risks being lost with him. It also reflects a way of thinking in the adaptation of khon sot to remain “existent” and “attractive” in the context of contemporary Thai society.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.695-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleโขนสดคณะประยุทธ ดาวใต้ : การสืบทอดและการสร้างสรรค์เรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทยร่วมสมัย-
dc.title.alternativeKHON SOT PERFORMANCE OF PRAYUT DAOTAI TROUPE : TRANSMISSION AND CREATION OF RAMMAKIAN IN CONTEMPORARY THAI SOCIETY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภาษาไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPoramin.J@Chula.ac.th,poramin_jaruworn@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.695-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5780115722.pdf13.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.