Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55288
Title: คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของคำกริยาแสดงเหตุการณ์แยกส่วนในภาษาไทย
Other Titles: SYNTACTIC AND SEMANTIC PROPERTIES OF VERBS OF SEPARATION IN THAI
Authors: เกียรติ เทพช่วยสุข
Advisors: กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Kingkarn.T@Chula.ac.th,Kingkarn.T@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของคำกริยาแยกส่วนในภาษาไทย ตลอดจนการจำแนกออกเป็นประเภทที่ต่างกันของคำกริยาโดยผู้วิจัยมีสมมติฐานจากการพิจารณาพฤติกรรมการปรากฏในหน่วยสร้างที่ต่างกันของคำกริยาว่าสิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้คำกริยาแยกส่วนสามารถถูกจำแนกออกได้เป็นประเภทคือการสลับปรากฏในหน่วยสร้างต่างๆ ของคำกริยา จากผลการวิจัย พบว่าคำกริยาแสดงเหตุการณ์การแยกส่วนจำนวน 107 คำในภาษาไทยมีพฤติกรรมการสลับปรากฏในหน่วยสร้างต่างๆ โดยแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท การสลับหน่วยสร้างทั้ง 8 ประเภทที่พบสามารถจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1) การสลับสกรรมสภาพ ซึ่งประกอบด้วยการสลับการีตกับกระบวนการ การสลับกรรมผู้รับการกระทำกับเป้าหมาย การสลับกรรมวาจก การสลับกระบวนการกับผล การสลับสะท้อนผล การสลับมัชฌิมกรรม 2) การสลับโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสกรรมสภาพในเชิงโครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วยการสลับที่มีหน่วยร่วมเหตุการณ์เครื่องมืออยู่ในเหตุการณ์ ได้แก่ ประธานผู้กระทำกับเครื่องมือและการสลับกรรมตรงกับเครื่องมือ เมื่อนำตัวแปรการสลับหน่วยสร้างทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่าตัวแปรการสลับหน่วยสร้างมีการจำแนกออกเป็น 2 องค์ประกอบหรือ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การสลับปรากฏของคำกริยาที่ปรากฏในหน่วยสร้างสกรรมเป็นพื้นฐาน และการสลับปรากฏของคำกริยาที่ปรากฏในหน่วยสร้างอกรรมเป็นพื้นฐาน สำหรับสลับปรากฏของคำกริยาที่ปรากฏในหน่วยสร้างสกรรมเป็นพื้นฐาน พบว่าตัวแปรการสลับที่มีความสัมพันธ์ต่อกันในกลุ่มนี้ได้แก่ การสลับกรรมวาจก การสลับมัชฌิมกรรม การสลับผู้รับการกระทำกับเป้าหมาย การสลับประธานเครื่องมือ และการสลับกรรมตรงเครื่องมือ ส่วนการการสลับปรากฏของคำกริยาที่ปรากฏในหน่วยสร้างอกรรมเป็นพื้นฐาน พบว่าตัวแปรการสลับที่มีความสัมพันธ์ต่อกันในกลุ่มนี้ได้แก่ การสลับกระบวนการกับผล การสลับสะท้อนผล และการสลับการีตกับกระบวนการ อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์การจำแนกประเภทของคำกริยาแยกส่วนออกเป็นประเภทที่ต่างกันตามรูปแบบการสลับปรากฏ พบว่าสามารถจำแนกออกได้เป็นประเภทย่อย 3 ประเภทโดยอิงตามพฤติกรรมทางวากยสัมพันธ์ของคำกริยา ได้แก่ 1) คำกริยาแยกส่วนแสดงเหตุการณ์ที่ปรากฏในหน่วยสร้างสกรรมการีตเป็นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยคำกริยาแยกส่วนที่มีการเน้นจุดสนใจที่การใช้เครื่องมือในการกระทำเหตุการณ์ คำกริยาแยกส่วนที่มีการปรากฏของเครื่องมือในเหตุการณ์แต่มีการเน้นจุดสนใจที่เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพ และคำกริยาแยกส่วนที่แสดงเหตุการณ์การแยกส่วนแบบโดยรวม 2) คำกริยาแยกส่วนที่ปรากฏในหน่วยสร้างอกรรมกระบวนการเป็นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยคำกริยาแยกส่วนที่ปรากฏในหน่วยสร้างอกรรมแสดงกระบวนการและสภาพผลที่สามารถแสดงการแยกส่วนโดยไม่ปรากฏผู้กระทำได้ และคำกริยาแยกส่วนที่ปรากฏในหน่วยสร้างอกรรมแสดงเหตุการณ์ทรงสภาพเท่านั้นซึ่งเป็นสภาพที่เกิดจากการกระทำการแยกส่วนโดยผู้กระทำ 3) คำกริยาแยกส่วนสลับการีตกับกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วยคำกริยาแยกส่วนสลับการีตกับกระบวนการโดยมีการปรากฏของเครื่องมือและไม่มีการปรากฏของเครื่องมือ
Other Abstract: This research studies syntactic and semantic properties of verbs of separation in Thai as well as how they are categorized into distinct categories. From investigating through verbs’ behavior, the researcher hypothesizes that the crucial factors which are responsible for categorization of the separation verbs are verbs’ diathesis alternations. It is found that 107 separation verbs in Thai have 8 different alternation patterns which can be categorized into 2 major groups. The first group includes transitivity alternations which are causative/inchoative alternation, patient/goal alternation, passive alternation, resultative alternation, reflexive alternation and middle alternation, while the second group includes alternations that do not affect transitivity and can be found in the verbs describing events with instrument participants which are instrument-subject alternation and instrument-object alternation. Through factor analysis, these verbs’ alternations can be categorized into 2 components which are the alternations which can be applied with transitive-based verbs and the alternations which can be applied with intransitive-based verbs. Within the alternations which can be applied with transitive-based verbs, the factors which are related to each other are passive alternation, middle alternation, patient/goal alternation, instrument-subject alternation and instrument-object alternation. Within the alternations which can be applied with intransitive-based verbs, the factors which are related to each other are resultative alternation, reflexive alternation and causative/inchoative alternation. When analyzing verbs’ categorization through these distinct alternation patterns, it is found that verbs of separations can be categorized according to their syntactic behaviors. Firstly, Transitive-based verbs of separation can be categorized into verbs which focus on instruments used, verbs which focus on change of state sub-event, and verbs which express holistic separation events. Secondly, Intransitive-based verbs of separation can be categorized into verbs which express inchoation and stative situation without any agent in the event, and verbs which express stative situation which change of state results from agent’s action. Lastly, verbs which can be causative/inchoative alternated are categorized into verbs which express an event with instrument, verbs which express an event without instrument.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55288
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.712
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.712
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380104422.pdf7.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.