Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55299
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพร ภักดีผาสุข-
dc.contributor.authorสุภัทร แก้วพัตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:35:17Z-
dc.date.available2017-10-30T04:35:17Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55299-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนคนอีสานที่สื่อผ่านภาษาในหนังสือพิมพ์ระดับชาติและหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่นระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2556 ตามแนวการศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ และศึกษาเปรียบเทียบภาพตัวแทนคนอีสานในหนังสือพิมพ์ระดับชาติกับหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่นในช่วงเวลาดังกล่าว ศึกษาข้อมูลในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 รวมเป็นระยะเวลา 10 ปี ผลการศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์ระดับชาติมีการใช้กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอภาพตัวแทนคนอีสานที่สำคัญทั้งสิ้น 8 กลวิธี ได้แก่ 1) การใช้คำ/กลุ่มคำ 2) การใช้อุปลักษณ์ 3) การแนะความ 4) การใช้ประโยคแสดงความสัมพันธ์แบบมีเงื่อนไข 5)การใช้โครงสร้างประโยคแบบเหตุ-ผล 6) การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ 7) การใช้โครงสร้างประโยคกรรม และ 8) การใช้สหบท กลวิธีทางภาษาทั้งหมดนี้ได้นำเสนอภาพตัวแทนคนอีสานในหนังสือพิมพ์ระดับชาติ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ในแง่บุคลิกลักษณะและอุปนิสัย คือ คนอีสานรักศักดิ์ศรีและภูมิใจในท้องถิ่น คนอีสานอดทน และคนอีสานรักพวกพ้องและมีน้ำใจ 2) ในแง่สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ คือ คนอีสานมีความรู้น้อยและด้อยโอกาส คนอีสานคือชนชั้นแรงงาน คนอีสานถูกกระทำจากคนต่างกลุ่ม และคนอีสานในหัวเมืองใหญ่มีฐานะที่ดีขึ้น 3) ในแง่การเมือง คือ คนอีสานคือฐานเสียงสำคัญและมีบทบาททางการเมือง และคนอีสานเป็นเหยื่อทางการเมือง ส่วนหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่นมีการใช้กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอภาพตัวแทนคนอีสานที่สำคัญทั้งสิ้น 6 กลวิธี ได้แก่ 1) การใช้คำ/กลุ่มคำ 2) การใช้อุปลักษณ์ 3) การแนะความ 4) การใช้โครงสร้างประโยคกรรม 5) การใช้สหบท และ 6) การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ กลวิธีทางภาษาทั้งหมดนี้ได้นำเสนอภาพตัวแทนคนอีสานในหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น 3 กลุ่ม 1) ในแง่บุคลิกลักษณะและอุปนิสัย คือ คนอีสานมีอัตลักษณ์และภูมิปัญญาที่น่าภูมิใจ คนอีสานยึดมั่นและให้ความเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์ คนอีสานรักพวกพ้องและมีน้ำใจ 2) ในแง่สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ คือ คนอีสานมีความรู้น้อยและด้อยโอกาส คนอีสานคือชนชั้นแรงงาน และคนอีสานในหัวเมืองใหญ่มีฐานะที่ดีขึ้น 3) ในแง่การเมือง คือ คนอีสานคือฐานเสียงสำคัญและมีบทบาททางการเมือง คนอีสานไม่ต้องการแบ่งฝ่าย และคนอีสานสนองนโยบายของรัฐบาล งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าภาพตัวแทนคนอีสานที่ปรากฏสัมพันธ์กับปริบททางสังคมวัฒนธรรมและสื่อนัยเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในสังคม แม้ว่าภาพตัวแทนคนอีสานที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ระดับชาติและระดับท้องถิ่นจะมีจำนวนภาพตัวแทนที่เท่ากัน แต่มีความต่างในแง่การเลือกเน้นย้ำภาพตัวแทนที่ต่างกัน กล่าวคือ ในหนังสือพิมพ์ระดับชาติมีการนำเสนอภาพในด้านที่น่าเห็นใจและไม่พึงประสงค์มากกว่าในด้านที่ดีและพึงประสงค์ ในขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่นมีการนำเสนอภาพตัวแทนคนอีสานในด้านที่ดีและพึงประสงค์มากกว่าด้านที่น่าเห็นใจและไม่พึงประสงค์ ผู้ร่วมเหตุการณ์การสื่อสาร จุดยืน และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของหนังสือพิมพ์ระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมถึงปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม อาทิ ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม น่าจะมีอิทธิพลต่อการนำเสนอภาพตัวแทนที่แฝงนัยแง่ความไม่เท่าเทียมกันดังกล่าว-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed at examining the representation of Isan people through the use of language in the national and local newspapers between 2004 and 2013 adopting the approach of critical discourse analysis. In addition, the research aimed to compare the representation of Isan people in the national newspaper with that in the local newspaper during a 10-year period, commencing from January 1, 2004 to December 31, 2013. The analysis reveals that the national newspaper had adopted 8 major linguistic strategies in order to construct the representation of Isan people, which comprised of: 1) lexical selection; 2) using metaphor; 3) using implication; 4) using conditional sentence structure; 5) using the cause and effect sentence structure; 6) using rhetorical questions; 7) using passive sentence structure; and 8) using intertexuality . These linguistic strategies were used in the national newspaper to represent Isan people in three different aspects, consisting of: 1) characteristics and behaviors, which indicated that Isan people were full of dignity, endurance, and generosity. They were proud of their community and loved their friends and relatives; 2) social and economic aspects, which depicted that Isan people lacked knowledge and opportunity. They were regarded as the working class and the victim of higher social classes, while Isan people in large cities had higher financial status; and 3) political aspect, which suggested that Isan people were the major voices and played an important role in politics. They were also regarded as the victim of politics. Alternatively, the local newspaper had adopted 6 linguistic strategies for constructing representation of Isan people, which included: 1) lexical selection; 2) using metaphor; 3) using implication; 4) using passive sentence structure; 5) using intertexuality; and 6) using rhetorical questions. The aforementioned linguistic strategies were used in the local newspaper to portray Isan people in three aspects, comprising of: 1) characteristics and behaviors, which indicated that Isan people were proud of their identity and local wisdom. They respected and adhered to the royal institution. They were generous and loved their friends and relatives; 2) social and economic aspects, which described Isan people as lacking knowledge and opportunities –they were the working-class population. Isan people in large cities also had higher financial status; and 3) political aspect, which represented Isan people as a major voice in politics. They played an important political role and they were not in favor of party division. In addition, they were in favor of the government policies. This research illustrated that the representation of Isan people was related to the sociocultural context and signified social inequality. Although the numbers of representations of Isan people that appeared on both the national and local newspapers were equal, each type of newspaper emphasized such representations in a different way. That is, the national newspaper mainly portrayed Isan people in a more sympathetic and unfavorable way, rather than in a positive and favorable way. On the other hand, the local newspaper depicted Isan people in a more positive and favorable way, rather than in a sympathetic and unfavorable way. The participants, the standpoint, the ends of the national and local newspapers, along with sociocultural factors such as historical background and differences in language and culture, might influence the representations of Isan people that conveyed a sense of social inequality.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.690-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนคนอีสานในหนังสือพิมพ์ระดับชาติและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์-
dc.title.alternativeTHE RELATIONSHIP BETWEEN LANGUAGES AND REFERENTATIONS OF ISAN PEOPLE IN NATIONAL AND LOCAL NEWSPAPER S: A CRITICAL DISCOURSE ANALYSIS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineภาษาไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSiriporn.Ph@Chula.ac.th,Siriporn.Ph@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.690-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5480527322.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.