Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55453
Title: | ประสิทธิภาพของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 |
Other Titles: | Efficiency of the Senate under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 |
Authors: | ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์ |
Advisors: | มานิตย์ จุมปา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Manit.J@Chula.ac.th,manit_j@yahoo.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์ถึงบทบาทของวุฒิสภาในห้วงระยะเวลาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ว่าได้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของวุฒิสภาในประการต่าง ๆ หรือไม่ ได้แก่ บทบาทและอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นทั้ง “สภากลั่นกรอง” และ“สภาตรวจสอบ” ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ “รัฐสภา”ตลอดจนเสนอแนะว่าบทบาทของวุฒิสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทยนั้นควรมีลักษณะและรายละเอียดประการใด ผลการศึกษาพบว่า วุฒิสภาในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ มีบทบาทด้านการกลั่นกรองให้สภาผู้แทนราษฎรหรือฝ่ายบริหารมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้นโดยบทบาทด้านตรวจสอบมีกลไกการติดตามและสภาพบังคับที่ค่อนข้างสูง สำหรับวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น พบว่า บทบาทในฐานะสภากลั่นกรองค่อนข้างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในฐานะสภากลั่นกรองที่มีบทบาทในการพิจารณาให้การพิจารณาร่างกฎหมายมีความรอบคอบ ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ จากที่พบว่า วุฒิสภามีบทบาทในการไม่ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติและไม่อนุมัติพระราชกำหนดบางฉบับ ตลอดจนการเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหลายฉบับ เช่นเดียวกับบทบาทในฐานะรัฐสภาที่เป็นไปอย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสภาตรวจสอบนั้น พบว่าวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพค่อนข้างน้อย เนื่องจากสภาพปัญหาการขาดกลไกเกี่ยวกับสภาพบังคับและการติดตามการดำเนินงานขององค์กรหรือบุคคลอื่นที่ต้องนำข้อทักท้วงของวุฒิสภาไปปฏิบัติ |
Other Abstract: | This thesis has the purpose to analyze the role of the Senate under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550, whether effective in accordance with the spirit of that constitution which designed the powers and duties of the Senate as "Scrutiny council" and "Audit council" as well as performing duties as "Parliament". The research indicated that The Senate; or the second chambers, was first established in England and became a model for many countries of having the second chambers. For Senate studies in the United States, England, Japan, and the Philippines, the Senate of these countries has performed a role in appealing or restraining the conduct of the House of Representatives or the Administration Branch. Whilst its role in the audit, there is a relatively high tracking and enforcement mechanism. However, in Thailand, Under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550, the Senate performed the role and authority as the "scrutiny council" and the function as the "parliament" quite effective as designed by the constitution. Nevertheless, the performance of duties as the audit council has been relatively ineffective. Because of the lack of adequate regulatory mechanisms and the monitoring of the operations of the organization or any other person who must bring the Senate's objections to practice. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55453 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.436 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.436 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5685992534.pdf | 7.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.