Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55257
Title: DOSIMETRIC VERIFICATION IN PHOTON BEAMS FOR ACUROS XB ALGORITHM
Other Titles: การตรวจสอบความถูกต้องของปริมาณรังสีในลำแสงโฟตอนสำหรับอะคูลอสเอกซ์บีอัลกอริทึม
Authors: Yot Phimmakone
Advisors: Sivalee Suriyapee
Taweap Sanghangthum
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Sivalee.S@Chula.ac.th,ssivalee@yahoo.com
mairt34@yahoo.com
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The purpose of this study is to verify dosimetric accuracy of 6 MV X-ray beams for Acuros XB algorithm in Eclipse TPS by comparing measurements and calculations of beam characteristics and clinical applications. The beam characteristics were studied in various square and rectangular fields for PDDs, profiles and output factors by measurement in water phantom. The PDDs were measured by scanning with CC13 ion chamber, while in-plane and cross-plane profiles were acquired with PFD diode at 5, 10 and 20 cm depths. The output factors were measured at 10 cm depth using CC13 ion chamber. In clinical applications, the selected 15 cases in head, chest and pelvic regions of 3D-CRT, IMRT and VMAT techniques in homogeneous and heterogeneous medium were measured with CC13 ion chamber and compared with calculated dose in Eclipse TPS. The results of measured PDDs showed a good agreement to TPS with the average of δ1 (high dose, small dose gradient) at 0.16±0.64% and δ2 (high dose, large dose gradient) at 0.43±0.70 mm. Both measured in-plane and cross-plan profiles in all field sizes and all depths displayed the coincidence results with calculated profiles that showed δ2 less than 2 mm, δ3 (high dose, small dose gradient) within 3%, δ4 (low dose, small dose gradient) within 3%, and δ50-90 within 2 mm. The maximum output factors differences were -1.54%. For clinical application, the dose verification in homogeneous showed the maximum dose differences of 0.71% for 3D-CRT, -2.95% for IMRT and 2.70% for VMAT plans. While, inhomogeneous showed of the maximum dose error of 3D-CRT, IMRT, and VMAT plans at 0.61%, -2.27%, and -1.9% for 3D-CRT, IMRT, and VMAT plans, respectively. These dose differences were within the tolerance of ±3% for homogeneous and ±5% for heterogeneous medium as the recommendation from AAPM TG-53 and IAEA TRS 430. Therefore, the Acuros XB algorithm can be implemented in Eclipse TPS of clinical application radiotherapy.
Other Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมวางแผนการรักษา Eclipse ที่ใช้อะคูลอสเอกซ์บีอัลกอริทึมคำนวณปริมาณรังสีของรังสีเอกซ์ 6 MV โดยการเปรียบเทียบคุณลักษณะเฉพาะและการนำไปใช้งานทางคลินิกกับการวัดจริง ทำการเปรียบเทียบคุณลักษณะเฉพาะของลำรังสีชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสและผืนผ้า ด้วยการพิจารณาปริมาณรังสีตามความลึก และพิจารณาปริมาณรังสีทางด้านข้างที่ความลึกต่างๆ วัดปริมาณรังสีตามความลึกด้วยแชมเบอร์รุ่น CC13 วัดปริมาณรังสีทางด้านข้างที่ความลึก 5, 10 และ 20 ซม ด้วยไดโอด PFD ส่วนสัดส่วนเอาท์พุทที่ความลึก 10 ซม ใช้วัดด้วยแชมเบอร์รุ่น CC13 สำหรับการประยุกต์ใช้ทางคลินิก ทำการเลือกแผนการรักษาบริเวณศีรษะ ทรวงอก และอุ้งเชิงกราน ในเทคนิคการรักษาแบบสามมิติ แบบปรับความเข้ม และแบบปรับความเข้มชนิดหัวเครื่องหมุนรอบตัวผู้ป่วย อย่างละ 15 แผนการรักษา ศึกษาทั้งในแฟนทอมเนื้อเดียวและแฟนทอมที่มีความแตกต่างของเนื้อเยื่อ โดยวัดรังสีเป็นจุดด้วยแชมเบอร์รุ่น CC13 และเปรียบเทียบกับค่าที่คำนวณได้จาก Eclipse ผลการทดลองพบว่าปริมาณรังสีในแนวความลึกที่วัดได้มีความใกล้เคียงกับที่ได้จากการคำนวณ โดยค่าเฉลี่ยของ δ1 (ปริมาณรังสีสูงและความชันของปริมาณรังสีน้อย) อยู่ที่ 0.16±0.64% และค่า δ2 (ปริมาณรังสีสูงและความชันของปริมาณรังสีมาก) อยู่ที่ 0.43±0.70 มม. ในส่วนปริมาณรังสีในแนวด้านข้างทั้ง in-plane และ cross-plane ในทุกขนาดลำรังสีและทุกความลึก พบว่าค่า δ2 อยู่ภายใน 2 มม ค่า δ3 (ปริมาณรังสีสูงและความชันของปริมาณรังสีน้อย) อยู่ภายใน 3% ค่า δ4 (ปริมาณรังสีต่ำและความชันของปริมาณรังสีน้อย) อยู่ภายใน 3% และ δ50-90 อยู่ภายใน 2 มม ค่าสัดส่วนเอาท์พุทพบความแตกต่างสูงสุดอยู่ที่ -1.54% ในส่วนของการประยุกต์ใช้ในทางคลินิก ผลการตรวจสอบปริมาณรังสีในแฟนทอมเนื้อเดียวพบความแตกต่างสูงสุดในเทคนิคการรักษาแบบ 3 มิติที่ 0.71% สำหรับแผนการรักษาแบบปรับความเข้มที่ -2.95% และ สำหรับแผนการรักษาแบบปรับความเข้มชนิดหัวเครื่องหมุนรอบตัวที่ 2.70% ขณะที่ในแฟนทอมที่มีความแตกต่างของเนื้อเยื่อ พบความแตกต่างในเทคนิค 3 มิติ เทคนิคปรับความเข้ม และเทคนิคปรับความเข้มแบบหัวเครื่องหมุนรอบตัวอยู่ที่ 0.61%, -2.27% และ -1.9% ตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้อยู่ภายในขีดจำกัดการยอมรับที่ ±3% สำหรับแฟนทอมเนื้อเดียว และ ±5% สำหรับแฟนทอมที่มีความแตกต่างของเนื้อเยื่อ ตามมาตรฐาน AAPM TG-53 และ IAEA TRS 430 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอะคูลอสเอกซ์บีอัลกอริทึม ในเครื่องวางแผนการรักษา Eclipse สามารถนำมาใช้ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง.
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Imaging
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55257
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1703
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1703
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874101030.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.