Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55246
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือด การล้างไตทางช่องท้อง และกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตที่คลินิกโรคไต แผนกอายุรกรรม ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Comparative Study of Quality of Life between End- Stage Renal Disease Patients Treated with Dialysis and Those Treated with Kidney Transplantation at Kidney Clinic King Chulalongkorn memorial Hospital |
Authors: | วนิดา วิชัยศักดิ์ |
Advisors: | พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Peeraphon.L@Chula.ac.th,peeraphon_tu@yahoo.com Yingyos.A@Chula.ac.th,yingyos.a@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เหตุผลของการทำวิจัย : โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ในปัจจุบันการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตมี 2 วิธี ได้แก่ 1) การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง และ 2) การผ่าตัดเปลี่ยนไต ซึ่งแต่ละวิธีการรักษาส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งการศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา 2 วิธีนี้ที่ผ่านมายังไม่พบข้อสรุปที่แน่ชัด และยังไม่เคยมีการศึกษาในประเทศไทยมาก่อน จึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด หรือการล้างไตทางช่องท้องกับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด หรือการล้างไตทางช่องท้อง กับผู้ป่วยการผ่าตัดเปลี่ยนไต รูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา สถานที่ทำการศึกษา : คลินิกโรคไต แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการการฟอกเลือด หรือการล้างไตทางช่องท้องจำนวน 100 รายและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตจำนวน 100 ราย รวมเป็น 200 รายที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคไต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงธันวาคม 2559 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย 2) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย 3) แบบประเมินอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย 4) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และ 5) แบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ ฟิชเชอร์เอ็กเซ็ก ทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา : ผลการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตรายด้านและโดยรวมของกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่การฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้องทั้งรายด้านในทุกๆด้าน (ด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพ และสิ่งแวดล้อม) โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และคุณภาพชีวิตโดยรวม โดยคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับดีของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต พบร้อยละ 51 ค่าคะแนนเฉลี่ย 96.25 ± 12.18 ในขณะที่กลุ่มผุ้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง พบเพียง ร้อยละ 14 ค่าคะแนนเฉลี่ย 82.21 ± 13.49 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้ง 2 กลุ่มคือ การศึกษาที่ดีตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป เศรษฐานะของครอบครัวที่เพียงพอ ระยะเวลาเจ็บป่วย 4ปีขึ้นไป และการสนับสนุนทางสังคมระดับสูง สรุปผลการศึกษา : คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่การฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้องทั้งรายด้านในทุกๆด้าน (ด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพ และสิ่งแวดล้อม) และโดยรวม และปัจจัยต่างๆที่พบว่าสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยโดยปัจจัยเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยได้ ผลการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และพัฒนาการดูแลผู้ป่วยทำให้สุขภาพทั้งกายใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น |
Other Abstract: | Background : End- stage renal disease (ESRD) has become the common and important problem in public health of Thailand.At the present, there are two main medical treatments: 1) hemodialysis (HD), continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD);and 2) kidney transplantation (KT).Each treatment has impact on the patient’s quality of life (QOL). Previous comparative studies about QOL of patients between the two treatment methods were inconclusive; yet there is no such study in Thailand. Objectives : To compare the QOL between patients with HD or CAPD and those with KT at Kidney Clinic, Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Design : Descriptive study. Setting : Kidney clinic, Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Materials and Methods : The samples consisted of 100 HD or CAPD patients and 100 KT patients attending at Kidney Clinic, Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital during September-December 2016. The measure 1) Demographic data form, 2) World Health Organization Quality of Life Brief – Thai, (WHOQOL-BREF-THAI), 3) Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (Thai HADS), 4) Social Support Questionnaire, and 5) The Barthel Activity of Daily Living Index (The Barthel ADL Index). Statistics used to analyze data were percentage, mean, and standard deviation, chi-square test, independent t-test, logistic regression. Results : The comparative study of QOL between patients with HD/CAPD and those with KT showed that QOL of KT patients were higher than those of HD/CAPD in all domains and in general; especially in the psychological health domain, social relationships domain and in general. The good level of QOL in general of patients with KT was 51% and the average score of QOL 96.25 ± 12.18 while that of those with HD/CAPD was 14% and the average score of QOL 82.21 ± 13.49 The factors associated to two groups of patients were high education, adequate economic status, illness duration above 4 years, and high levels of social support. Conclusion : QOL of KT patients were higher than those of HD/CAPD in all domains and in general; especially in the psychological health domain, social relationships domain and in general. And factors found in this study can help to improve the patients’ QOL. The results of this study will be beneficial for promoting patients’ QOL. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55246 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1196 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1196 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874064530.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.