Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55500
Title: | การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิแลคติกแอซิดและขยะอินทรีย์ |
Other Titles: | Biogas production from co-digestion of pretreated poly(lactic acid) with organic wastes |
Authors: | สุทิศา สมิทธิเวชรงค์ |
Advisors: | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Orathai.C@Chula.ac.th,Orathai.c@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยสลายทางชีวภาพจาก PLA ฟิล์ม ที่ผ่านการปรับสภาพในสภาวะที่เหมาะสมด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และการหมักร่วม (Co-digestion) กับขยะอินทรีย์ โดยทำการออกแบบชุดทดลองแบบประสมส่วนกลาง (Central Composite Design: CCD) และใช้หลักการพื้นผิวตอบสนอง (Response Surface Methodology: RSM) เพื่อคัดเลือกสภาวะปรับสภาพที่เหมาะสม ด้วยการใช้โปรแกรม Design Expert (Trial version 9) พบว่าการใช้ PLA ฟิล์มที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH ความเข้มข้น 0.5 โมลาร์ (พีเอชเท่ากับ 13) เป็นระยะเวลา 2.5 วัน (ใช้สารละลายปรับสภาพ NaOH อัตราส่วน PLA ฟิล์ม 1 กรัมต่อสารละลาย NaOH 5 มิลลิลิตร) ให้ประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยสลายทางชีวภาพสูงสุด และเมื่อนำไปศึกษาผลการหมักร่วมโดยการเดินระบบหมักไร้ออกซิเจนด้วยถังปฏิกรณ์กวนสมบูรณ์แบบแบทซ์ เป็นระยะเวลา 65 วัน ที่อุณหภูมิห้อง พบว่าการใช้ PLA ฟิล์มที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH กับขยะอินทรีย์ (อัตราส่วน 1:1) ได้แก่ ขยะเศษอาหารและเศษผักสด สามารถเพิ่มผลผลิตก๊าซชีวภาพได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับการใช้สารตั้งต้นเพียงชนิดเดียว ซึ่งการใช้ PLA ฟิล์มที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH กับขยะเศษอาหารและเศษผักสด ให้ผลผลิตก๊าซชีวภาพสูงสุดเท่ากับ 627.4 และ 500.4 L/KgVSadded ตามลำดับ นอกจากนี้การใช้ PLA ฟิล์มที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH ร่วมกับขยะอินทรีย์สามารถเพิ่มร้อยละของก๊าซมีเทนให้อยู่ในช่วงร้อยละ 68-77 ดังนั้น PLA ฟิล์มที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH จึงมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นวัสดุหมักร่วมกับขยะอินทรีย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพได้ |
Other Abstract: | The purposes of this study were to improve the efficiency of biogas production and biodegradation of pretreated polylactic acid (PLA) films by co-digestion with organic wastes. The central composite design (CCD) and the response surface methodology (RSM) were employed to evaluate the optimum condition of PLA films biodegradation (PLA pretreatment with NaOH and non-pretreatment) before running the experiment of biogas production. The RSM results indicated that the optimal PLA pretreatment condition was 0.5 M of NaOH (at pH=13) with 2.5 days of reaction time. We applied the co-digestion with pretreated PLA films and organic waste (food waste and vegetable waste), which yielded high biogas (627.4 L/KgVSadded and 500.4 L/KgVSadded respectively). Combining pretreated PLA films as additive substance with co-digestion proved that the efficiency of biogas production could maximize methane yield up to 77%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55500 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1035 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1035 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770477221.pdf | 8.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.