Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55330
Title: การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบ (ซีซีพีอาร์) ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Other Titles: DEVELOPMENT OF TRAINING PROGRAM USING CONSTRUCTIONISM THEORY TO DEVELOP CRITICAL, CREATIVE, PRODUCTIVE, AND RESPONSIBLE MIND (CCPR) OF HIGHER EDUCATION STUDENTS IN COMMUNICATION ARTS OF PRIVATE HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS
Authors: กนกวรรณ มณฑิราช
Advisors: อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Arunee.Ho@Chula.ac.th,arunee.ho@chula.ac.th
Pansak.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบ(ซีซีพีอาร์) ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนด้วยการศึกษาการรับรู้ด้านคุณลักษณะทักษะซีซีพีอาร์ และปัจจัยที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทักษะซีซีพีอาร์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมคุณลักษณะทักษะซีซีพีอาร์ผ่านทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวัดระดับการรับรู้ด้านคุณลักษณะทักษะซีซีพีอาร์ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะซีซีพีอาร์ (3) จัดทำโปรแกรมฝึกอบรมผ่านทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อพัฒนาทักษะซีซีพีอาร์ โดยการจัดทำแบบสอบถามจำนวน 383 ชุด สอบถามจากนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อศึกษาถึงการรับรู้คุณลักษณะด้านทักษะการซีซีพีอาร์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารสถาบันการศึกษา อาจารย์ผู้สอนจำนวน 36 คนจาก 9 สถาบัน เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะซีซีพีอาร์ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ ไปกำหนดเป็นแนวทางการจัดโปรแกรมฝึกอบรมผ่านทพฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อพัฒนาทักษะซีซีพีอาร์ต่อไป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1. การรับรู้ในความสำคัญด้านคุณลักษณะทักษะซีซีพีอาร์ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบัน อุดมศึกษาเอกชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยแตกต่างกันตามขนาดของสถาบันการศึกษา สถาบันขนาดใหญ่มีระดับการรับรู้ทักษะซีซีพีอาร์มากกว่าขนาดกลางและขนาดเล็กตามลำดับ 2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะด้านทักษะซีซีพีอาร์ ได้แก่ 1.) ผู้บริหารสถาบันการศึกษา 2.) ผู้สอน 3.) ผู้เรียน 4.) สภาพแวดล้อม จากนั้นได้นำผลการศึกษาด้านการรับรู้และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะซีซีพีอาร์มาพัฒนาเป็นโปรแกรมการฝึกอบรมผ่านทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม 3.โปรแกรมการฝึกอบรมจำนวน 32 ชั่วโมง มีหลักสูตรการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 8 หน่วยและในแต่ละหน่วยมีเนื้อหาครอบคลุมด้านการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบ โดยมีเนื้อหาการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญด้านการปฎิบัติงานจริงของสายงานนิเทศศาสตร์ผ่านวิธีการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นเครื่องมือการสื่อสารส่วนตัวเป็นหลัก เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ และ โปรแกรมเฟชบุ๊ค เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านเครื่องมือสื่อสารของตนเองด้วยทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึม และเมื่อได้ทำการทดลองโปรแกรมการฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วพบว่า นักศึกษามีระดับการรับรู้ด้านทักษะซีซีพีอาร์ในระดับเพิ่มขึ้นในทุกๆ ด้าน ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการผลิตผลงาน และการมีความรับผิดชอบ ผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงระดับการรับรู้ในความสำคัญของทักษะซีซีพีอาร์ และทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะด้านทักษะซีซีพีอาร์ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบันการศึกษาเอกชน และโปรแกรมการฝึกอบรมที่ได้สามารถนำมาเป็นแนวทางส่วนหนึ่งในการพัฒนาภาพรวมการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทักษะซีซีพีอาร์ อันได้แก่ ความคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย โดยพบว่านักศึกษามีระดับการรับรู้และความตระหนักในทักษะซีซีพีอาร์เพิ่มมากขึ้นหลังจากได้รับการอบรม และมีการพัฒนาทักษะด้านการสร้างผลผลิตและการมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ซึ่งผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมด้านการพัฒนาทักษะความคิดต่อไป
Other Abstract: This qualitative and quantitative research dealt with the development of a training program based on constructionism to empower students majoring in Communication Arts in private universities to acquire the following characteristics: critical thinking, creative thinking, productivity and responsibility (CCPR). In doing so, it explored the students’ awareness of these characteristics and the factors that affected the acquisition of CCPR. The main objectives of this study were to 1) assess the students’ awareness level of the CCPR; 2) investigate the factors affecting the acquisition of CCPR; and 3) design a program based on constructionism to train the students on how to acquire these characteristics. Three hundred and eighty-three questionnaires were collected from students majoring in Communication Arts in private universities to obtain information about their awareness of CCPR. The information about the factors affecting the CCPR was obtained from in-depth interviews of thirty-six administrators and instructors from nine universities. The data were analyzed and used as guidelines for developing a training program based on constructionism to raise students’ awareness of the importance of CCPR and to teach them how to acquire these characteristics. The findings revealed that 1.The students ranked the importance of CCPR high but the number varied according to the size of university, in that there were more students in a large university ranking it high than those in medium-sized and small universities. 2.The factors that affected the acquisition of CCPR were 1) university administrators, 2) instructors, 3) students, and 4) environment. 3.Consequently, a 32-hour training program was designed based on constructionism. It was divided into 8 units, each of which covered the content related to the four characteristics. The learning involved hands-on workshops in the field of Communication Arts through such tools as computers, mobile phones and Facebook so the students could study using their own tools. At the end of the training, the students’ awareness of CCPR increased. The highest level was that for productivity and responsibility. The results of this study indicate the students’ awareness level of CCPR, the factors that affected the enhancement of CCPR among these students and the design of a training program that can be used as a part of a course to empower the students to realize such characteristics as critical thinking, creative thinking, productivity and responsibility.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55330
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1284
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1284
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584265727.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.