Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55141
Title: ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทที่มีต่อมโนทัศน์ฟิสิกส์และการนำความรู้ไปใช้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: EFFECTS OF THE DUAL-SITUATED LEARNING MODEL ON PHYSICS CONCEPT AND KNOWLEDGE APPLYING OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: พิมพ์หทัย พึ่งตาแสง
Advisors: พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์
วรากร เฮ้งปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pornthep.Ch@chula.ac.th,Pornthep.Ch@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษามโนทัศน์ฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาท (2) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ฟิสิกส์ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทกับกลุ่มที่เรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบทั่วไป (3) เพื่อศึกษาความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาท และ (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทกับกลุ่มที่เรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 42 ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทจำนวนนักเรียน 40 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบทั่วไปจำนวนนักเรียน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดมโนทัศน์ฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.98 และแบบวัดการนำความรู้ไปใช้ เรื่อง คลื่นกล ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.97 ซึ่งผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล คิดเป็นร้อยละ 81.29 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 (2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทมีคะแนนเฉลี่ยการนำความรู้ไปใช้ เรื่อง คลื่นกล คิดเป็นร้อยละ 70.00 เท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 และ (4) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทมีคะแนนเฉลี่ยการนำความรู้ไปใช้สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were to (1) study the physics concept of upper secondary school students who learned through the dual-situated learning model, (2) compare physics concept of the students who learned through dual-situated learning model and those who learned through the conventional teaching method, (3) study the knowledge applying of upper secondary school students who learned through the dual-situated learning model, and (4) compare the knowledge applying of the students who learned through dual-situated learning model and those who learned through the conventional teaching method. The sample were two classes in mathematics-science program of eleventh grade students of a large-sized school under the Secondary Educational Service Area Office 42, during the first semester of the academic year 2016. the experimental group has 40 students and control group has 50 students. The research instruments were the physics concept in mechanical wave unit making test with the level of reliability at 0.98, the knowledge applying in mechanical wave unit making test with the level of reliability at 0.97. The collected data was analyzed by arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: (1) the sample had the score of physics concept at 81.29 percent which upper than the criterion score set at 70 percent (2) the sample had a mean score of physics concept higher than the control at .05 level of significance (3) the sample had the score of knowledge applying at 70.00 percent which equal the criterion score set at 70 percent and (4) the sample had a mean score of knowledge applying higher than the control at .05 level of significance
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55141
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.262
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.262
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783446027.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.