Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55447
Title: การกระทำอนาจารโดยการประทุษร้ายต่อจิตใจ : ศึกษากรณีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12983/2558
Other Titles: INDECENT BY ACT OF VIOLENCE AGAINST MIND : A STUDY OF SUPREME COURT'S DECISION NO.12983/2558
Authors: บดี วงศ์เจนสันต์
Advisors: ชัชพล ไชยพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Chachapon.J@Chula.ac.th,chachapon.j@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบังคับใช้กฎหมายนั้นต้องมีการตีความเพื่อค้นหาความหมายของถ้อยคำซึ่งจะทำให้สามารถนำกฎหมายไปใช้ได้อย่างถูกต้องเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ กฎหมายอาญานั้นไม่ได้ห้ามในเรื่องของการตีความขยายความหากยังเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขตเดิมของกฎหมาย เพราะในขณะร่างกฎหมายนั้นผู้ร่างย่อมไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด การตีความขยายความจึงเป็นเรื่องที่ทำให้ปรับใช้กฎหมายได้ตรงตามเจตนารมณ์ของตัวกฎหมายนั้นแต่อย่างไรก็ตามการตีความขยายความออกไปจากความหมายเดิมนั้นเป็นเรื่องที่ผิดหลักที่ว่ากฎหมายอาญาต้องชัดเจนแน่นอน ปรากฎข้อเท็จจริงว่าเรื่องของการกระทำอนาจารโดยการประทุษร้ายต่อจิตใจ หลักเดิมนั้นการกระทำอนาจารต้องมีการสัมผัสเนื้อตัวร่างกาย และประทุษร้ายต่อจิตใจนั้นไม่รวมถึงเรื่องอารมณ์ แต่อย่างไรก็ตามมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12983/2558 ที่ตัดสินให้ผิดฐานกระทำอนาจารแม้ไม่มีการสัมผัสเนื้อตัวร่างกายและประทุษร้ายต่อจิตใจนั้นรวมถึงเรื่องอารมณ์ด้วย ซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นในกฎหมายจึงควรหาขอบเขตที่ขัดเจนขึ้น จากการศึกษาจากการเปรียบเทียบฐานความผิดที่ใกล้เคียง การสัมภาษณ์ท่านผู้พิพากษา เปรียบเทียบกฎหมายในอดีตของประเทศไทย และ กฎหมายต่างประเทศพบว่า ปรากฏข้อสนับสนุนในทั้งหลักเก่าและหลักตามคำพิพากษา แต่อย่างไรก็ตามด้วยความหมายของคำว่า อนาจาร ที่มีความหมายที่กว้างและไม่จำเป็นต้องสัมผัสเนื้อตัวร่างกาย และกรณีของคำว่า การประทุษร้ายแก่จิตใจ ที่ไม่มีนิยามและมีการปล่อยให้ศาลตีความคำดังกล่าวซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นในตัวบทกฎหมายจึงควรหาทางออกด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนในแนวทางใดแนวทางหนึ่งเพื่อให้เป็นไปตามหลักกฎหมายอาญาที่ควรมีความชัดเจนแน่นอน ทางออกของปัญหาดังกล่าวควรแก้ไขดังนี้ในส่วนของอนาจารนั้นควรยึดหลักเดิมคือต้องมีการสัมผัสเนื้อตัวร่างกายเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับมานาน สอดคล้องกับการแบ่งระดับของการกระทำความผิดและส่งเสริมความแน่นอนของตัวบทกฎหมายโดยการแก้ไขตัวบทให้กำหนดอย่างชัดเจนตามแนวทางเช่นเดียวกับในต่างประเทศ เช่นเดียวกับในส่วนของประทุษร้ายต่อจิตใจ ที่ควรยึดหลักเดิมว่าไม่รวมถึงเรื่องอารมณ์เพราะมีการใช้ถ้อยคำนี้ในหลากหลายมาตราที่มีเจตนารมณ์ที่แตกต่างกันและป้องกันการเกิดผลประหลาดขึ้น
Other Abstract: The interpretation must be used in order to create the justice and to know the will of the law. Criminal law is not forbid extensive interpretation as long as it is in the limitation of the meaning of the law because when legislation occurs legislators cannot foreseen the future ,so extensive interpretation is necessary for unpredictable future. There is a limitation in extensive interpretation that is it can be extensive but not excessive. If it is excessive, it will against the primary rule of the criminal law "nulla poena sine lege" (No crime, No punishment with out the law). The fact that happening is there is a supreme court decision no. 12983/2558 that rules against the principle of the indecent law. Indecent law come in to use when touching occur but in the decision it can be indecent without touching and violence against mind is not include emotion but in the decision it is included as well that appear uncertainty of law and should be fixed. After the reseaching on criminal law by comparing with other crimes in Thai Criminal Code and some other countries such as United States, England, France and Germany also the Thai Criminal law in the past and a interview with the judge who has made the decision, it can be reached to both conclusion. The word 'indecent' itself has a broad meaning that it is not limited to physical touch, while 'violence against mind' does not have a legal definition and it is opened for interpretation that lead to uncertainty of law enforcement. The solution of the problem should be like this, for the indecent law stick to the same principle (requirement of physical contact or touching) because consistent of the principle will preserve priciple of certainty of the law and it will correspond with the crime level (without physical contact, it will be less serious crime) and add the word touching in to the article just like in foreign countries will fix the problem. For the violence, the meaning should stay the same and not include emotion in to the word of mind because a lot of article that have various of purpose will affect from the changing and to keep the same meaning will prevent from strange or bizarre results.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55447
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.443
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.443
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5885988234.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.