Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55162
Title: ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Other Titles: LEGAL PROBLEMS RELATED TO BENEFIT MANAGEMENT OF PROVIDENT FUND
Authors: ชัชนันท์ ลี้วารินทร์พาณิช
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sanunkorn.S@Chula.ac.th,ajarnkorn@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มีขึ้นเพื่อรองรับและสนับสนุนการออมเงินเพื่อการชราภาพของพนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างภาคเอกชน เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการออมเงินระยะยาวเพื่อให้เพียงพอใช้ดำรงชีพภายหลังเกษียณ แต่การบริหารเงินกองทุนตามบทบัญญัติมาตรา 23 และมาตรา 24 พบว่ายังมีปัญหาข้อกฎหมายในทางปฏิบัติหลายประการ ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาเพื่อทราบถึงปัญหาที่มีและผลกระทบที่เกิดขึ้นรวมทั้งวิเคราะห์ผลในทางกฎหมายพร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข ผลการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มีปัญหาข้อกฎหมายในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารเงินกองทุนฯ ให้แก่สมาชิกโดยปัญหาที่สำคัญได้แก่ ปัญหาของระบบกองทุนที่บังคับใช้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินกองทุนฯให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิก และปัญหาเกี่ยวกับความคุ้มครองเงินกองทุนฯจากการบังคับคดีดังปัญหาและแนวทางแก้ไขดังต่อไปนี้ ประการแรกปัญหาของระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ใช้กฎหมายฉบับเดียวกันแต่มีระบบการบังคับใช้แตกต่างกันระหว่างลูกจ้างภาคเอกชนและพนักงานรัฐวิสาหกิจ นำไปสู่ปัญหาการบริหารเงินอื่นๆตามมา การที่กำหนดให้วิธีการจ่ายเงินกองทุนฯต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อบังคับที่นายจ้างเป็นผู้กำหนด ย่อมทำให้สมาชิกเกิดสิทธิแตกต่างกันตามข้อบังคับของแต่ละกองทุนจึงไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การแก้ไขจึงควรทำความเข้าใจระบบและหลักการของกฎหมายให้ชัดเจนและต้องปรับใช้กฎหมายให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย รวมทั้งต้องบังคับใช้กฎหมายฉบับเดียวกันอย่างเท่าเทียม ซึ่งจะทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ปัญหาประการต่อมาได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิก การตกทอดของเงินกองทุนฯ จะเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 23 แต่พบปัญหาข้อกฎหมายในกรณีสมาชิกระบุผู้รับประโยชน์เป็นทารกในครรภ์และไม่มีการแก้ไขข้อมูลให้ตรงและถูกต้องในภายหลัง การตกทอดในกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ จึงเกิดปัญหาในการจ่ายเงินกองทุนฯขึ้นการแก้ไขปัญหาจึงต้องนำเอาหลักกฎหมายไทยที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเจตนารมณ์ของสมาชิกมาใช้ประกอบการพิจารณาเป็นทางเลือก ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยและกฎหมายอาจต้องบัญญัติให้ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมเพิ่มเติมไว้ก่อนการตกทอดไปยังกองทุน นอกจากนี้ควรแก้ไขแนวทางปฏิบัติร่วมด้วยซึ่งอาจช่วยลดหรือทดแทนการแก้ไขที่ตัวบทกฎหมายได้ และประการสุดท้ายเป็นปัญหาเกี่ยวกับความคุ้มครองเงินกองทุนฯของสมาชิกซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 24 ที่ให้ความคุ้มครองเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากการถูกบังคับคดีทั้งในหนี้ทั่วไปและกรณีลูกจ้างตกเป็นผู้ล้มละลาย โดยในกรณีของหนี้ทั่วไปพบว่าการชำระหนี้ต่อนายจ้างหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ในหน่วยงานของสมาชิกมีลักษณะเอื้อประโยชน์ในการเรียกชำระหนี้จากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสมาชิก ซึ่งอาจเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายและไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเงินกองทุนฯ และในกรณีลูกจ้างตกเป็นผู้ล้มละลายก็พบว่าเงินกองทุนฯของลูกจ้างจะไม่ได้รับความคุ้มครองแต่จะถูกรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินเพื่อไปชำระหนี้ตามบทบัญญัติของกฎหมายล้มละลาย ซึ่งตามมาตรา 24 ได้กำหนดความคุ้มครองเงินกองทุนฯจากการบังคับคดีไว้โดยไม่มีระบุข้อยกเว้น ปัญหาข้อกฎหมายนี้จึงสมควรได้รับการพิจารณาแก้ไขในฐานะเป็นกฎหมายที่บังคับใช้อย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งแม้ในต่างประเทศก็พบว่ากฎหมายให้ความคุ้มครองเงินกองทุนการออมเพื่อการชราภาพไว้ทั้งในกรณีหนี้ทั่วไปและหนี้ล้มละลาย การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่ากฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพควรแยกประเภทของลูกจ้างในภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจออกจากกัน เนื่องจากมีการบังคับใช้แตกต่างกันและเนื่องจากพนักงานรัฐวิสาหกิจไม่มีระบบสวัสดิการอื่นใดมารองรับดังเช่นลูกจ้างภาคเอกชนและหากมีการปรับปรุงระบบกฎหมายก็ควรเปลี่ยนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคสมัครใจให้เป็นภาคบังคับสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเห็นว่าควรเพิ่มเติมความคุ้มครองเงินกองทุนฯในมาตรา 24 ให้ครอบคลุมถึงกรณีลูกจ้างตกเป็นผู้ล้มละลายด้วย นอกจากนี้รัฐควรส่งเสริมทางเลือกในการออมเงินเพื่อการชราภาพของลูกจ้างภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มเติมจากระบบปกติได้ตามความสมัครใจเพื่อความมั่นคงทางการเงินของทั้งนายจ้างและลูกจ้างรวมถึงรัฐที่จะมีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นด้วย
Other Abstract: The author has revealed that the Provident Fund Act B.E.2530 has some problems in practice for example, different standard for each Provident Fund, the problems about paying out the provident fund and the protection of provident fund from compulsory execution. The author has described the problems and suggested solutions a follows. First, both public and private sector apply the same Provident Fund Act however, the employees in each organization have different rights as a result, there is no single standard. The solution to this problems is to clearly understand the principle of the act and apply to Thai society. This will result in equality in the society as the Act enforcement intention. Second, the paying out provident fund to the beneficiaries that are not provident fund member. The act stated the inheritance at the provident fund in section 23 however, sometimes the provident fund member indicates the beneficiary as an unborn baby and there is no update information after the baby was born. The Provident Fund Act has not mentioned in such case, as a result the paying out of provident fund problem occurs in that case the author has suggested that the provident fund should belong to statutory heir and common practices should be revised. Third, the protection of provident fund from compulsory execution according to section 24 in the case the members have become bankrupt or have not enough money to repay their debts. In general the debt repayment to employer and co-operative in the organization promotes the repayment from provident fund. This action does not comply with the provident fund in case the employees become bankrupt. According to section 24, the provident fund will be a part of employees assets to repay their debt without any exception. This issue should be considered as specific law enforcement. In foreign countries, the kinds of voluntary senility saving act as provident fund protect the money in fund for senility saving from both general debt and bankruptcy debt. Finally, this research indicates that the Provident Fund Act should separate the employees in public from private because unlike the private sector employees, the public sector employees have no other employee benefits. The author recommends that the provident fund act should be revised to be mandatory for government officer. The Provident Fund Act in section 24 should include practices when employees become bankrupt. Moreover, government should additionally encourage senility saving both in public and private sector for financial stability of employers, employees and money circulation in the system.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55162
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.465
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.465
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785968634.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.