Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55465
Title: ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายแข่งขันทางการค้ากับกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา : ศึกษาเฉพาะกรณีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ
Other Titles: ISSUES ON THE RELATIONSHIP BETWEEN THE COMPETITION LAW AND INTELLECTUAL PROPERTY RIGHT LAW : A CASE STUDY OF LICENSING AGREEMENT
Authors: อัครวัฒน์ สิริเพ็ญโสภา
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sakda.T@Chula.ac.th,tsakda@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยมีประเด็นปัญหาหลักในเรื่องไม่มีบทกฎหมายที่ชัดเจนในระดับพระราชบัญญัติที่ใช้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญใน 2 ประการ คือ 1. ความไม่ชัดเจนต่อองค์กรผู้บังคับใช้กฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ต่อผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ใช้สิทธิของตนเกินขอบเขต 2. ประเด็นปัญหาการบังคับใช้โทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 กับผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ใช้สิทธิเกินขอบเขตดังกล่าว นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงแนวปฏิบัติ (Guideline) ในการกำกับดูแลการใช้สิทธิของผู้ทรงสิทธิตามกฎหมายไทยแล้ว พบว่ายังมีข้อจำกัดการบังคับใช้บางประการ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้พบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีมาตรา 21 และประเทศเกาหลีใต้มีมาตรา 59 ของกฎหมายแข่งขันทางการค้าเป็นบทบัญญัติเฉพาะที่ใช้เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์แล้ว จะช่วยแก้ปัญหาความชัดเจนขององค์กรผู้บังคับใช้กฎหมาย และความชัดเจนต่อผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาได้ โดยหากมีการใช้สิทธิเกินขอบเขตของกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว อาจเป็นการละเมิดต่อกฎหมายทางการค้าซึ่งมีบทลงโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา นอกจากนี้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของทั้งสองประเทศยังได้ออกแนวปฏิบัติเฉพาะในการกำกับดูแลการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ทรงสิทธิทำให้ไม่มีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ดังนั้น ผู้เขียนเห็นว่าควรมีบทกฎหมายที่ใช้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามแนวทางของต่างประเทศ และให้มีร่างแนวปฏิบัติ (Guideline) ฉบับใหม่ของไทยโดยยึดแนวทางการร่างตามแนวปฏิบัติปี 1989 ของประเทศญี่ปุ่น
Other Abstract: In studying of the issues on the relation between the Compettion Law and Intellectual Property Right Law, it shows that the major problems arise from the fact that Thailand has not yet enacted any specific law at the level of the Act of Parliament to specifically cover the convergence of Competition Law and Intellectual Property Law which led to two major conflicts; 1. Uncertainty for the law enforcers to execute the Trade Competition Act B.E. 2542 (1999) when it comes to abuse of IPR. 2. Problems in enforcing the criminal penalties under the Trade Competition Act B.E. 2542 (1999) with the patentees who abuse of IPR.In addition, when considering the Intellectual Property Enforcement Guidelines that oversees the exercise of the patentee’s rights in Thai Intellectual Property Law, there are still some exclusions that cannot enforce against all types of intellectual property and the exclusions that allow the enforcement against only the unfair trade practice which is not cover the private monopolization or unreasonable restraint of trade. Comparing to the laws of Japan and South Korea, Japan has Section 21 and Korea has Section 59 of the Competition Law which are specific provisions that link the relationship between the Competition Law and the Intellectual Property Law. Furthermore, the Office of Trade Competition Commission of the two countries has issued guidelines on the supervision of the exercise of rights of the patentees under the mentioned specific provisions in the law. Therefore, The author believe that there should be a law that links the relationship between the Competition Law and the Intellectual Property Protection Law similar to the practices in the foreign countries and issue a new guideline under the Thai Law by adhering to the 1989 guidelines of Japan.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55465
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.451
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.451
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686038034.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.