Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55431
Title: การวิเคราะห์แบบแผนการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้ง
Other Titles: AN ANALYSIS OF GUARDIAN'S PARANTING STYLES IN HMONG HILL TRIBE GROUP
Authors: อภิสิทธิ์ ลีเลิศ
Advisors: วรวรรณ เหมชะญาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: worawan.h@chula.ac.th,worawan.h@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์แบบแผนการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้ง 2) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่างๆที่มีต่อแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ปกครองชาวเขาเผ่าม้ง จำนวน 163 คน ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านขุนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองและแบบบันทึกการสังเกตการอบรมเลี้ยงดูเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยคะแนนมาตรฐาน (z-score) ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบไค-สแควร์ (Chi-square test) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ คิดเป็นร้อยละ 38.04 รองลงมาคือ แบบควบคุม คิดเป็นร้อยละ 22.09 แบบทอดทิ้ง คิดเป็นร้อยละ 21.47 และแบบตามใจ คิดเป็นร้อยละ 18.40 ตามลำดับ โดยแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่แสดงพฤติกรรมในด้านการเรียกร้องพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัย มีการกำหนดกฎระเบียบและวินัยภายในครอบครัว มีการกระตุ้นให้เด็กปฏิบัติตามกฎ มีการให้ความอบอุ่น ความรักและให้การสนับสนุนกับเด็ก มีการสื่อสารสองทางที่ชัดเจน มีการส่งเสริมให้เด็กเป็นตัวของตัวเองและพึ่งตนเอง มีการเคารพในสิทธิทั้งของพ่อแม่และเด็ก รวมทั้งการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ 2. เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีต่อแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้ง พบว่า มีปัจจัยที่ส่งผลต่อแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้ง คือสถานภาพที่เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยผู้ปกครองที่มีสถานภาพเกี่ยวข้องเป็น ลุง ป้าและปู่ มีการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ สูงกว่าผู้ปกครองที่มีสถานภาพอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were aimed 1) to analyze parenting styles in Hmong hill tribe population, and 2) to compare factor relationship including six, age, educational level, and kindred status that influenced the parenting styles. The populations were 163 Hmong parents in Khunchangkian village, Chiangmai. The research instruments were a questionnaire and an observation form. The data were analyzed by using Z-scores, Chi-square test and content analysis. The research results indicated that: 1. Parenting style in Hmong hill tribe population were the authoritative parenting style (38.04 percentage); the authoritarian parenting style (22.09 percentage), uninvolved parenting style (21.47 percentage), and permissive parenting style (18.40 percentage) respectively. The behaviors reflecting the authoritative parenting style related to demanding aging appropriated behaviors, having clear family rules and disciplines, motivating children to follow the rules, showing love and warm supports, having clear two-way communication, promoting children’ self-assurance and self-reliance, respecting for the right of both children and parents, and using reward rather than punishment. 2. The factor relationship which influenced the parenting style was kindred status. Hmong parents, whose status were uncle, aunt, and grandfather, were the authoritative parenting style at the statistically significant level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55431
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.254
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.254
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683414827.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.