Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55126
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ : ศึกษากรณีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพัทลุง |
Other Titles: | Factors Influencing Learning Organization Perception : A Case Study of SecondarySchools in Phatthalung Province |
Authors: | ปัฐมพงศ์ รัตนโกศัย |
Advisors: | ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirapatsorn.W@Chula.ac.th,Sirapatsorn@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในเรื่องการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพัทลุง รวมถึงเพื่อศึกษาถึงปัจจัยการบริหารองค์การและปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 297 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 8 คน เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนทางเดียว และพยากรณ์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพัทลุงมีการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ภาพรวมในระดับมาก สำหรับปัจจัยการบริหารองค์การในด้านกลยุทธ์องค์การ ด้านภาวะผู้นำ และด้านการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอิทธิพลต่อการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพัทลุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ และด้านวัฒนธรรมองค์การและบรรยากาศองค์การ ไม่มีอิทธิพลต่อการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกในด้านการเมือง กฎหมาย และนโยบายสาธารณะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี และด้านการต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านเศรษฐกิจไม่มีมีอิทธิพลต่อการรับรู้ สำหรับข้อค้นพบในผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ความเห็นของผู้ให้ข้อมูลสำคัญทุกรายเห็นสอดคล้องกันทั้งปัจจัยการบริหารองค์การและปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกทุกด้านมีอิทธิพลต่อการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จึงพบความแตกต่างระหว่างผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพในบางตัวแปร |
Other Abstract: | This study has two purposes: to study levels of learning organization perception of secondary schools in Phatthalung province, and to study the factors influencing learning organization perception. Various methods were integrated for analyzing, namely questionnaires were used for quantitative research and open ended questions and structured interview were applied for qualitative research. A sample of 297 participants is school administrators and teachers and key informant 8 people. The data were analyzed by employing statistical analyses: frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, analysis of variance, and multiple regression analysis. The study found that the level of perception in learning of organization school administrators and teachers from secondary schools in Phatthalung province was at high levels. In addition, the organization management factors, including strategy organization, leadership, and information technology management affected significantly the learning organization perception (p < 0.05). However, organizational structure, organizational culture and organizational climate did not affect significantly the learning organization perception. In terms of external management factors, the findings showed that politic law and public policy, society and culture, technology and foreign affairs affected significantly the learning organization perception (p < 0.05). However, economics did not affect significantly the learning organization perception. The qualitative findings showed that the opinion of all key informants was consistent that both organization management factors and external management factors influenced perceptions of learning organization. Thus, quantitative findings and qualitative findings was found the difference in some factors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55126 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.741 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.741 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5780635724.pdf | 6.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.